ปารีส, 20 ตุลาคม 2566 /PRNewswire/ -- ด้วยความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมวงการศิลปะร่วมสมัยของฝรั่งเศสในระดับสากล รางวัลมาร์แชล ดูว์ช็อง (Marcel Duchamp) จึงได้คัดเลือกผู้เข้ารอบสุดท้าย 4 คนในช่วงต้นปีนี้ ได้แก่ แบร์ตีย์ บาค (Bertille Bak) ที่ได้รับการนำเสนอโดยซิปาส แกลเลอรี (Xippas gallery) และเดอะ แกลเลอรี อพาร์ต (The Gallery Apart) บูจรา คาลิลี (Bouchra Khalili) ที่ได้รับการนำเสนอโดยมอร์ ชาเพนเทียร์ แกลเลอรี (Mor Charpentier gallery) และเอดีเอ็น กาเลอเรีย (ADN Galeria) มัสซินิสซา เซลมานี (Massinissa Selmani) ที่ได้รับการนำเสนอโดยแอนน์-ซาราห์ เบนิชู แกลเลอรี (Anne-Sarah Benichou gallery) เซลมา เฟเรียนนี (Selma Feriani) และเจน ลอมบาร์ด (Jane Lombard) และสุดท้าย ทาริก กิสวานสัน (Tarik Kiswanson) ที่ได้รับการนำเสนอโดยเดอะ คาร์ลิเออร์ เกบาเออร์ (the carlier | gebauer) และสเฟียร์-เซมเลอร์ (Sfeir-Semler Gallery) ซึ่งเป็นผู้ชนะรางวัลครั้งที่ 23 นี้
คุณเธียร์รี เออร์มันน์ (thierry Ehrmann) ผู้ก่อตั้งอาร์ตไพรซ์และซีอีโอของบริษัทแม่อย่างอาร์ตมาร์เก็ต กล่าวว่า "เช่นเคยในปีนี้ ผู้เข้ารอบ 4 คนสุดท้ายที่ผลงานของพวกเขากำลังจัดแสดงที่ศูนย์ศิลปะปงปีดู (Pompidou Center) ได้แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายและความเป็นเลิศของวงการศิลปะฝรั่งเศส เราขอแสดงความยินดีอย่างอบอุ่นแก่พวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณทาริก กิสวานสัน ผู้ชนะรางวัลมาร์แซล ดูว์ช็อง ในปีนี้ อารต์ไพรซ์ดอทคอม โดยอาร์ตมาร์เก็ต (Artprice by Artmarket.com) ภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้สนับสนุน ADIAF และรางวัลมาร์แซล ดูว์ช็อง ในฐานะผู้อุปถัมภ์"
รูปภาพ - https://mma.prnasia.com/media2/2252418/Artmarket.jpg?p=medium600
ทาริก กิสวานสัน
ดังที่แมทธิว แจ็กเกต์ (Matthieu Jacquet) ระบุไว้ในบทความที่ศูนย์ศิลปะปงปีดูในกรุงปารีส ทาริก กิสวานสัน "เกิดที่เมืองฮาล์มสตัด ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ในสวีเดน โดยมีพ่อและแม่เป็นชาวปาเลสไตน์ที่อพยพมาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 เขาให้ความสำคัญกับทั้งประเทศบ้านเกิดและประเทศในตะวันออกกลางอยู่เสมอ ซึ่งเป็นที่ที่เขาเดินทางแวะเวียนไปทุกปีนับตั้งแต่เกิด และเช่นเดียวกับผู้อพยพรุ่นที่ 2 คนอื่น ๆ ศิลปินได้สัมผัสกับความจำเป็นในการสมานฉันท์และการบูรณาการจากประเทศของบุพการี แต่ก็ได้รับการกระตุ้นเตือนอย่างต่อเนื่องถึงรากเหง้าสังคมคนขาวที่เขาเติบโตมา เขาได้เดินทางจากสวีเดนไปยังปารีสเมื่อ 14 ปีที่แล้ว"
ด้วยแนวปฏิบัติที่หลากหลายและกว้างขวาง เช่น ประติมากรรม การเขียน การแสดง การวาดภาพ ผลงานด้านเสียงและวิดีโอ ศิลปินวัย 30 ปีรายนี้ได้กล่าวถึงประเด็นเหล่านี้ว่าเป็นทั้งความทรงจำเกี่ยวกับการถอนรากเหง้าและการเป็นเจ้าของ และยังเป็นการเปลี่ยนแปลงและการฟื้นฟูในการเดินทางส่วนตัวของเขา ตลอดจนในประวัติศาสตร์ของโลกร่วมสมัย
"ผมเป็นผู้อพยพรุ่นที่ 2 และผลงานของผมส่วนใหญ่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากแนวคิดการพลัดถิ่นและการถอนรากเหง้า" ทาริก กิสวานสัน กล่าว
การได้รับรางวัลมาร์แซล ดูว์ช็อง ถือเป็นจุดสูงสุดของปี 2566 ที่มีการจัดนิทรรศการเดี่ยว 3 แห่ง ทั่วโลกโดย ซึ่งประกอบด้วย นิทรรศการที่พิพิธภัณฑ์ทามาโยะ (Museo Tamayo) ในเม็กซิโก นิทรรศการที่บอนเนียร์ คอนส์ฮอล (Bonniers Konsthall) ในกรุงสตอกโฮล์ม และหนึ่งแห่งที่ซัลซ์เบิร์ก คุนสเวไรน์ (Salzburger Kunstverein) ในเมืองซัลซ์เบิร์ก เมื่อปี 2565 นั้น ผลงานของทาริก กิสวานสัน ถูกจัดแสดงที่ลียง เบียนนาเล (Lyon Biennale) ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยในแอนต์เวิร์ป (Antwerp) ประเทศเบลเยียม และที่ฮอลลันส์ คอนสท์มิวเซียม (Hallands Konstmuseum) ประเทศสวีเดน ในปี 2564 เขาได้จัดนิทรรศการที่คาร์เร ดาร์ต (Carré d'Art) พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยในเมืองนีมส์ในปี 2564 และในปี 2562 เขาได้เข้าร่วมในงานเพอร์ฟอมา 19 เบียนนาเล (Performa 19 Biennale) ของนิวยอร์ก
ทาริก กิสวานสัน สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเซนทรัล เซนต์ มาร์ตินส์ (Central Saint Martins) ในลอนดอนเมื่อปี 2553 และโรงเรียนวิจิตรศิลป์แห่งชาติ (École Nationale Supérieure des Beaux-arts) ในกรุงปารีสเมื่อปี 2557 โดยผู้ชนะรางวัลมาร์แซล ดูว์ช็อง คนล่าสุด ได้แก่ มิโมซา เอชาร์ด (Mimosa Echard) ในปี 2565 ลิลี เรย์โนด์ เดวาร์ (Lili Reynaud Dewar) ในปี 2564 และกัปวานี กีวัง (Kapwani Kiwang) ในปี 2563
เกี่ยวกับ ADIAF และรางวัลมาร์แซล ดูว์ช็อง
ADIAF (สมาคมเผยแพร่ศิลปะฝรั่งเศสนานาชาติ) ก่อตั้งขึ้นโดยคุณจิลส์ ฟุคส์ (Gilles Fuchs) และมีคุณคล็อด บอนนิน (Claude Bonnin) ดำรงตำแหน่งประธานตั้งแต่ปี 2564 ได้รวบรวมนักสะสมงานศิลปะฝรั่งเศสร่วมสมัย 300 คน ADIAF ได้รับการสนับสนุนจากผู้อุปถัมภ์ รวมถึงอาร์ตไพรซ์ เพื่อจัดแสดงงานศิลปะฝรั่งเศสและส่งเสริมให้เกิดอิทธิพลในระดับนานาชาติ
รางวัลมาร์แซล ดูว์ช็อง มอบเงินรางวัลรวม 90,000 ยูโร ซึ่งรวมถึงเงิน 35,000 ยูโรให้แก่ผู้ชนะ ซึ่งยังจะได้รับโอกาสในการพำนักในสหรัฐที่วิลล่า อัลแบร์ทีน (Villa Albertine) ด้วยความร่วมมือในการจัดงานกับศูนย์ปงปิดู ADIAF จัดนิทรรศการของผู้เข้ารอบสุดท้ายทั้ง 4 คนที่ศูนย์ปงปิดู ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรางวัลมาร์แซล ดูว์ช็อง นิทรรศการปัจจุบันจัดแสดงผลงานของแบร์ตีย์ บาค, บูจรา คาลิลี, มัสซินิสซา เซลมานี และทาริก กิสวานสัน สามารถเข้าชมผลงานได้ที่ชั้น 4 ของศูนย์ปงปิดูในปารีสจนถึงวันที่ 8 มกราคม 2567
คุณซาเวียร์ เรย์ (Xavier Rey) ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่แห่งชาติ กล่าวว่า "นิทรรศการนี้แสดงผลงานที่ดีเลิศของวงการศิลปะฝรั่งเศส ด้วยความสามารถอันน่าทึ่งของผู้เข้ารอบสุดท้ายทั้ง 4 คน สำหรับทาริก กิสวานสัน เรายกย่องการทำงานแบบสหสาขาวิชาชีพที่ประสบความสำเร็จของเขา ทั้งในมิติด้านรูปแบบและในความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ จากความสัมพันธ์ที่มีพลวัตระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ผลงานของเขามุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดข้อความที่เป็นสากลด้วยความละเอียดอ่อนอันน่าทึ่ง"
