omniture

KT SAT เตรียมปล่อยดาวเทียมใหม่ มุ่งเป็นผู้นำสู่ยุค 5G แห่งการสื่อสารจากอวกาศ

KT Corp.
2020-06-23 15:24 308

โซล เกาหลีใต้--23 มิ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

  • KOREASAT 6A เป็นดาวเทียม High Throughput Satellites ที่สามารถรองรับปริมาณการรับส่งข้อมูลในระดับสูงและครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณที่แปรผันได้
  • KT SAT จะก้าวเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม 5G ยุคใหม่แห่งการสื่อสารจากอวกาศ
  • เพิ่มบทบาทระดับโลกในด้านระบบสื่อสารสำหรับการเดินเรือและการบิน

KT Corp. (KRX: 030200, NYSE: KT) บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้ ประกาศว่า KT SAT ซึ่งเป็นผู้ประกอบการดาวเทียมในเครือของบริษัท จะปล่อยดาวเทียมใหม่ในปี 2024 เพื่อก้าวเป็นผู้นำของบริการ 5G ในยุคแห่งการสื่อสารจากอวกาศที่กำลังจะมาถึง

วิศวกรของ KT SAT ตรวจสอบเสาสัญญาณดาวเทียมที่ศูนย์บริการดาวเทียม Kumsan Satellite Service Center
วิศวกรของ KT SAT ตรวจสอบเสาสัญญาณดาวเทียมที่ศูนย์บริการดาวเทียม Kumsan Satellite Service Center

ใน "งานประกาศวิสัยทัศน์" ซึ่งจัดขึ้นเพื่อฉลองครบรอบ 50 ปี ที่ศูนย์บริการดาวเทียม Kumsan Satellite Service Center บริษัท KT SAT ซึ่งเป็นผู้ให้บริการการสื่อสารผ่านดาวเทียมหนึ่งเดียวของเกาหลีใต้ ได้เปิดเผยแผนการปล่อยดาวเทียม KOREA SAT 6A อย่างเร็วที่สุดในปี 2024 โดยดาวเทียมดวงดังกล่าวจะเป็นดาวเทียมที่ปล่อยขึ้นสู่อวกาศต่อจาก KOREA SAT 6 ซึ่งจะปลดประจำการในปี 2025 หลังจากให้บริการในอวกาศมาเป็นเวลา 15 ปี

KT กล่าวว่า ดาวเทียมรุ่นใหม่นี้จะมาพร้อมกับเทคโนโลยีดาวเทียมใหม่ล่าสุด รวมถึง "high throughput satellite" (HTS) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีดาวเทียมที่สามารถรองรับปริมาณการรับส่งข้อมูลในระดับสูง และ software-defined satellite หรือดาวเทียมที่กำหนดด้วยซอฟต์แวร์ เพื่อรองรับปริมาณการใช้งานหรือ traffic ที่จะพุ่งขึ้นในยุค 5G ที่กำลังจะมาถึง

"การมาถึงของยุคใหม่แห่งการสื่อสารจากอวกาศ จะทำให้การสื่อสารผ่านดาวเทียมผ่านการให้บริการเครือข่ายที่ไร้รอยต่อมีความสำคัญยิ่งขึ้น" Song Kyung Min ประธานและซีอีโอของ KT SAT กล่าว "KT SAT ของเราจะทุ่มเททำงานเพื่อให้เราได้ก้าวขึ้นเป็นผู้นำอุตสาหกรรมดาวเทียมในอีก 50 ปีข้างหน้า ด้วยการหันไปมุ่งเน้นการให้บริการแพลตฟอร์มดาวเทียมและการมีส่วนร่วมในโครงการอวกาศของรัฐบาล"

นอกจากนี้ KT SAT ยังเตรียมดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างจริงจังในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออกหลังจากที่ปล่อยดาวเทียม KOREASAT 6A ขึ้นสู่อวกาศ โดยมีเป้าหมายที่จะเป็น 1 ใน 5 ผู้ให้บริการดาวเทียมระดับแนวหน้าของเอเชีย ปัจจุบันบริษัทมีให้บริการการเผยแพร่สัญญาณและโทรคมนาคมอยู่ในประเทศเกาะอย่างฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย

