เผยรายชื่อผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศ 15 ราย เพื่อคว้าเงินรางวัลสูงสุดถึง 60,000 ดอลลาร์สิงคโปร์แล้ววันนี้
กรุงเทพฯ—28 ส.ค.—พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
พิพิธภัณฑ์ Singapore Art Museum (SAM) และมูลนิธิ Asia Pacific Breweries (APB) ประกาศรายชื่อผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศจำนวน 15 ราย ในการแข่งขัน APB Foundation Signature Art Prize 2014 ซึ่งปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่สาม โดยการแข่งขันครั้งนี้เป็นเวทีสำหรับผลงานศิลปะร่วมสมัยอันดึงดูดใจ ซึ่งสร้างสรรค์โดยบรรดาศิลปินจากทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในระยะเวลากว่าสามปีที่ผ่านมา
จากการคัดเลือกผลงานโดยคณะกรรมการผู้ตัดสินที่มีชื่อเสียงห้าคนจากทั่วภูมิภาค ผลงานศิลปะที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารอบชิงนั้น ถูกคัดกรองจากผลงานศิลปะที่ได้รับการเสนอเข้าประกวดทั้งสิ้น 105 ชิ้น จาก 24 ประเทศและดินแดน โดยผลงานสร้างสรรค์อันแปลกใหม่และน่าตื่นเต้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รวมถึงผลงานร่วมสมัยนั้น ถือเป็นการนำเสนอองค์ประกอบที่ดีที่สุดของภูมิภาค และไม่มีการจำกัดรูปแบบศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด รูปแกะสลัก ภาพถ่าย วิดีโอ หรือศิลปะการแสดง ผลงานแต่ละชิ้นต่างสะท้อนถึงประเด็นอันหลากหลาย โดยไม่ได้แสดงถึงลักษณะทางศิลปะร่วมสมัยของภูมิภาคเพียงเท่านั้น แต่ยังสื่อให้เห็นถึงหัวข้อและการสนทนาที่เกี่ยวข้องกับสังคมปัจจุบัน
ผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศ 15 ราย จาก 13 ประเทศและดินแดน ประกอบไปด้วยผู้เข้าชิงจากประเทศไทย เกาหลีใต้ ปากีสถาน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม ออสเตรเลีย อินเดีย บังคลาเทศ และไต้หวัน ตามรายชื่อดังต่อไปนี้:
(สามารถรับชมถ้อยแถลงและประวัติของศิลปินโดยละเอียดได้ที่ http://www.singaporeartmuseum.sg/apbfSAP2014.html)
สำหรับคณะกรรมการผู้ตัดสินที่ได้คัดเลือกผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศประจำปีนี้ ได้แก่ คุณ Chris Saines ผู้อำนวยการ Queensland Art Gallery | Gallery of Modern Art; คุณ Feng Boyi ภัณฑารักษ์และนักวิจารณ์อิสระผู้มีชื่อเสียงในวงการศิลปะจีนร่วมสมัย; คุณลักขณา คุณาวิชยานนท์ ผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร; คุณ Pooja Sood ผู้อำนวยการสมาคม KHOJ International Artists' Association และ ดร. Susie Lingham ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ Singapore Art Museum
คณะกรรมการผู้ตัดสินผลงานเปิดเผยว่า "เรามีความตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่ได้เปิดเผยรายชื่อผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศในการแข่งขัน APB Foundation Signature Art Prize 2014 กระบวนการคัดกรองผลงานที่ส่งเข้าประกวดกว่า 100 ชิ้นให้เหลือ 15 ชิ้นนั้น เป็นขั้นตอนการคัดเลือกที่ต้องใช้ความเข้มงวดและมีการหารืออย่างถี่ถ้วน จนนำไปสู่ผลงานศิลปะชั้นเลิศอันหรูหราและหลากหลาย