สำหรับคณะกรรมการตัดสินรางวัลมาร์แซล ดูว์ช็อง ครั้งที่ 23 ประกอบด้วยบุคคลสำคัญจากแวดวงศิลปะ 7 ราย ได้แก่ ซาเวียร์ เรย์ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่แห่งชาติ ศูนย์ปงปิดู, คล็อด บอนนิน นักสะสมและประธานสมาคมเผยแพร่ศิลปะฝรั่งเศสนานาชาติ, อาเคมิ ชิราฮะ (Akemi Shiraha) ผู้แทนของสมาคมมาร์แซล ดูว์ช็อง, ดร.ฮิเมนา บลาซเกซ อาบาสคัล (Jimena Blazquez Abascal) นักสะสมและผู้อำนวยการมูลนิธิร่วมสมัยมอนเตนเมดิโอ (สเปน), โฮเซ เกนโซเลน (Josée Gensollen) นักสะสมจากคอลเลคชัน เกนโซเลน ลา ฟาบริก (Collection Gensollen La Fabrique) (มาร์เซย์), เบอาทริส ซัลมอน (Béatrice Salmon) ผู้อำนวยการศูนย์ศิลปะพลาสติกแห่งชาติ (CNAP) และอดัม ดี ไวน์เบิร์ก (Adam D. Weinberg) ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ศิลปะอเมริกันวิทนีย์ในนิวยอร์ก
ผู้ชนะรางวัลมาร์แซล ดูว์ช็อง ปีก่อน ๆ
โธมัส เฮิร์ชฮอร์น (2543-2544)
โดมินิก กอนซาเลซ-ฟอร์สเตอร์ (2545)
แมทธิว เมอร์ซิเออร์ (2546)
แคโรล เบนซาเคน (2547)
คล็อด คลอสกี (2548)
ฟิลิปป์ มาโยซ์ (2549)
ตาเตียนา ทรูเว (2550)
โลรองต์ กราสโซ (2551)
ซาดาน อาฟิฟ (2552)
ไซเปรียน เกลลาร์ด (2553)
มิร์เซีย คันตอร์ (2554)
แดเนียล เดวาร์ และเกรกอรี กิกเกล (2555)
ลาติฟา เอชาคช์ (2556)
จูเลียน เพรวิเยอซ์ (2557)
เมลิก โอฮาเนียน (2558)
คาเดอร์ อัตเทีย (2559)
โจอานา ฮัดจิโธมัส และคาลิล จอเรจ (2560)
เคลมองต์ โคจิตอเร (2561)
เอริก โบดแลร์ (2562)
กัปวานี กิวังกา (2563)
ลิลี่ เรย์โนด์ เดวาร์ (2564)
มิโมซา เอชารด์ (2565)
ทาริก กิสวานสัน (2566)
สงวนลิขสิทธิ์ 2530-2566 เธียร์รี เออร์มันน์ www.artprice.com - www.artmarket.com
เกี่ยวกับอาร์ตมาร์เก็ต
อาร์ตมาร์เก็ตดอตคอม (Artmarket.com) มีชื่ออยู่ใน Eurolist โดย Euronext Paris, SRD long only และ Euroclear: 7478 - Bloomberg: PRC - Reuters: ARTF
สำรวจอาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ผ่านวิดีโอ: www.artprice.com/video
อาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ก่อตั้งขึ้นในปี 2540 โดยซีอีโอ เธียร์รี เออร์มันน์ อาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ได้รับการกำกับดูแลโดยกรุ๊ป เซอร์เวอร์ (Groupe Serveur) ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2530
ดูชีวประวัติที่ผ่านการรับรองใน Who's who ©:
https://imgpublic.artprice.com/img/wp/sites/11/2023/04/2023_2_Biographie-thierry-Ehrmann_WhosWhoInFrance.pdf
อาร์ตมาร์เก็ตเป็นผู้นำระดับโลกในตลาดงานศิลปะ โดยหนึ่งในโครงสร้างขององค์กรคือฝ่ายอาร์ตไพรซ์ ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกในการสะสม การจัดการ และการแสวงหาประโยชน์จากข้อมูลตลาดงานศิลปะทั้งในประวัติศาสตร์และปัจจุบันในคลังข้อมูลที่ประกอบด้วยดัชนีและผลการประมูลกว่า 30 ล้านรายการ ครอบคลุมศิลปินกว่า 824,000 ราย
อาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ต ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกด้านข้อมูลตลาดงานศิลปะ ตั้งเป้าหมายที่ทะเยอทะยานให้ตัวเองผ่านตลาดที่เป็นมาตรฐานระดับโลก เพื่อที่จะเป็นแพลตฟอร์ม NFT งานวิจิตรศิลป์ชั้นนำของโลก