KOREASAT 6A รองรับการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงยิ่งกว่าที่เคย

HTS รองรับการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วในระดับที่สูงกว่าดาวเทียมประจำที่ (fixed-satellite service - FSS) แบบดั้งเดิมมากกว่า 10 เท่า ทั้งยังสามารถปรับความครอบคลุมของสัญญาณได้ด้วย โดยเทคโนโลยีทั้งสองนี้มุ่งมอบบริการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อรองรับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้าในยุค 5G

ดาวเทียมใหม่ยังมาพร้อมระบบ Korea Augmentation Satellite System (KASS) ซึ่งเป็นระบบดาวเทียมที่ถูกพัฒนามาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนำทาง (Satellite-based Augmentation System - SBAS) ของเกาหลี โดยระบบ SBAS นี้จะช่วยเพิ่มความแม่นยำและความเสถียรของข้อมูลระบบดาวเทียมนำร่องโลก (Global Navigation Satellite System - GNSS) ด้วยการแก้ไขความผิดพลาดในการวัดสัญญาณและการให้ข้อมูลเกี่ยวกับความแม่นยำ ความต่อเนื่อง และความพร้อมของสัญญาณ

KT SAT จะกำหนดน้ำหนักบรรทุกและเทคโนโลยีสำหรับดาวเทียม KOREASAT 6A ภายในปีนี้และจะเริ่มดำเนินการสร้างดาวเทียมดังกล่าวในปี 2021 โดยดาวเทียมใหม่นี้จะโคจรรอบโลกที่ 116 องศาตะวันออก ซึ่งเป็นลองจิจูดเดียวกันกับดาวเทียม KOREASAT 6

อุตสาหกรรมดาวเทียมของเกาหลีใต้เริ่มต้นขึ้นด้วยการก่อตั้ง Kumsan Satellite Service Center ในปี 1970 และนับตั้งแต่นั้นมาก็ได้มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในด้านบริการข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเฉพาะในด้านโทรศัพท์ระหว่างประเทศและการเผยแพร่สัญญาณดาวเทียม KT SAT จะก้าวสู่ครึ่งหลังของศตวรรษด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำจากภาคเอกชนในยุคใหม่แห่งการสื่อสารจากอวกาศที่กำลังจะมาถึง

การมีส่วนร่วมในโครงการ GPS

KT SAT จะเข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการ KASS ของกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน และคมนาคมอย่างจริงจัง โดยโครงการดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายในการสร้างระบบของเกาหลีเพื่อยกระดับความแม่นยำด้านข้อมูล GNSS ซึ่งจะเพิ่มความปลอดภัยในการนำเครื่องบินขึ้นและลงจอดได้อย่างมากด้วยการลดระยะผิดพลาดของ GPS จากระยะ 30 เมตรเป็น 1 เมตร รวมถึงประโยชน์ในด้านอื่น ๆ

โครงการ KASS ต้องใช้ทั้งดาวเทียมวงโคจรค้างฟ้าและสถานีภาคพื้นดิน ซึ่งขณะนี้ดาวเทียมวงโคจรค้างฟ้ายังคงอยู่ระหว่างการผลิตภายใต้ความรับผิดชอบของบริษัท KT SAT โดยมีกำหนดการปล่อยขึ้นสู่อวกาศในครึ่งหลังของปี 2021 และจะเริ่มการให้บริการช่วงทดลองในปี 2022

นอกจากนี้ KT SAT ยังจะเข้าร่วมโครงการดาวเทียมสื่อสารเชิงบูรณาการ (integrated communication satellite) เพื่อให้บริการระบบระบุตำแหน่งของเกาหลีหรือ Korea Positioning System (KPS) และเครือข่ายการสื่อสารสาธารณะอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศของสาธารณรัฐเกาหลีต่อไป

