ปารีส, 26 กันยายน 2566 /PRNewswire/ -- ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงตลาดศิลปะฝรั่งเศสน่าจะรู้สึกโล่งใจอย่างยิ่งกับข่าวนี้ เมื่อรัฐบาลฝรั่งเศสได้ตัดสินใจคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ไว้ที่ 5.5% สำหรับการขายงานศิลปะจากประเทศนอกสหภาพยุโรปครั้งแรกรวมถึงการนำเข้างานศิลปะเหล่านี้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ารัฐมนตรีฝรั่งเศสทั้งสองรายอย่างริมา อับดุล มาลัก (Rima Abdul Malak) รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม และบรูโน เลอแมร์ (Bruno Le Maire) รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ ประสบความสำเร็จในการแสดงจุดยืนของตนเอง แม้จะเผชิญอุปสรรคจากสหภาพยุโรปก็ตาม
รูปภาพ - https://mma.prnasia.com/media2/2219463/Artmarket_1.jpg?p=medium600
หากทั้งสองล้มเหลวแล้ว ก็มีความเสี่ยงสูงที่ภาษีมูลค่าเพิ่มนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 20% ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2568 ซึ่งอาร์ตไพรซ์ดอตคอม (Artprice.com) โดยอาร์ตมาร์เก็ต (Artmarket) คาดการณ์ว่า สิ่งนี้จะทำให้ตลาดศิลปะระดับชาติที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลกอย่างตลาดศิลปะฝรั่งเศสสั่นคลอนไปอย่างสิ้นเชิง
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ฝรั่งเศสได้ส่งสัญญาณบวกมาแล้วหลายต่อหลายครั้งเพื่อผลักดันตลาดศิลปะให้กลับมาเฟื่องฟู ไม่ว่าจะเป็นการปรากฏตัวของมูลนิธิเอกชนขนาดใหญ่ เช่น มูลนิธิหลุยส์ วิตตอง (Fondation Louis Vuitton) และปิโนลต์ คอลเลกชัน (Pinault Collection) การที่อาร์ต บาเซิล (Art Basel) จัดงานปารีสพลัส (Paris+) แทนงานเอฟไอเอซี (FIAC) การมาถึงและ/หรือการขยับขยายแกลเลอรีแห่งสำคัญในระดับสากล เช่น กาโกเซียน (Gagosian) ซเวียร์เนอร์ (Zwirner) สการ์สเต็ดท์ (Skarstedt), แม็กซ์ เฮตซ์เลอร์ (Max Hetzler) แธดเดอุส โรพัค (Thaddaeus Ropac) คอนทินัว (Continua) แมเรียน กู๊ดแมน (Marian Goodman) ไปจนถึงการที่บอนแฮมส์ (Bonhams) เพิ่งเข้าซื้อกิจการบริษัทประมูลในฝรั่งเศสอย่างคอร์แน็ตต์ เดอ แซงต์ ซีร์ (Cornette de Saint Cyr) ไปเมื่อไม่นานมานี้ แถมยังมีบริษัทประมูลรายใหญ่ระดับโลกผงาดขึ้นอีก 2 แห่ง ได้แก่ คริสตีส์ (Christie's) และซัทเทบีส์ (Sotheby's) ซึ่งทั้งสองแห่งล้วนมีนักธุรกิจใหญ่ของฝรั่งเศสเป็นเจ้าของ ได้แก่ ฟรองซัวส์ ปิโนต์ (François Pinault) และแพทริค ดราฮี (Patrick Drahi) ตามลำดับ ตลอดจนความสำเร็จในการพลิกโฉมตนเองของดรูโอต์ (Drouot) และอาร์คิวเรียล (Arcurial) ในกลุ่มดัซโซลต์ (Dassault) บริษัทประมูลชั้นนำของฝรั่งเศสในแง่ของมูลค่าการซื้อขาย ซึ่งปัจจุบันอยู่อันดับ 14 ในบรรดาบริษัทประมูล 20 อันดับแรกของโลก
นับตั้งแต่ที่เกิดเหตุการณ์เบร็กซิต (Brexit) ตลาดศิลปะของฝรั่งเศสได้รับอานิสงส์จากการเป็นประตูหลักสู่สหภาพยุโรป
การขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 20% จะส่งผลลบไม่เพียงแต่ต่อศิลปิน ผู้ค้าของเก่า ผู้ค้างานศิลปะ และบริษัทประมูลเท่านั้น แต่ยังลามไปถึงระบบนิเวศตลาดศิลปะทั้งหมด ครอบคลุมคนหลายหมื่นที่ทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่การสร้างกรอบภาพไปจนถึงสื่อมวลชน ตั้งแต่การฟื้นฟูไปถึงการขนส่ง ตั้งแต่การขนส่งไปถึงการรักษาความปลอดภัย และตั้งแต่การท่องเที่ยวไปถึงการประกันภัย
เมื่อเดือนมีนาคม 2566 คาเมล เมนนอร์ (Kamel Mennour) เจ้าของแกลเลอรีชาวปารีส ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์เลอมงด์ (Le Monde) สัมภาษณ์โดยแฮร์รี เบลเล็ต (Harry Bellet) ว่า "หากเพิ่มแล้วทำให้ขายผลงานได้ยากขึ้น ผมคงอยากเซ็นสัญญากับศิลปินรายใหม่ ๆ น้อยลง" แต่เมื่อ VAT ยังอยู่ที่ 5.5% แล้ว คุณคาเมล เมนนอร์ ก็รู้สึกโล่งใจ...
