สิงคโปร์, 19 เมษายน 2567 /PRNewswire/ -- เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ศูนย์อินเทอร์เน็ตและชุมชนที่เชื่อถือได้ (CTIC) แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) ได้เปิดตัวโครงการริเริ่มใหม่ภายใต้ชื่อ "Living Well Digitally" (ชีวิตความเป็นอยู่เชิงดิจิทัลที่ดี) (https://ctic.nus.edu.sg/living-well-digitally/) โดยโครงการริเริ่มนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นภายใต้ความร่วมมือกับสถาบันดีคิว (DQ Institute) และโครงการดิจิทัลฟอร์ไลฟ์ (Digital for Life) (ดิจิทัลเพื่อชีวิต) โดยสำนักสารสนเทศ การสื่อสาร และการพัฒนาสื่อ (IMDA) มีเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้าใจ การมีส่วนร่วม และส่งเสริมด้านความรู้และเครื่องมือในการรับมือกับความซับซ้อนของโลกดิจิทัลให้แก่บุคคลทั่วโลก นำไปสู่ไลฟ์สไตล์ดิจิทัลที่สมดุลและรอบรู้มากขึ้น
โครงการริเริ่ม "Living Well Digitally" ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 ประการ ได้แก่:
• กรอบงานเพื่อบ่งชี้ความเป็นอยู่เชิงดิจิทัลที่ดี (DWIF): DWIF เป็นกรอบงานแรกของโลกที่ประเมินความเป็นอยู่เชิงดิจิทัลแบบองค์รวมในขอบเขตต่าง ๆ ของชีวิตประจำวัน DWIF ใช้มาตรฐานระดับโลก IEEE DQ (IEEE 3527.1TM) ของสถาบันดีคิวเป็นกรอบการทำงานพื้นฐานเพื่อมอบความครอบคลุมในประเด็นความเป็นอยู่ดิจิทัลทั้ง 5 ด้าน (ความสัมพันธ์ทางสังคมดิจิทัล สุขภาพดิจิทัล การบริโภคดิจิทัล การจ้างงานดิจิทัล และการมีส่วนร่วมทางดิจิทัลของผู้คน) ผสานรวมแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัลเพื่อสร้างกรอบการทำงานที่ครอบคลุมสำหรับความเป็นอยู่เชิงดิจิทัล
• เครื่องมือการประเมินความเป็นอยู่เชิงดิจิทัลที่ดีระดับสากล (Universal Digital Wellbeing Assessment Tool): การใช้เครื่องมือการประเมินความเป็นอยู่เชิงดิจิทัลที่ขับเคลื่อนโดยดีคิว ช่วยให้บุคคลสามารถประเมินความเป็นอยู่เชิงดิจิทัลที่ดีของตนได้อย่างง่ายดายเพียงการกดปุ่มเพื่อขอรับคะแนนและข้อเสนอแนะได้ทันทีบนเว็บไซต์ของโครงการ Living Well Digitally เครื่องมือนี้ได้รับการพัฒนาโดยใช้กรอบงาน DWIF นำเสนอชุดคำถามและการแจกแจงคะแนนความเป็นอยู่ที่ดีแบบส่วนตัว ช่วยให้ผู้ใช้สามารถระบุจุดแข็งและจุดที่ต้องปรับปรุงเพื่อเพิ่มระดับความเป็นอยู่เชิงดิจิทัลที่ดีได้
• ทรัพยากรที่เข้าถึงได้สำหรับชุมชน: ด้วยจุดมุ่งหมายในการมอบความรู้และเสริมศักยภาพบุคคลเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตดิจิทัล เว็บไซต์ของโครงการ Living Well Digitally จึงทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มเพื่อให้บริการแหล่งข้อมูลทางการศึกษา เคล็ดลับ และข้อมูลต่าง ๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ตั้งแต่คนหนุ่มสาวไปจนถึงผู้ใหญ่ ครอบครัว นักการศึกษา และนักสังคมสงเคราะห์