อาร์ตไพรซ์ อิเมเจส (Artprice Images®) ช่วยให้เข้าถึงคลังภาพตลาดงานศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีภาพดิจิทัลไม่น้อยกว่า 180 ล้านรายการจากภาพถ่ายหรือภาพพิมพ์จากผลงานศิลปะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2243 จนถึงปัจจุบัน พร้อมความเห็นจากนักประวัติศาสตร์งานศิลปะของเรา
อาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์สะสมข้อมูลถาวรจากบริษัทประมูล 7,200 แห่ง และสร้างข้อมูลตลาดงานศิลปะที่สำคัญสำหรับสื่อและเอเจนซี่ด้านสื่อมากมาย (สิ่งพิมพ์เผยแพร่ 7,200 ชิ้น) โดยผู้ใช้ 7.2 ล้านราย (สมาชิกเข้าสู่ระบบ + โซเชียลมีเดีย) เข้าถึงโฆษณาที่โพสต์โดยสมาชิกอื่น ๆ เกิดเป็นเครือข่ายที่ปัจจุบันนับเป็นตลาดมาตรฐานระดับโลก Global Standardized Marketplace® ในการซื้อและขายงานศิลปะด้วยราคาคงที่หรือราคาประมูล (กำกับดูแลการประมูลตามวรรคที่ 2 และ 3 ของมาตรา L 321.3 ของประมวลกฎหมายแพ่งแห่งฝรั่งเศส)
อาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ได้รับรางวัล "บริษัทแห่งนวัตกรรม" โดยธนาคารเพื่อการลงทุนภาครัฐของฝรั่งเศสถึงสองครั้ง ซึ่งเป็นรางวัลที่สนับสนุนบริษัทที่ดำเนินโครงการเพื่อก้าวขึ้นเป็นผู้นำระดับโลกในตลาดงานศิลปะ
อาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ต เผยแพร่รายงานตลาดศิลปะร่วมสมัยปี 2566:
https://www.artprice.com/artprice-reports/the-contemporary-art-market-report-2023
รายงานตลาดงานศิลปะโลกของอาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ต "ตลาดงานศิลปะในปี 2565" เผยแพร่ในเดือนมีนาคม 2566:
https://www.artprice.com/artprice-reports/the-art-market-in-2022
อาร์ตไพรซ์เผยแพร่รายงานตลาดงานศิลปะร่วมสมัยพิเศษปี 2565:
https://www.artprice.com/artprice-reports/the-contemporary-art-market-report-2022
ดัชนีข่าวประชาสัมพันธ์ที่โพสต์โดยอาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์:
https://serveur.serveur.com/artmarket/press-release/en/
ติดตามข่าวสารตลาดงานศิลปะทั้งหมดแบบเรียลไทม์กับอาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ทางเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์:
www.facebook.com/artpricedotcom/ (ผู้ติดตามมากกว่า 6.4 ล้านคน)
สำรวจการเล่นแร่แปรธาตุและจักรวาลของอาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ได้ที่ https://www.artprice.com/video ทั้งนี้ อาร์ตมาร์เก็ตมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยชื่อดัง Organe Contemporary Art Museum "The Abode of Chaos" (คำนิยมจากเดอะนิวยอร์กไทมส์): https://issuu.com/demeureduchaos/docs/demeureduchaos-abodeofchaos-opus-ix-1999-2013
La Demeure du Chaos / Abode of Chaos
GESAMTKUNSTWERK & SINGULAR ACRHITECTURE
เปิดตัวผลงานลับสองภาษาสู่สาธารณะ:
https://ftp1.serveur.com/abodeofchaos_singular_architecture.pdf
· L'Obs - The Museum of the Future: https://youtu.be/29LXBPJrs-o
· www.facebook.com/la.demeure.du.chaos.theabodeofchaos999 (ผู้ติดตามมากกว่า 4 ล้านคน)
ติดต่ออาร์ตมาร์เก็ตดอตคอมและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ - ติดต่อ: เธียร์รี เออร์มันน์ อีเมล: ir@artmarket.com
โลโก้ - https://mma.prnasia.com/media2/1009603/4352008/Art_Market_logo.jpg?p=medium600