อาร์ตไพรซ์ดอตคอมโดยอาร์ตมาร์เก็ต ขอแสดงความยินดีที่รัฐบาลตัดสินใจเช่นนี้
การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ 20% อาจทำให้ตลาดศิลปะในฝรั่งเศสเสียหายได้ และอาจบั่นทอนความเชื่อมั่นและกำลังใจของลูกค้าอาร์ตไพรซ์ดอตคอมโดยอาร์ตมาร์เก็ตในฝรั่งเศส อาร์ตไพรซ์เป็นผู้นำระดับโลกในด้านข้อมูลตลาดศิลปะมานานกว่า 25 ปี โดยตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้นลูกค้าในฝรั่งเศสคิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 5% ของลูกค้าทั้งหมด แต่ทุกวันนี้คิดเป็นมากกว่า 10% แล้ว (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ในเอกสารอ้างอิงที่อาร์ตมาร์เก็ตดอตคอมยื่นต่อสำนักงานกำกับดูแลตลาดเงินของฝรั่งเศส หรือ AMF) แสดงให้เห็นว่านักสะสมในฝรั่งเศสมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว
การลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มให้อยู่ที่ 5.5% จะยังคงมีผลต่อไปในปี 2568 สำหรับการขายครั้งแรกรวมถึงการนำเข้างานศิลปะจากนอกสหภาพยุโรป อัตรานี้จะคิดตามราคารวม ไม่ใช่แค่กับอัตรากำไรซึ่งจะกระทบการขายที่มีอัตรากำไรต่ำเพียงเล็กน้อย
มาร์ทีน โรแบร์ (Martine Robert) ผู้สื่อข่าวที่ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ เปิดเผยกับหนังสือพิมพ์เศรษฐกิจฝรั่งเศสอย่างเลส์ เอโชส์ (Les Échos) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ว่า "การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ 20% จะขัดขวางไม่ให้จิตรกรรมอิมเพรสชันนิสต์ หรือแม้แต่ผลงานศิลปะสมัยใหม่ชิ้นเอกโดยปิกัสโซ มาติส และมาเนต์ หวนคืนกลับสู่ประเทศของเรา ซึ่งผลงานเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในฝรั่งเศสแล้ว แม้จะถูกสร้างขึ้นในฝรั่งเศสและเป็นที่ชื่นชมของนักสะสมชาวฝรั่งเศสก็ตาม ศิลปะไม่ใช่สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป ประเทศรุ่มรวยได้ด้วยการนำเข้าและผลงานจากศิลปินที่ "โตในประเทศ" ทว่าการที่สมบัติประจำชาติจำนวนมากไหลออกไปนั้นส่งผลกระทบอันใหญ่หลวงต่อประเทศที่สูญเสียสิ่งเหล่านั้นไป"
คุณเธียร์รี เออร์มันน์ (thierry Ehrmann) ผู้ก่อตั้งอาร์ตไพรซ์และซีอีโออาร์ตมาร์เก็ตดอตคอม ผู้เป็นประติมากรเองด้วยนั้น (อ่านชีวประวัติของเขาได้ใน Who's Who In France) เปิดเผยว่า "การตัดสินใจของรัฐบาลครั้งนี้จะช่วยให้มั่นใจได้ว่า ตลาดศิลปะฝรั่งเศสจะยังคงคึกคักต่อไป เราขอชื่นชมยินดีกับการตัดสินใจอันกล้าหาญของรัฐมนตรีของเราอย่างคุณริมา อับดุล มาลัก และคุณบรูโน เลอแมร์ โดยอาร์ตไพรซ์ดอตคอมโดยอาร์ตมาร์เก็ตทำงานร่วมกับผู้เล่นทุกคนในตลาดศิลปะฝรั่งเศสมานานกว่า 25 ปี และตระหนักดีว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มส่งผลต่อตลาดงานศิลปะได้มากเพียงใด ในฐานะประติมากรคนหนึ่ง ผมติดตามผลงานศิลปะในฝรั่งเศสอย่างหลงใหลมาเป็นเวลา 40 ปี และผลงานเหล่านี้ก็ดังก้องไปทั่วโลกอีกครั้ง ความเคลื่อนไหวครั้งนี้จะสร้างความมั่นใจอย่างมากให้กับศิลปินชาวฝรั่งเศส"
