บาร์เซโลนา สเปน, 29 ก.พ. 2567 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ -- หัวเว่ยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมการเงินดิจิทัล (Digital Finance) ในงาน MWC Barcelona 2024 โดยคุณเจสัน เฉา (Jason Cao) ซีอีโอฝ่ายหน่วยธุรกิจการเงินดิจิทัลของหัวเว่ย ได้เน้นความสำคัญว่า ความสามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงเป็นหลักพื้นฐานสำคัญของทุกสิ่ง และอธิบายเพื่อแสดงวิธีการสร้างความสามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างพื้นฐานในยุคอัจฉริยะ
ความสามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงจะช่วยสนับสนุนเทคโนโลยีอัจฉริยะ ในโลกดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงทุกอย่างส่งผลให้เกิดอุปสรรคใหม่ ๆ กับการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง เราจะต้องจำกัดความใหม่และรวบรวมความสามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้บรรลุถึงระบบการธนาคารที่ทำงานต่อเนื่องแบบนอนสต็อป (Non-stop Banking) ที่รับรองได้ว่าเวลาหยุดให้บริการจะเป็นศูนย์ และบริการทางการเงินที่พร้อมให้บริการในระดับสูง มอบประสบการณ์ให้ผู้ใช้ที่เวลารอเป็นศูนย์ สามารถดำเนินงานได้แบบไร้การสัมผัส ในขณะที่รับรองได้ว่าใช้กลยุทธ์รักษาความปลอดภัยแบบไม่เชื่อใจใคร (Zero Trust) ที่ตรวจสอบผู้ใช้อย่างเข้มงวดและมีระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลในการดำเนินงาน และเร่งให้เกิดการพัฒนาระบบอัจฉริยะในท้ายที่สุด
เวลาหยุดให้บริการเป็นศูนย์ (Zero Downtime)
ในการทำให้เวลาหยุดบริการเป็นศูนย์ หัวเว่ยไม่เพียงแต่อัปเกรดสถาปัตยกรรม MAS เท่านั้น แต่ยังสร้างให้เกิดการดำเนินการที่ประสบความสำเร็จในฐานข้อมูลแบบกระจายด้วย นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้พัฒนาฐานข้อมูลแบบกระจายรุ่นใหม่ที่เรียกว่า GaussDB ที่ได้รับการเผยแพร่อย่างเป็นทางการในวงการเงินโลกวันนี้ โดยประกอบด้วยฟีเจอร์เจ็ดประการ ได้แก่ ความพร้อมให้บริการในระดับสูง การรักษาความปลอดภัยในระดับสูง สมรรถนะในการทำงานสูง ระดับความอัจฉริยะขั้นสูง ความยืดหยุ่นสูง การนำไปใช้งานง่าย และรวมเข้าสู่ระบบได้อย่างง่ายดาย ที่ทำให้ฐานข้อมูลนี้เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดสหรับอุตสาหกรรมการเงินที่ต้องการผลักดันให้เวลาหยุดให้บริการเท่ากับศูนย์
การสัมผัสเป็นศูนย์ (Zero Touch)
เครือข่ายขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Autonomous Driving Network) ของหัวเว่ยถูกยกระดับจาก 1-3-5 เป็น 0-1-3-5 ("0" หมายถึง "ความผิดพลาดจากมนุษย์เท่ากับ 0") ที่ช่วยให้ภาคการเงินนำการดำเนินงานแบบการสัมผัสเป็นศูนย์ไปปรับใช้ดำเนินการ
แผนที่ดิจิทัลเป็นความสามารถที่มีความสำคัญมากที่สุด ที่ได้รับการอัปเกรดโดยอิงตามอัลกอริทึมจัดการข้อมูลแผนที่บนคลาวด์ (Cloud-Map Algorithms) และดิจิทัลทวิน (Digital Twin) โดยใช้ประโยชน์จากโมเดล AI ขนาดใหญ่เพื่อสร้างภาพความเชื่อมโยงและการเปลี่ยนแปลงของเครือข่าย การจราจร และแอปพลิเคชันแบบเรียลไทม์ และผลลัพธ์ที่ได้ คือ การจำลองเครือข่ายแบบดิจิทัลทวิน ที่รับรองได้ว่าความผิดพลาดจากการเปลี่ยนแปลงจะเท่ากับศูนย์
กลยุทธ์รักษาความปลอดภัยแบบไม่เชื่อใจใคร (Zero Trust)
หัวเว่ยปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์โดยตลอดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถตรวจพบการจู่โจม แยกไวรัสออก และกู้คืนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังมอบโซลูชันเพื่อป้องกันมัลแวร์เรียกค่าไถ่แบบหลายชั้นเป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรม โดยโซลูชันนี้ใช้ไฟร์วอลล์ของเครือข่ายในการตรวจจับไวรัสและระบบจัดเก็บแยก (Storage air-gap) เพื่อแยกไวรัสออกภายในเวลาไม่กี่วินาที จึงสามารถป้องกันการบุกรุกได้ทันที
นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้อัปเกรดโซลูชันการสำรองข้อมูลแบบบูรณาการ OceanProtect โดยเป็นอัลกอริทึมแบบคู่ขนานขนาดใหญ่ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถกู้คืนบริการต่าง ๆ ได้ทันที
เวลารอที่เป็นศูนย์ (Zero Wait)
โซลูชันเทคโนโลยีอัจฉริยะของข้อมูลของหัวเว่ย ได้รวมสถาปัตยกรรมแบบไร้เซิร์ฟเวอร์โดยสมบูรณ์เข้ากับคลังข้อมูลดาต้าเลคเฮาส์ (Data Lakehouse) และการผสานข้อมูลเข้ากับ AI (Data-AI convergence) ที่จะให้ความสามารถในการทำงานแบบเรียลไทม์ที่แข็งแกร่งในระดับขีดสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคลังเก็บข้อมูล นี่เป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในการสร้างประสบการณ์แบบเวลารอเป็นศูนย์
กล่าวโดยสรุปได้ว่า หัวเว่ยหวังที่จะจำกัดความใหม่และรวบรวมความสามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงร่วมกับลูกค้า เพื่อสร้างระบบการธนาคารต่อเนื่องแบบนอนสต็อปที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น