โดยในภาพรวม ผลงานศิลปะ 15 ชิ้นที่ได้รับการคัดเลือกนั้น แสดงให้เห็นถึงมุมมองในอนาคต ในแวดวงศิลปะร่วมสมัยอันล้ำค่าและเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในภูมิภาค ผลงานที่ผ่านเข้ารอบมีความโดดเด่น ในแง่ของแนวคิดและวิธีการนำเสนอ และแม้ว่าจะมีความแตกต่างในด้านบริบท ประวัติความเป็นมา และวัฒนธรรม แต่ผลงานศิลปะเหล่านี้สามารถสื่อให้เห็นถึงประเด็นต่างๆได้อย่างชาญฉลาด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอัตลักษณ์ การย้ายถิ่นฐาน การขยายเขตเมือง การสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ ค่านิยมเก่าแก่ที่กำลังเลือนหายไป ความหลากหลายทางวัฒนธรรม และอื่นๆ"
สำหรับผลงานของอริญชย์ รุ่งแจ้ง ศิลปินไทยรายเดียวที่มีโอกาสชิงรางวัลอันทรงเกียรตินี้ เป็นผลงานนำเสนอผ่านทางวิดีโอ ซึ่งได้รับการเปิดตัวเป็นครั้งแรกที่งาน Venice Biennale ภายในบริเวณ Thai Pavilion ปี 2557 โดยผลงาน Golden Teardrop ย้อนกลับไปให้เห็นถึงช่วงเวลาสำคัญของประวัติศาสตร์ไทย พร้อมแสดงถึงความเคลื่อนไหวของมนุษย์ รวมถึงการแลกเปลี่ยนระหว่างวัฒนธรรม
ผลงานศิลปะอื่นๆที่เข้ารอบชิงชนะเลิศได้แก่ I'm a Ghost in My Own House ผลงานของ Melati Suryodarmo การแสดงความยาว 12 ชั่วโมงอันเข้มข้นและทรงพลัง โดยศิลปินได้แสดงการโม่และบดถ่านไม้กว่าหลายร้อยกิโลกรัม อันเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงพลังงานของชีวิต ส่วนผลงาน Infinite Love ของ Owen Leong ศิลปินชาวออสเตรเลียนั้น เป็นการแสดงผลงานประพันธ์ผ่านอวัยวะภายใน ซึ่งนำเสนอร่างกายมนุษย์ในรูปแบบแหล่งทางกายภาพ ที่สื่อถึงพลังทางสังคม วัฒนธรรม และการเมือง ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับตัวตนความเป็นเอเชีย-ออสเตรเลียในตัวศิลปิน
ด้วยเทคนิคการนำเสนอแบบเพ่งอารมณ์ ผลงาน One places / on "the room" ของ Go Watanabe เป็นผลงานศิลปะที่มีความท้าทายทางเทคนิคและดึงดูดใจเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจะเปลี่ยนมุมมองเรื่องเวลาและพื้นที่ของเราโดยสิ้นเชิง ส่วนผลงาน House of Opaque Water ของ Ranbir Kaleka ใช้โครงสร้างบรรยายเรื่อง เพื่อนำเสนอแนวคิดของการย้ายถิ่นฐาน ตลอดจนกระแสตอบรับจากสังคมต่อสถานการณ์เหล่านี้ และผลงาน In Pursuit of Venus ของ Lisa Reihana ศิลปินชาวนิวซีแลนด์ สะท้อนให้เห็นถึงความงดงามของหมู่เกาะแปซิฟิก พร้อมกับนำเสนอบทวิจารณ์เกี่ยวกับมรดกจากอาณานิคมที่มีความแตกต่างไปเล็กน้อย
สำหรับผลงานจากสิงคโปร์ที่ได้รับการเสนอชื่อ ประกอบไปด้วย PYTHAGORAS ของ Ho Tzu Nyen ซึ่งเป็นผลงานแสดงประสบการณ์ที่ผู้ชมสามารถสัมผัสได้ เพื่อที่ผุ้ชมจะได้ทำความรู้จักกับมุมมองสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อน การซ่อนเร้นของพลัง เสียง หรือเสียงพูด ขณะที่งานแสดงศิลปะที่ดูเรียบง่ายวัตถุน้อยชิ้นของ Zhao Renhui ในผลงาน Eskimo wolf trap often quoted in sermons บอกเล่าประสบการณ์ของศิลปินในการเดินทางข้ามขั้วโลกเหนือที่ประดังประเดไปด้วยความเคร่งครัด ส่วนผลงานจากจีนแผ่นดินใหญ่ที่ได้รับการเสนอชื่อ ได้แก่ Trace ของ Liu Jianhua ซึ่งเป็นผลงานที่โดดเด่นและได้รับแรงบันดาลใจจากรูปแบบศิลปะดั้งเดิม ได้แก่ ศิลปะการคัดลายมือและเครื่องลายคราม เพื่อที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาในสังคม และ Letters from a Distance ผลงานจาก Peng Wei ที่ทิ้งร่องรอยของวิธีการแบบดั้งเดิมและใช้วัสดุแบบจีนที่มีความงดงาม อาทิ ม้วนหนังสือ และใบไม้ที่ผสมผสานข้อความจากนักปราชญ์ตะวันตก