ฝรั่งเศสยังคงเป็นตลาดที่แข็งแกร่งและมีการแข่งขันสูง เมื่อตลาดงานศิลปะมีความเป็นสากลมากขึ้น
อินโฟกราฟิก - https://mma.prnasia.com/media2/2219464/Artmarket_2_Infographic.jpg?p=medium600
จุดยืนของฝรั่งเศสในตลาดศิลปะยุโรปและตลาดศิลปะโลก
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 บริษัทประมูลในฝรั่งเศสขายผลงานวิจิตรศิลป์ได้ 54,000 ล็อต มูลค่าการซื้อขายรวม 384.3 ล้านดอลลาร์ โดยแผนกเศรษฐมิติของอาร์ตไพรซ์ดอตคอมคำนวณเอาไว้ว่า ฝรั่งเศสมียอดประมูลงานศิลปะคิดเป็น 5.9% ของมูลค่ารวมทั้งโลก (อันดับ 4 ของโลก) และคิดเป็น 50% ของตลาดงานศิลปะในยุโรป และกำลังคืบคลานเข้าใกล้ท็อป 3 มากขึ้นเรื่อย ๆ
ประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปอีกหลายประเทศก็มีบทบาทสำคัญในตลาดศิลปะโลกเช่นกัน แม้จะมีขนาดเล็กกว่าก็ตาม เช่น เยอรมนี (2.8% ของมูลค่าการซื้อขายงานศิลปะทั่วโลก) อิตาลี (1.5 %) สวิตเซอร์แลนด์ (1.3%) ออสเตรีย (0.8%) โปแลนด์ (0.6%) และเบลเยียม (0.6%) โดยตลาดเยอรมนีเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่แข็งแกร่งที่สุด แม้มีการรวมศูนย์น้อยกว่าฝรั่งเศสมาก ขณะที่ซัทเทบีส์เพิ่งเปิดประมูลรอบใหม่ในโคโลญจน์ไปเมื่อไม่นานมานี้ อ่านรายงานเกี่ยวกับตลาดศิลปะจากอาร์ตไพรซ์โดยอาร์ตมาร์เก็ตได้ที่: https://www.artprice.com/artprice-reports/the-art-market-in-2022
การแข่งขันกับสหราชอาณาจักร
แม้เกิดเหตุการณ์เบร็กซิต แต่สหราชอาณาจักรยังคงมีสัดส่วน 17% ของมูลค่าการซื้อขายงานศิลปะทั่วโลก โดยมีภาษีมูลค่าเพิ่ม 5% ซึ่งการแข่งขันระหว่างลอนดอนกับปารีสขับเคี่ยวเป็นพิเศษทุกปีในเดือนตุลาคม
ในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้ งานฟรีซ ลอนดอน (Frieze London) และปารีสพลัส โดยอาร์ต บาเซิล จะมีขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ โดยนับเป็นครั้งแรกที่งานปารีสพลัสหวังที่จะใช้อิทธิพลจากอาร์ต บาเซิล ในการประชันให้ทัดเทียมกับฟรีซ ในภาพรวมนั้น เดือนตุลาคมเป็นช่วงที่เข้มข้น โดยแกลเลอรีที่มีชื่อเสียงที่สุดตัดสินใจว่าจะเดินทางข้ามช่องแคบนี้หรือไม่ นอกจากนี้ยังเป็นช่วงเวลาสำคัญที่บริษัทประมูลเปิดการขายครั้งใหญ่ และหลายองค์กรเลือกที่จะประกาศข่าวสำคัญต่อสื่อมวลชนทั่วโลก ตัวอย่างเช่น รางวัลมาร์แซล ดูว์ช็อง (Marcel Duchamp) โดย ADIAF (ซึ่งมีอาร์ตไพรซ์ดอตคอมโดยอาร์ตมาร์เก็ตเป็นหนึ่งในผู้อุปถัมภ์) จะมอบให้ศิลปินจากแวดวงศิลปะฝรั่งเศสที่ศูนย์ปงปิดู (Pompidou Centre) ในปารีสทุกเดือนตุลาคม
แผนกเศรษฐมิติของอาร์ตไพรซ์ดอตคอมเปิดเผยว่า ในปี 2503 ฝรั่งเศสมีส่วนแบ่งในตลาดศิลปะโลกอยู่ที่ 62% ขณะที่ตลาดหุ้นสมัยก่อนมีสุภาษิตที่ว่า "เมื่อได้ราคาใดแล้วไม่ช้าก็เร็วก็ได้ราคานั้นอีกเสมอ" ซึ่งใช้ได้ในเรื่องเศรษฐศาสตร์ด้วย...
