omniture

หัวเว่ยคว้ารางวัล Digital with Purpose Award จากโซลูชันเพื่อคุ้มครองปลาแซลมอนในนอร์เวย์

Huawei
2024-07-13 02:40 49

คาสไคส์, โปรตุเกส, 12 กรกฎาคม 2567 /PRNewswire/ -- หัวเว่ย (Huawei) ได้รับรางวัล GeSI Digital with Purpose (DWP) Award ประจำปี 2567 และ DWP Biodiversity Award ประจำปี 2567 เมื่อวานนี้ จากระบบกรองอัตโนมัติที่ออกแบบมาเพื่อคุ้มครองปลาแซลมอนแอตแลนติกจากแหล่งธรรมชาติในนอร์เวย์

จากการพัฒนาภายใต้โครงการริเริ่ม TECH4ALL ของหัวเว่ยร่วมกับพันธมิตรในท้องถิ่นอย่าง Berlevåg Hunter and Fishermen's Association (BJFF), Simula Consulting และ Troll Systems โซลูชันที่ได้รับรางวัลนี้สามารถจดจำชนิดปลาที่แตกต่างกันได้และกรองแยกปลาแซลมอนสีชมพู ซึ่งเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานโดยไม่ใช่ชนิดพันธุ์พื้นเมืองในแม่น้ำนอร์เวย์ และส่งผลเสียหายต่อปลาแซลมอนพันธุ์พื้นเมืองอย่างมาก

"การมอบรางวัลใหญ่ให้กับโซลูชันที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ของหัวเว่ยเพื่อคัดกรองปลาแซลมอนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานนั้น เป็นมติเอกฉันท์จากกรรมการทุกคน ไม่เพียงแค่เพราะนวัตกรรมที่ใช้ แต่ยังเพราะสามารถบรรลุผลสำเร็จได้ในระยะเวลาอันสั้น ระบบนี้เป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นวิธีที่โซลูชันด้านเทคโนโลยีให้ประสิทธิภาพเพื่อช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลกและการอนุรักษ์ระบบนิเวศ" Luís Neves ซีอีโอของ Global Enabling Sustainability Initiative (GeSI) กล่าว

Huawei receives the DWP Award at the Digital with Purpose Global Summit 2024
Huawei receives the DWP Award at the Digital with Purpose Global Summit 2024

"หัวเว่ยให้ความมุ่งมั่นดำเนินโครงการริเริ่ม Digital with Purpose ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2564 โดยสัญญาว่าจะสร้างขั้นตอนที่นำไปปฏิบัติได้จริงและสร้างความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพื่อเป็นธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเป้าหมายที่สร้างผลกระทบที่เป็นประโยชน์ให้แก่สังคมและโลกของเรา" Joyce Liu ผู้อำนวยการ TECH4ALL Program Office ที่หัวเว่ยกล่าว "เทคโนโลยีและความร่วมมือที่ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์ต่อโลกของเราเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติด้วย"

ปลาแซลมอนแอตแลนติกจากแหล่งธรรมชาติเป็นส่วนสำคัญของเอกลักษณ์ วัฒนธรรม และเศรษฐกิจของนอร์เวย์ ที่ได้ยอมรับว่ามีความจำเป็นที่ต้องแก้ไขปัญหาชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานนี้อย่างเร่งด่วนในระดับประเทศ

ปลาแซลมอนสีชมพูที่ถูกนำเข้าไปในแม่น้ำที่ติดชายแดนนอร์เวย์ในช่วงปี 2503 - 2512 มีวงจรการขยายพันธุ์ที่รวดเร็วทำให้เกิดจำนวนชนิดพันธุ์รุกรานเพิ่มมากขึ้นในระบบแม่น้ำของนอร์เวย์ปีเว้นปี ที่เป็นส่วนหนึ่งของวงจรการวางไข่ทุก ๆ สองปี พวกมันจะแข่งแย่งอาหารกับปลาแซลมอนพันธุ์พื้นเมืองอย่างรุนแรง นำเชื้อโรคเข้ามา และเพิ่มปริมาณไนโตรเจนในแม่น้ำเมื่อปลาเหล่านี้ตายและเน่าเปื่อย ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตในน้ำอื่น ๆ ตายไปด้วย