กรอบงาน DWIF พัฒนาโดยทีมนักวิจัยจากศูนย์อินเทอร์เน็ตและชุมชนที่เชื่อถือได้แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (นำโดยศาสตราจารย์ออเดรย์ เยว่ (Audrey Yue) ศาสตราจารย์นาตาลี ผาง (Natalie Pang) ศาสตราจารย์จาง เยิ่นเหวิน (Zhang Renwen) ร่วมกับศาสตราจารย์ลิม อี เผิง (Lim Ee-Peng) จากมหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์ และดร.ยูฮยอน พัค (Yuhyun Park) จากสถาบันดีคิว) ผ่านการวิจัย การปรับแต่ง และการตรวจสอบความถูกต้องเป็นเวลากว่าสองปี ครอบคลุมการปรึกษาร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 23 คน (ผู้กำหนดนโยบาย หน่วยงานบริการสังคม และนักวิชาการ) จากสิงคโปร์ จีน สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ตามด้วยการทดสอบนำร่องที่มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 1,300 คนรวมกันในสิงคโปร์และทั่วโลก ตและการสำรวจประชากรข้ามประเทศจำนวนกว่า 4,000 คนใน 4 เมืองของสิงคโปร์ โซล เซี่ยงไฮ้ และลอนดอน
เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการเปิดตัวโครงการริเริ่ม Living Well Digitally สู่สาธารณะ ศูนย์อินเทอร์เน็ตและชุมชนที่เชื่อถือได้จึงจัดงานเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ โดยภายในงานประกอบด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากกระทรวงและองค์กรของรัฐ เช่นกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศ และสำนักสารสนเทศ การสื่อสาร และการพัฒนาสื่อ หน่วยงานบริการสังคมอย่างทัช คอมมิวนิตี เซอร์วิสเซส (TOUCH Community Services) และบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำอย่างเมตา (Meta) และบิตแดนซ์ ByteDance (หรือติ๊กต๊อก)
"การให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่เชิงดิจิทัลที่ดีเป็นสิ่งจำเป็นในโลกปัจจุบัน เรากำลังจุดประกายความเคลื่อนไหวเพื่อมอบความรู้และส่งเสริมผู้คนในสิงคโปร์และทั่วโลกให้เป็นเจ้าของประสบการณ์ดิจิทัลของตนเอง และปลูกฝังการเชื่อมต่อที่มีความหมายทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ผ่านโครงการ Living Well Digitally นี้" ศาสตราจารย์ออเดรย์ เยว่ หัวหน้านักวิจัยของโครงการ รองผู้อำนวยการศูนย์อินเทอร์เน็ตและชุมชนที่เชื่อถือได้ หัวหน้าภาควิชาและศาสตราจารย์ด้านการสื่อสารและสื่อใหม่ประจำมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ กล่าว "การเปิดตัวกรอบงานเพื่อบ่งชี้ความเป็นอยู่เชิงดิจิทัลที่ดีและแพลตฟอร์ม Living Well Digitally นี้จะมอบเครื่องมือที่ช่วยให้บุคคล นักสังคมสงเคราะห์ นักการศึกษา บริษัทเทคโนโลยี และผู้กำหนดนโยบายสามารถสนับสนุนให้ทุกคน 'มีชีวิตเชิงดิจิทัลที่ดี' ในโลกแห่งดิจิทัล"
นอกจากนี้ คุณราฮายู มาฮ์ซาม (Rahayu Mahzam) แขกผู้ทรงเกียรติ เลขาธิการรัฐสภาอาวุโสประจำกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงกฎหมาย ยังได้ขึ้นกล่าวปาฐกถาพิเศษโดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของสุขภาพดิจิทัลและการใช้เทคโนโลยีอย่างมีสติสำหรับผู้คนจากทุกภูมิหลัง โดยระบุว่า "ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ปกครอง เป็นนักการศึกษา หรือเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยี สิ่งสำคัญคือการพิจารณาแนวทางและความสัมพันธ์ของเราที่มีต่อเทคโนโลยีอย่างรอบคอบ"
คุณราฮายู มาฮ์ซาม กล่าวเสริมว่า "เราหวังว่าชุดเครื่องมือนี้จะต่อยอดทรัพยากรที่หลากหลายของโครงการดิจิทัลฟอร์ไลฟ์ เพื่อมอบความรู้ การมีส่วนร่วม และสนับสนุนคนสิงคโปร์ในการเสริมสร้างความเป็นอยู่และความยืดหยุ่นทางดิจิทัลของพวกเขา"
ในระหว่างงาน ทีมวิจัยยังได้เปิดตัวเว็บไซต์โครงการ Living Well Digitally และจัดแสดงเครื่องมือประเมินความเป็นอยู่เชิงดิจิทัลที่ดีที่ขับเคลื่อนโดยดีคิว หรือ "พาวเวอร์ดบายดีคิว" (Powered by DQ) ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความไว้วางใจ ความน่าเชื่อถือและความสามารถในการสร้างความเปลี่ยนแปลงตามมาตรฐานระดับโลก IEEE DQ (IEEE 3527.1TM) มอบกรอบการทำงานของศูนย์อินเทอร์เน็ตและชุมชนที่เชื่อถือได้แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ พร้อมด้วยเครื่องมือวัดความเปลี่ยนแปลงเพื่อระบุจุดแข็งและจุดอ่อน นำไปสู่ข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปปฏิบัติได้และการพัฒนาโครงการริเริ่มเพิ่มเติม
ดร.ยูฮยอน พัค ผู้ก่อตั้งสถาบันดีคิว กล่าวว่า "สถาบันดีคิวเป็นเกียรติที่ได้ร่วมมือในโครงการริเริ่มระดับโลกที่สำคัญนี้ ซึ่งมุ่งเป้าไปที่การทำความเข้าใจและการยกระดับความเป็นอยู่เชิงดิจิทัลที่ดีในยุคที่การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอก้าวล้ำกว่าที่เคยเป็นมา ในขณะที่เอไอยังคงส่งผลต่อผู้คนอย่างต่อเนื่องนี้ ความมุ่งมั่นของทีมวิจัยจากศูนย์อินเทอร์เน็ตและชุมชนที่เชื่อถือได้แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ จะนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่นำไปปฏิบัติได้จริงและขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก โครงการริเริ่มที่สำคัญนี้จะช่วยให้ชุมชนมีเครื่องมือและความรู้ที่จำเป็นในการสำรวจความเสี่ยงและโอกาสที่มาพร้อมกับเอไอ สร้างความมั่นใจในแนวทางที่สมดุลมากขึ้นเพื่อความเป็นอยู่เชิงดิจิทัลที่ดี"
เกี่ยวกับ ศูนย์อินเทอร์เน็ตและชุมชนที่เชื่อถือได้แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์:
ศูนย์อินเทอร์เน็ตและชุมชนที่เชื่อถือได้แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS-CTIC) ทุ่มเทให้กับการศึกษาแบบสหวิทยาการเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและผลกระทบของอินเทอร์เน็ตต่อสังคมแห่งอนาคต โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อบูรณาการการวิจัยทางสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีดิจิทัล แนวทางที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล และการศึกษานโยบายเพื่อสำรวจอินเทอร์เน็ตและผลกระทบทางสังคมแบบองค์รวม เรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของศูนย์ฯ: https://ctic.nus.edu.sg/
สื่อมวลชนกรุณาติดต่อ:
เวนดี โพห์ หวาน หลี่ (Wendy Poh Wan Li)
wendy.p@nus.edu.sg
เกี่ยวกับ สถาบันดีคิว:
สถาบันดีคิว (DQ Institute หรือ DQI) เป็นสถาบันวิจัยระดับนานาชาติที่อุทิศตนเพื่อสร้างมาตรฐานระดับโลกด้านความฉลาดทางดิจิทัล รับประกันความปลอดภัย เสริมศักยภาพ และสร้างความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับบุคคล องค์กร และประเทศต่าง ๆ ในยุคดิจิทัล กรอบงานของสถาบันดีคิวได้รับการยอมรับให้เป็นมาตรฐานระดับโลกด้านความรู้ ทักษะ และความพร้อมด้านดิจิทัล (IEEE 3527.1-2020) สถาบันดีคิวดำเนินงานในฐานะองค์กร 501(c)(3) ในสหรัฐอเมริกา และเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรในสิงคโปร์ เรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของสถาบันฯ: https://dqinstitute.org
สื่อมวลชนกรุณาติดต่อ:
เอริส เซียห์ (Eris Seah)
eris@dqinstitute.org
โทรศัพท์: +65 9396 9200
รูปภาพ - https://mma.prnasia.com/media2/2391338/DQ_Institute_1.jpg?p=medium600
อินโฟกราฟิก - https://mma.prnasia.com/media2/2391339/DQ_Institute_2.jpg?p=medium600