กว่า 23 ปีที่แล้ว เมื่ออาร์ตไพรซ์กลายเป็นผู้นำระดับโลกในด้านข้อมูลตลาดศิลปะ หลังจากที่ได้เข้าซื้อกิจการผู้นำจากอเมริกาอย่างซาวด์ วิว เพรส นิวยอร์ก (Sound View Press NY) อย่างน่าตื่นตาตื่นใจและไม่คาดคิด ก็มีความเชื่อกันอย่างกว้างขวางในแวดวงการเงินและเศรษฐกิจว่า สำนักงานใหญ่ของอาร์ตไพรซ์จะต้องย้ายไปนิวยอร์กอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การตัดสินใจอยู่ในฝรั่งเศสจึงถือเป็นการตัดสินใจที่กล้าหาญจริง ๆ และทุกวันนี้ ฝรั่งเศสอุ่นใจได้เลยว่า ผู้นำระดับโลกด้านข้อมูลตลาดศิลปะอย่างอาร์ตไพรซ์ดอตคอมโดยอาร์ตมาร์เก็ต จะยังคงอยู่ในฝรั่งเศสต่อไป
รูปภาพ: [https://imgpublic.artprice.com/img/wp/sites/11/2023/09/image1-Rima-Abdul-Malak-Culture-Bruno-Lemaire-Economy-Finance.jpg] [https://imgpublic.artprice.com/img/wp/sites/11/2023/09/image2-geographical-distribution-fine-art-auction-turnover-H1-2023.png]
สงวนลิขสิทธิ์ 2530-2566 เธียร์รี เออร์มันน์ www.artprice.com - www.artmarket.com
เกี่ยวกับอาร์ตมาร์เก็ต
อาร์ตมาร์เก็ตดอตคอม (Artmarket.com) มีชื่ออยู่ใน Eurolist โดย Euronext Paris, SRD long only และ Euroclear: 7478 - Bloomberg: PRC - Reuters: ARTF
สำรวจอาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ผ่านวิดีโอ: www.artprice.com/video
อาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ก่อตั้งขึ้นในปี 2540 โดยซีอีโอ เธียร์รี เออร์มันน์ อาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ได้รับการกำกับดูแลโดยกรุ๊ป เซอร์เวอร์ (Groupe Serveur) ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2530
ดูชีวประวัติที่ผ่านการรับรองใน Who's who ©:
https://imgpublic.artprice.com/img/wp/sites/11/2023/04/2023_2_Biographie-thierry-Ehrmann_WhosWhoInFrance.pdf
อาร์ตมาร์เก็ตเป็นผู้นำระดับโลกในตลาดงานศิลปะ โดยหนึ่งในโครงสร้างขององค์กรคือฝ่ายอาร์ตไพรซ์ ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกในการสะสม การจัดการ และการแสวงหาประโยชน์จากข้อมูลตลาดงานศิลปะทั้งในประวัติศาสตร์และปัจจุบันในคลังข้อมูลที่ประกอบด้วยดัชนีและผลการประมูลกว่า 30 ล้านรายการ ครอบคลุมศิลปินกว่า 817,000 ราย
อาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ต ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกด้านข้อมูลตลาดงานศิลปะ ตั้งเป้าหมายที่ทะเยอทะยานให้ตัวเองผ่านตลาดที่เป็นมาตรฐานระดับโลก เพื่อที่จะเป็นแพลตฟอร์ม NFT งานวิจิตรศิลป์ชั้นนำของโลก
