omniture

หัวเว่ยและยูเนสโกขยายโครงการโรงเรียนแบบเปิดไปยังประเทศใหม่ ๆ

Huawei
2024-04-19 00:46 128

เฟสที่สองจะเริ่มตั้งแต่ปี 2567 ถึง 2570 ที่ประเทศอียิปต์ บราซิล และไทย

ปารีส, 19 เม.ย. 2567/พีอาร์นิวส์ไวร์/ -- เมื่อวานนี้ องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) และหัวเว่ย (Huawei) ได้เปิดตัวเฟสที่สองของโครงการระบบโรงเรียนเทคโนโลยีเสริมการสอนแบบเปิดสำหรับทุกคน (Technology-Enabled Open Schools for All System: TeOSS) ในงานสัมมนาอนาคตดิจิทัลแห่งการศึกษา (Digital Futures of Education) ของยูเนสโก โดยประกาศว่าเฟสที่สองจะเริ่มตั้งแต่ปี 2567 ถึง 2570 ที่ประเทศบราซิล ไทย และอียิปต์ โดยเฟสแรกได้เป็นประโยชน์แก่นักการศึกษาหลายพันคนในประเทศอียิปต์ กานา และเอธิโอเปียแล้ว

UNESCO, Huawei and TeOSS project country representatives at the UNESCO Digital Futures of Education Seminar
UNESCO, Huawei and TeOSS project country representatives at the UNESCO Digital Futures of Education Seminar

TeOSS มีเป้าหมายที่จะสร้างระบบการศึกษาที่ปรับตัวต่อวิกฤติได้ดี ไม่แบ่งแยก และพร้อมรองรับอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนข้อที่ 4 (UN SDG-4) ของสหประชาชาติ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อมอบทรัพยากรดิจิทัล การฝึกอบรม และการสนับสนุนนโยบายแก่นักการศึกษาและผู้เรียน

"เมื่อเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การศึกษายืนอยู่แถวหน้า โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพื่อไม่เพียงแต่ขยายการเข้าถึงการศึกษาเท่านั้น แต่ยังใช้เพื่อวาดนิยามใหม่แห่งลักษณะการเรียนรู้และความรู้สำหรับคนรุ่นต่อ ๆ ไปอีกด้วย" คุณสเตฟาเนีย จันนีนี (Stefania Giannini) ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษา ยูเนสโก กล่าว "ต้องขอบคุณพันธมิตรอย่างหัวเว่ยที่ทำให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากการปฏิวัติทางดิจิทัลนี้เพื่อกำหนดอนาคตทางการศึกษาที่ครอบคลุม เสมอภาค และคำนึงถึงมนุษย์เป็นศูนย์กลาง"

สรุปภาพรวมเฟส 1 ของโรงเรียนแบบเปิด 

TeOSS เฟสแรก ดำเนินการตั้งแต่ปี 2563-2567 ในประเทศอียิปต์ เอธิโอเปีย และกานา ยูเนสโกและหัวเว่ยได้สนับสนุนกระทรวงศึกษาธิการของสามประเทศในแอฟริกาในการออกแบบ นำไปใช้ และประเมินระบบโรงเรียนแบบเปิดในโครงการนำร่องสามโครงการ

ตัวแทนกระทรวงจากทั้งสามประเทศได้แบ่งปันความคืบหน้า แนวปฏิบัติที่ดี และประสบการณ์ในเฟสแรกที่ในการสัมมนาของยูเนสโกเมื่อวาน โดยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้

"โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อรับมือความท้าทายด้านการศึกษาโดยการบูรณาการแพลตฟอร์มการเรียนรู้ดิจิทัลและเนื้อหาดิจิทัลที่สอดคล้องกับหลักสูตรและความสามารถทางดิจิทัลของครู นอกจากนี้ โครงการยังพยายามส่งเสริมโมเดลการศึกษาแบบเปิดผ่านนโยบายการเรียนรู้ดิจิทัลระดับชาติ" คุณ Hegazi Idris ที่ปรึกษารัฐมนตรีเพื่อการรู้หนังสือและการเรียนรู้ตลอดชีวิต กระทรวงศึกษาธิการและการศึกษาด้านเทคนิค ประเทศอียิปต์ได้กล่าวไว้

  • ในประเทศอียิปต์ TeOSS สนับสนุนนักการศึกษาระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย (K-12) จำนวน 950,000 คนผ่านทางศูนย์การเรียนรู้ทางไกลแห่งชาติ
  • ในประเทศกานา TeOSS ได้ปรับปรุงแพลตฟอร์มการศึกษาระดับชาติสำหรับนักศึกษาและนักการศึกษาทั่วประเทศ ในโรงเรียนนำร่อง 10 แห่ง โดยโครงการนี้เป็นประโยชน์ต่อครู 1,000 คน และนักเรียน 3,000 คน
  • ในประเทศเอธิโอเปีย TeOSS ได้ให้ประโยชน์แก่นักเรียน 12,000 คนและนักการศึกษา 250 คนในโรงเรียนมัธยมนำร่องที่ได้รับคัดเลือก 24 แห่ง

นอกจากนี้ ในการสัมมนาของยูเนสโก ตัวแทนจากประเทศบราซิล ไทย และอียิปต์ยังได้หารือเกี่ยวกับประเด็นสำคัญระดับชาติที่เกี่ยวกับการศึกษา และวิธีที่โครงการ TeOSS เฟสที่ 2 จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้

"ประเทศไทยเปิดตัวดิจิทัล ไทยแลนด์ (Digital Thailand) เพื่อบรรลุการศึกษาดิจิทัลผ่านความสามารถในการเชื่อมต่อ เนื้อหา และความสามารถ" คุณสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ ประเทศไทย กล่าว

"ประเทศบราซิลตั้งเป้าหมายการเชื่อมโยงระดับสากลเพื่อจุดประสงค์ทางการศึกษาในโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานสาธารณะทุกแห่งในประเทศภายในปี 2569" คุณบาร์บารา บาเซลลาร์ โรดริเกซ เด โกดอย (Barbara Bacellar Rodrigues de Godoy) ที่ปรึกษาการจัดการโครงการประถมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ประเทศบราซิล กล่าว

TeOSS สอดคล้องกับขอบเขตการศึกษาของเทคฟอร์ออล (TECH4ALL) ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มความเท่าเทียมทางดิจิทัลของหัวเว่ย โดยมีเป้าหมายใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนความเท่าเทียมและคุณภาพทางการศึกษา

"หัวเว่ยมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ในการทำงานร่วมกับยูเนสโก รัฐบาล และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดเพื่อพัฒนาโซลูชันเทคโนโลยีที่สามารถสร้างโลกดิจิทัลที่เท่าเทียมและยั่งยืนได้" คุณหลิว หมิงจู (Liu Mingju) ผู้อำนวยการสำนักงานโครงการเทคฟอร์ออลของหัวเว่ย กล่าว

 

Source: Huawei
Keywords: Computer/Electronics Education Internet Technology Telecommunications Telecommunications Carriers and Services Corporate Social Responsibility Licensing/marketing agreements New products/services