ในส่วนของผลงานจากเกาหลีใต้นั้น Custos Cavum (Guardian of the hole) ของ Choe U-Ram คือรูปแบบงานประติมากรรมที่น่าทึ่งและเต็มไปด้วยจินตนาการขั้นสูงที่บรรยายภาพสัตว์ประหลาดในตำนาน ซึ่งครั้งหนึ่งเคยมาจากอดีตและยังมาจากคำพยากรณ์เกี่ยวกับอนาคตด้วย
ผลงาน Mirage -- Disused Public Property in Taiwan จาก Yao Jui-Chung & Lost Society Document (LSD) ถือเป็นผลงานทางการเมืองเชิงสืบสวนเกี่ยวกับ 'ห้องโถงแห่งยุง'ที่ไต้หวัน ได้ขยายความให้เห็นว่า ศิลปะมีพลังที่จะมุ่งเน้นประเด็นปัญหาทางสังคมได้เพียงใด เพื่อที่จะก่อให้เกิดการไคร่ครวญอย่างละเอียดและการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง ขณะที่งาน Unsubtitled จาก Nguyen Trinh Thi พินิจพิเคราะห์เรื่องอิสรภาพของการแสดงออกผ่านการจัดแสดงผลงานศิลปะเกี่ยวกับ Nhan Van-Giai Pham ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวทางการประพันธ์ที่ถูกปราบปรามในทศวรรษ 1950
ขณะที่ผลงานชุดสุดท้ายที่ได้มีการสำรวจห้วงอวกาศและสถานที่ต่างๆนานานั้น Kahani Eik Shehr Ki (story of a city) ของ Farida Batool จากปากีสถาน พาผู้ชมเดินลัดเลาะไปตามถนนอันวุ่นวายในเมืองละฮอร์ เก็บเกี่ยวแง่มุมของเมืองที่อาจไม่มีใครรู้ผ่านงานพิมพ์ความยาว 21 แผ่นในรูปแบบเลนติคูลาร์ ขณะที่ Naeem Mahaiemen จากบังคลาเทศนำเสนอ Rankin Street, 1953 ซึ่งเป็นผลงานภาพที่คุ้นตาที่เผยความทรงจำเกี่ยวกับครอบครัวของศิลปินโดยใช้บ้านของครอบครัวศิลปินเป็นตัวเดินเรื่องและแง้มอดีตด้วยภาพถ่ายเนกาทีฟแนววินเทจ
รางวัล APB Foundation Signature Art Prize มีมูลค่ารวม 100,000 ดอลลาร์ โดยจะมีการมอบเงินรางวัล 60,000 ดอลลาร์ให้กับผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ และ 15,000 ดอลลาร์มอบให้กับผู้ชนะรายการ Jurors' Choice Award อีก 2 ราย นอกจากนี้ จะมีการมอบรางวัล People's Choice Award มูลค่า 10,000 ดอลลาร์ให้กับผลงานที่ได้รับคะแนนโหวตจากประชาชนมากที่สุดในงานและการส่งคะแนนแบบออนไลน์ (เปิดให้ลงคะแนนตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2557)
นิทรรศการ APB Foundation Signature Art Prize Exhibition จะจัดขึ้นที่ SAM ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 ถึง 15 มีนาคม 2558 โดยจะมีการประกาศชื่อผู้ชนะรางวัลในพิธีมอบรางวัลในวันที่ 22 มกราคม 2558 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเข้าดูได้จากเว็บไซต์ APB Foundation Signature Art Prize ที่ http://www.singaporeartmuseum.sg/apbfSAP2014.html
เกี่ยวกับมูลนิธิ Asia Pacific Breweries (APB) Foundation