การก้าวเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดาวเทียม

วิสัยทัศน์ของ KT SAT ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษนี้ยังรวมถึงการก้าวเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดาวเทียม ขณะที่การดำเนินงานของบริษัทที่ผ่านมามุ่งเน้นการสื่อสารผ่านดาวเทียมเพื่อเสริมกับบริการรีเลย์ภาคพื้นดิน บริษัทจึงตั้งใจจะขยายเครือข่ายดาวเทียมให้ครอบคลุมการสื่อสารในทะเลและในอากาศ ซึ่งปัจจุบันยังคงเป็นจุดบอดในแง่ของโทรคมนาคม

KT SAT มีหุ้นในตลาดเรือพาณิชย์ของเกาหลีใต้ 70% และมีแผนจะเปิดตัวแพลตฟอร์ม Integrated Ocean Platform ในครึ่งแรกของปี 2021 การครองตลาดของบริษัทเป็นผลจากการเติบโตเฉลี่ย 20% ต่อปี ในตลาดการสื่อสารการเดินเรือผ่านดาวเทียม MVSAT (maritime very small aperture terminal) นอกจากนี้ บริษัทยังได้พัฒนาโซลูชั่นมากมาย ได้แก่ อินเทอร์เน็ตสำหรับการใช้งานบนเรือ อีเมลสำหรับการใช้งานบนเรือ โทรทัศน์วงจรปิดสำหรับการใช้งานบนเรือ และการบริหารจัดการเรือ โดยทั้งหมดนี้จะรวมอยู่ในแพลตฟอร์มเดียวเพื่อบริการที่รวดเร็วตามความต้องการของลูกค้า

ดาวเทียม 5G สำหรับการเชื่อมต่อแบบ ultra-connectivity ของ core network

KT SAT ได้สร้างสนามทดสอบดาวเทียมที่ Kumsan Satellite Service Center ขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ภายใต้ความร่วมมือกับ KT Institute of Convergence Technology ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเทคโนโลยีส่วนต่อประสาน (interface) ระหว่างดาวเทียมกับ 5G ซึ่งต้องใช้ในการสร้างสภาพแวดล้อมสำหรับการสื่อสารคุณภาพสูงโดยไม่มีการแบ่งแยกตามภูมิภาค หลังจากเมื่อเดือนพฤศจิกายนของปีที่ผ่านมา บริษัทได้พัฒนาเทคโนโลยีส่วนต่อประสานระหว่างเครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์และเครือข่ายการสื่อสารผ่านดาวเทียมได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก

KT SAT จะดำเนินโครงการวิจัยร่วมระหว่างเกาหลีใต้กับสหภาพยุโรปซึ่งจะเริ่มต้นในครึ่งหลังของปีนี้ และจะศึกษาเกี่ยวกับส่วนต่อประสานระหว่างดาวเทียมกับสถานี 5G

เทคโนโลยีส่วนต่อประสานระหว่างดาวเทียมกับ 5G เมื่อนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ จะก่อให้เกิดการขยายแบนด์วิดธ์ของเครือข่าย ซึ่งจะช่วยให้เกิดบริการ 5G ผ่านดาวเทียมที่ต่อเนื่องราบรื่นในยานพานหานะที่กำลังเคลื่อนที่และในภูมิภาคที่การก่อสร้างเครือข่ายบนพื้นดินเป็นเรื่องยาก การพัฒนาดังกล่าวจะทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงคอนเทนต์คุณภาพสูงได้ในทุกที่

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้จากเว็บไซต์ภาษาอังกฤษของเราที่ https://corp.kt.com/eng/

ข้อมูลติดต่อสำหรับสื่อมวลชน

หากมีคำถามหรือข้อสงสัย กรุณาติดต่อ Global Media Relations Team ที่อีเมล kt.gmrt@gmail.com

รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20200622/2837205-1?lang=0

Source: KT Corp.
Related Stocks:
Korea:030200 NYSE:KT
Related Links:
Keywords: Computer Networks Computer/Electronics Telecommunications Telecommunications Carriers and Services Future Events
Related News