อาร์ตไพรซ์ อิเมเจส (Artprice Images®) ช่วยให้เข้าถึงคลังภาพตลาดงานศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีภาพดิจิทัลไม่น้อยกว่า 180 ล้านรายการจากภาพถ่ายหรือภาพพิมพ์จากผลงานศิลปะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2243 จนถึงปัจจุบัน พร้อมความเห็นจากนักประวัติศาสตร์งานศิลปะของเรา
อาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์สะสมข้อมูลถาวรจากบริษัทประมูล 7,200 แห่ง และสร้างข้อมูลตลาดงานศิลปะที่สำคัญสำหรับสื่อและเอเจนซี่ด้านสื่อมากมาย (สิ่งพิมพ์เผยแพร่ 7,200 ชิ้น) โดยผู้ใช้ 7.2 ล้านราย (สมาชิกเข้าสู่ระบบ + โซเชียลมีเดีย) เข้าถึงโฆษณาที่โพสต์โดยสมาชิกอื่น ๆ เกิดเป็นเครือข่ายที่ปัจจุบันนับเป็นตลาดมาตรฐานระดับโลก Global Standardized Marketplace® ในการซื้อและขายงานศิลปะด้วยราคาคงที่หรือราคาประมูล (กำกับดูแลการประมูลตามวรรคที่ 2 และ 3 ของมาตรา L 321.3 ของประมวลกฎหมายแพ่งแห่งฝรั่งเศส)
อาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ได้รับรางวัล "บริษัทแห่งนวัตกรรม" โดยธนาคารเพื่อการลงทุนภาครัฐของฝรั่งเศสถึงสองครั้ง ซึ่งเป็นรางวัลที่สนับสนุนบริษัทที่ดำเนินโครงการเพื่อก้าวขึ้นเป็นผู้นำระดับโลกในตลาดงานศิลปะ
รายงานตลาดงานศิลปะโลกของอาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ต "ตลาดงานศิลปะในปี 2565" เผยแพร่ในเดือนมีนาคม 2566:
https://www.artprice.com/artprice-reports/the-art-market-in-2022
อาร์ตไพรซ์เผยแพร่รายงานตลาดงานศิลปะร่วมสมัยพิเศษปี 2565:
https://www.artprice.com/artprice-reports/the-contemporary-art-market-report-2022
ดัชนีข่าวประชาสัมพันธ์ที่โพสต์โดยอาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์:
https://serveur.serveur.com/artmarket/press-release/en/
ติดตามข่าวสารตลาดงานศิลปะทั้งหมดแบบเรียลไทม์กับอาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ทางเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์:
www.facebook.com/artpricedotcom/ (ผู้ติดตามมากกว่า 6.3 ล้านคน)
สำรวจการเล่นแร่แปรธาตุและจักรวาลของอาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ได้ที่ https://www.artprice.com/video ทั้งนี้ อาร์ตมาร์เก็ตมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยชื่อดัง Organe Contemporary Art Museum "The Abode of Chaos" (คำนิยมจากเดอะนิวยอร์กไทมส์): https://issuu.com/demeureduchaos/docs/demeureduchaos-abodeofchaos-opus-ix-1999-2013
La Demeure du Chaos / Abode of Chaos
GESAMTKUNSTWERK & SINGULAR ACRHITECTURE
เปิดตัวผลงานลับสองภาษาสู่สาธารณะ:
https://ftp1.serveur.com/abodeofchaos_singular_architecture.pdf
ติดต่ออาร์ตมาร์เก็ตดอตคอมและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ - ติดต่อ: ir@artmarket.com
โลโก้ - https://mma.prnasia.com/media2/1009603/Art_Market_logo.jpg?p=medium600