มูลนิธิ Asia Pacific Breweries (APB) Foundation จัดตั้งขึ้นในเดือนมิ.ย. พ.ศ. 2537 เป็นมูลนิธิที่จะจุดประกายความมีเมตตากรุณาและสร้างแรงบันดาลใจโดยอาศัยความพยายามด้วยจิตกุศล มูลนิธิได้จัดสรรทรัพยากรเพื่อช่วยเหลือผู้คนและองค์กรต่างๆเพื่อพัฒนาพรสวรรค์ ความมุ่งมั่นด้านการศึกษาและการวิจัย ตลอดจนความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ส่งผลให้เราสามารถเติมไฟให้กับสังคมและปูทางให้ชุมชนต่างเป็นถิ่นที่อยู่ ทำงาน ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง
ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนความเป็นเลิศของมนุษย์ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และสาเหตุแห่งมนุษยธรรม Asia Pacific Breweries (APB) Foundation จึงมีส่วนร่วมในหลากหลายโครงการ ตั้งแต่การระดมทุนเพื่อศิลปะ การสนับสนุนโครงการส่งเสริมพรสรรค์สำหรับการพัฒนาทุนทางมนุษย์ ไปจนถึงการมีส่วนร่วมกับองค์กรและบุคคลต่างๆ ที่มีเป้าหมายเดียวกันในการรับใช้สังคม ในรูปของความเป็นหุ้นส่วนที่มีความหมาย
APB Foundation เป็นองค์กรการกุศลที่จดทะเบียน ซึ่งมีการบริหารจัดการและได้รับทุนจาก Heineken Asia Pacific Pte. Ltd. (HEINEKEN Asia Pacific)
เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ Singapore Art Museum
พิพิธภัณฑ์ Singapore Art Museum (SAM) มุ่งเน้นแนวทางการดำเนินการด้านศิลปะร่วมสมัยในสิงคโปร์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียในบริบทสากล พิพิธภัณฑ์สนับสนุนและเปิดให้เข้าถึงศิลปะร่วมสมัยสหวิทยาการ ผ่านแนวทางศิลปะเชิงภัณฑารักษ์ที่เน้นการวิจัย SAM เปิดในเดือนมกราคม 2539 โดยรวบรวมหนึ่งในคอลเลคชั่นผลงานศิลปะร่วมสมัยที่สำคัญที่สุดของภูมิภาค SAM ปรารถนาที่จะฝังรากและหล่อเลี้ยงพื้นที่แห่งความสร้างสรรค์ในสิงคโปร์ผ่านงานนิทรรศการและโครงการสาธารณะ สิ่งต่างๆเหล่านี้ได้หลอมรวมถิ่นที่อยู่และการแลกเปลี่ยนที่หลากหลายหลักการ การวิจัยและสิ่งพิมพ์ ตลอดจนการยื่นความช่วยเหลือและการสนับสนุนด้านการศึกษา SAM เป็นผู้จัดงาน Singapore Biennale ในปี 2554 และ 2556
SAM ได้รับการจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดโดย Guarantee เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2556 และย้ายจากคณะกรรมการมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติ (National Heritage Board) มาอยู่ที่ Visual Arts Cluster (VAC) ในสังกัดของกระทรวงวัฒนธรรม ชุมชน และ เยาวชน (MCCY) สำหรับสถาบันอื่นๆที่อยู่ภายใต้สังกัดของ VAC ได้แก่ หอศิลป์แห่งชาติสิงคโปร์ (NAGS) และสถาบันการพิมพ์ไทเลอร์สิงคโปร์ (STPI)
สำหรับข้อมูลและภาพเพิ่มเติมของศิลปินและกรรมการ สามารถติดต่อได้ที่
คิมเบอร์ลี มาห์ (Kimberly Mah)
Ogilvy Public Relations
โทร. +65-6213-9940
อีเมล: kimberly.mah@ogilvy.com
ลินน์ ซิม (Lynn Sim)
Singapore Art Museum
โทร. +65-6697-9762
อีเมล: lynn.sim@singaporeartmuseum.sg
เจเน็ต ลีโอ (Janet Neo)
Asia Pacific Breweries Foundation
โทร. +65-6276-3488
อีเมล: janet.neo@heineken.com
โลโก้ - http://photos.prnasia.com/prnh/20140826/8521404797LOGO-a
โลโก้ - http://photos.prnasia.com/prnh/20140826/8521404797LOGO-b