จาการ์ตา อินโดนีเซีย, 21 พ.ย. 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต
ผ่านพ้นไปเป็นที่เรียบร้อยกับงาน Enlit Asia ซึ่งจัดขึ้นร่วมกับงานวันไฟฟ้าแห่งชาติอินโดนีเซีย ครั้งที่ 78 ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 12,000 คน หัวเว่ย (Huawei) ในฐานะผู้สนับสนุนระดับเพชร (Diamond Sponsor) ของงานนี้ ได้ร่วมนำเสนอโซลูชันนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า และเปิดตัวศูนย์นวัตกรรมร่วมกับเปรูซาฮาน ลิสตริก เนการา (Perusahaan Listrik Negara หรือ PLN) รัฐวิสาหกิจไฟฟ้ายักษ์ใหญ่ของอินโดนีเซีย
นิโคลัส หม่า (Nicholas Ma) ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ย ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ด้วยการให้ความกระจ่างเกี่ยวกับความก้าวหน้าด้านการพัฒนาสีเขียวและดิจิทัลของประเทศต่าง ๆ ในเอเชียแปซิฟิก และชี้ให้เห็นว่าเรากำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจสีเขียวและดิจิทัล อันจะเป็นการส่งเสริมความยั่งยืนควบคู่ไปกับการเติบโตที่แข็งแกร่ง การเปลี่ยนผ่านพลังงานไปพร้อม ๆ กับการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลนั้น จะต้องอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างรัฐบาล หน่วยงานภาครัฐ นักลงทุน และธุรกิจทุกขนาด
นิโคลัสกล่าวต่อไปว่า หัวเว่ย ในฐานะผู้ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ชั้นนำระดับโลกที่มีรากฐานอยู่ในตลาดเอเชียแปซิฟิก จะยังคงมีส่วนร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลและพลังงาน บ่มเพาะบุคลากรคนเก่งด้านดิจิทัลสำหรับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า และเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลผ่านความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับผู้เล่นชั้นนำในอุตสาหกรรม เช่น PLN เพื่อสร้างแบบอย่างที่ดีให้กับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
Nicholas Ma, President of Huawei Asia Pacific Enterprise Business Group, delivering the welcome address at the opening ceremony
ในงานนี้ หัวเว่ยและ PLN ยังได้เปิดตัวศูนย์นวัตกรรมร่วม (Joint Innovation Center) ซึ่งจะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของ PLN และกระตุ้นให้สินทรัพย์ต่าง ๆ ของบริษัทได้ปลดปล่อยมูลค่าทางดิจิทัล
นีซาร์ ปาเทรีย (Nezar Patria) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศของอินโดนีเซีย พร้อมด้วยบาปัก ดาร์มาวาน ปราซอดโจ (Bapak Darmawan Prasodjo) ซีอีโอของ PLN และประธานคณะกรรมการกำกับของ MKI เข้าเยี่ยมชมบูธและแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญของหัวเว่ยเกี่ยวกับโซลูชันพลังงานไฟฟ้าที่ล้ำสมัย ซึ่งสามารถเสริมความแข็งแกร่งให้กับการเปลี่ยนผ่านพลังงานในอนาคต
เอ็ดวิน ดีเอนเดอร์ (Edwin Diender) ซีไอโอหน่วยธุรกิจพลังงานไฟฟ้าของหัวเว่ย กล่าวในโอกาสการเปิดตัวรายงาน "แนวโน้มการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า" โดยหัวเว่ย ว่า "เครือข่ายในอนาคตจะถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับความจุมากกว่าปัจจุบันถึง 100 เท่า แต่การใช้พลังงานทั้งหมดจะไม่สูงกว่าเครือข่ายในปัจจุบัน หัวเว่ยจะยังคงคิดค้นรูปแบบการใช้งานใหม่ ๆ และเทคโนโลยีที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรม เพื่อรับประกันความมั่นคงด้านพลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้สูงสุด ลดการสิ้นเปลืองพลังงาน ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาพลังงานและพลังงานไฟฟ้าคุณภาพสูง"
"การเปลี่ยนผ่านพลังงานจะนำเซ็นเซอร์ที่กระจายอยู่ทั่วไปหลายร้อยล้านตัวเข้าสู่ระบบ และการรับรู้แบบเรียลไทม์จะกลายเป็นพื้นฐานของสมดุลไดนามิกของระบบพลังงาน" แฟรงก์ ซู (Frank Zou) ผู้อำนวยการฝ่ายโซลูชันดิจิทัลสำหรับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าของหัวเว่ย อินโดนีเซีย กล่าวในระหว่างการนำเสนอ Knowledge Hub "เราต้องการการสนับสนุนความสามารถทางดิจิทัลที่เป็นระบบ ทั้งการสื่อสาร คอมพิวเตอร์ และความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนผ่านพลังงาน"
ปัจจุบัน หัวเว่ยร่วมมือเชิงลึกกับบริษัทพลังงานมากกว่า 190 แห่งทั่วโลก และร่วมกับพันธมิตรในระบบนิเวศสร้างโซลูชันที่ตอบโจทย์รูปแบบการใช้งานมากกว่า 40 โซลูชัน เพื่อปูทางสำหรับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเปลี่ยนผ่านพลังงานทั่วโลก และบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน