สิงคโปร์, 3 มิถุนายน 2567/พีอาร์นิวส์ไวร์/ -- คุณโจเซฟีน เตียว (Josephine Teo) รัฐมนตรีกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศแห่งสิงคโปร์ เปิดตัว AI Verify- Project Moonshot ชุดเครื่องมือทดสอบที่ใช้งานง่าย ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ความปลอดภัยและความมั่นคงที่มักเกี่ยวข้องกับการใช้โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของโซลูชันจำนวนมากที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) ชุดเครื่องมือดังกล่าวเป็นหนึ่งในเครื่องมือโอเพนซอร์สแรก ๆ ของโลกที่นำเอาการจำลองการโจมตี (red-teaming) การเปรียบเทียบมาตรฐาน และการทดสอบพื้นฐานมารวมกันในแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่าย ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นของสิงคโปร์ในการใช้ประโยชน์จากพลังของชุมชนโอเพนซอร์สระดับโลกในการรับมือความเสี่ยงด้าน AI
Project Moonshot เป็นเวอร์ชันเบต้าแบบเปิด โดยมุ่งหวังที่จะมอบผลที่ใช้งานง่ายในด้านคุณภาพและความปลอดภัยของโมเดลหรือแอปพลิเคชันในลักษณะที่เข้าใจง่าย แม้สำหรับผู้ใช้ที่ไม่เชี่ยวชาญด้านเทคนิคก็ตาม โดยได้รับการพัฒนาผ่านการทำงานร่วมกับพันธมิตรต่าง ๆ เช่น DataRobot, IBM, Singtel และ Temasek เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องมือนี้มีประโยชน์และสอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม
Project Moonshot ยังเป็นส่วนหนึ่งของก้าวสำคัญสู่มาตรฐานการทดสอบระดับโลก องค์กรทดสอบ AI ชั้นนำสองแห่ง ได้แก่ มูลนิธิตรวจสอบปัญญาประดิษฐ์ (AI Verify Foundation หรือ AIVF) และ MLCommons ได้ลงนามในบันทึกแสดงเจตจำนง (MOI) เพื่อร่วมมือกันสร้างชุดมาตรฐานความปลอดภัยร่วมกัน
AI Verify Foundation ฉลองครบรอบหนึ่งปี
มูลนิธิตรวจสอบปัญญาประดิษฐ์ (AI Verify Foundation หรือ AIVF) ซึ่งมีเป้าหมายใช้ประโยชน์จากพลังของความเชี่ยวชาญร่วมกันในการทำให้สามารถใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบ ได้ฉลองครบรอบปีแรกที่งาน ATxSG โดยมูลนิธิมีจำนวนสมาชิกเพิ่มสองเท่ากว่า 120 ราย โดยมี Amazon Web Services (AWS) และ Dell เข้าร่วมเป็นสมาชิกระดับพรีเมียร์รายใหม่ นอกจากนี้ ยังขยายขอบเขตการดำเนินการจากเครื่องมือทดสอบ AI ไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยของ AI ที่เสริมสร้างความไว้วางใจ เช่นโมเดลกรอบการกำกับดูแล AI สำหรับ Generative AI (ปัญญาประดิษฐ์เชิงกำเนิด) การทำแมปการตรวจสอบปัญญาประดิษฐ์ (AI Verify) กับมาตรฐาน ISO 42001 รวมถึงการบูรณาการ AI Verify เข้ากับชุดเครื่องมือ Veritas ของ MAS ด้วย
การสนับสนุนสตรีในวงการเทคโนโลยีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นอกจากนี้ รัฐมนตรีเตียว ได้เผยข้อค้นพบจากรายงานร่วมระหว่าง IMDA และ Boston Consulting Group (BCG) ในหัวข้อ Closing Tech's Gender Gap in Southeast Asia (ปิดช่องว่างทางเพศในวงการเทคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ที่ได้สำรวจผู้คนมากกว่า 4,000 คนจากสิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม โดยรายงานระบุว่า แม้ว่าการสนับสนุนผู้หญิงในภาคส่วนต่าง ๆ ทั่วทั้งภูมิภาคจะมีความก้าวหน้ามากขึ้น แต่ยังสามารถทำสิ่งต่าง ๆ เพิ่มเติมได้อีกมากเพื่อพัฒนาเป็นตัวแทนของผู้หญิงในบทบาทในวงการเทคโนโลยีและความเป็นผู้นำ
รัฐมนตรีเตียวได้เน้นย้ำความมุ่งมั่นของสิงคโปร์ในการส่งเสริมและสนับสนุนสตรีในวงการเทคโนโลยีด้วยโครงการริเริ่มต่าง ๆ เช่น ขบวนการ SG Women in Tech (SGWIT) และรายชื่อ Singapore 100 Women in Tech (100 สาววงการเทคโนโลยีในสิงคโปร์) ซึ่งระบุและยกย่องผู้ที่ให้คำปรึกษาและเป็นแบบอย่างในการช่วยเหลือสตรีในการเป็นผู้นำ และ TechSkills Accelerator (TeSA) ซึ่งช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญได้รับทักษะที่เป็นที่ต้องการ รวมถึงการช่วยให้ผู้หญิงกลับมารับบทบาทในวงการเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้นหลังจากพักงาน โครงการริเริ่มดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญพร้อมกับที่สิงคโปร์ยังคงเป็นผู้นำในการเป็นตัวแทนของผู้หญิงในวงการเทคโนโลยีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป
ติดต่อ: atxsg.imda@omnicomprgroup.com