หลังจากที่หัวเว่ยและพันธมิตรใช้เวลาพัฒนาเป็นระยะสองปี โซลูชันนี้ก็ถูกนำไปใช้ในโครงการนำร่องในแม่น้ำ Kongsfjord และ Storelva ของนอร์เวย์ในปี 2566 โดยสามารถป้องกันไม่ให้ปลาแซลมอนสีชมพูกว่า 6,000 ตัวเข้าไปในแม่น้ำทั้งสองสายในช่วงฤดูการขยายพันธุ์เมื่อปีที่แล้วได้สำเร็จ

"กับดักนี้ได้รับการพัฒนาและทดสอบผ่านหลายช่วงฤดู และเรามั่นใจว่าโซลูชันที่ใช้ AI ของเราคือสูตรความสำเร็จในอนาคต ในจำนวนการระบุตัวหลายพันครั้งที่เราทำได้เมื่อปีที่แล้ว เราสามารถระบุชี้และจับปลาแซลมอนสีชมพูได้ 100% และมีอัตราการระบุตัวโดยรวมที่ 99.98" Geir Kristiansen ผู้จัดการทั่วไปของ BJFF กล่าว

วิธีการทำงานของโซลูชัน

โซลูชันกรองแบบอัตโนมัตินี้ ประกอบด้วยอุโมงค์ที่ขวางแม่น้ำ กล้องใต้น้ำ ประตูอัตโนมัติ และอัลกอริธึม AI ที่ได้รับการฝึกฝนเพื่อจดจำชนิดพันธุ์ที่แตกต่างกันของปลา เมื่อระบบจำได้ว่าเป็นปลาแซลมอนสีชมพู ประตูก็จะปิดและเบี่ยงทางให้ปลาว่ายไปที่ถังเก็บ ส่วนปลาแซลมอนแอตแลนติกจากแหล่งธรรมชาติและชนิดพันธุ์พื้นเมืองอื่น ๆ ประตูจะเปิดเพื่อให้ปลาว่ายน้ำขึ้นไปสืบพันธุ์วางไข่ได้สำเร็จ

The automated gate opens to let wild Atlantic salmon through and divert pink salmon into a holding tank
The automated gate opens to let wild Atlantic salmon through and divert pink salmon into a holding tank

ก่อนหน้านี้ อาสาสมัครต้องค้นหาปลาแซลมอนสีชมพูด้วยสายตาและจับด้วยมือ ซึ่งเป็นงานที่ใช้เวลาและแรงงานมาก มีความผิดพลาดสูง และส่งผลให้ปลาได้รับบาดเจ็บหรือตายเฉลี่ย 30% ในทางกลับกัน โซลูชันอัตโนมัตินี้สามารถลดจำนวนแรงงานที่ต้องใช้ลงได้ 90% และปลาทุกตัวปลอดภัย

ในโครงการนำร่องที่แม่น้ำ Kongsfjord ระบบกรองดังกล่าวจะใช้พลังงานแสงอาทิตย์และเชื่อมต่อด้วย 5G เนื่องจากสถานที่แห่งนี้ไม่มีแหล่งพลังงานหรือเครือข่ายเชื่อมต่อ ความสำเร็จของโครงการนำร่องเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าจะสามารถขยายการใช้งานโซลูชันนี้ไปยังระบบแม่น้ำทุกสายของนอร์เวย์ได้ รวมถึงสถานที่ที่ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น

รางวัล GeSI Digital with Purpose Global Award มีเป้าหมายเพื่อยกย่องและเน้นให้เห็นโซลูชันดิจิทัลที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ลดความยากจน เพิ่มการเปิดรับทุกกลุ่มให้เข้าร่วมอย่างหลากหลาย และปกป้องธรรมชาติอย่างสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ภายในปี 2573 ของสหประชาชาติ และแนวคิด Half-Earth

เกี่ยวกับ TECH4ALL 

TECH4ALL เป็นแผนปฏิบัติการและโครงการริเริ่มเพื่อการไม่แบ่งแยกทางดิจิทัลระยะยาวของหัวเว่ย ด้วยการสนับสนุนโดยเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมและความร่วมมือ TECH4ALL ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการรวมทุกฝ่ายอย่างไม่แบ่งแยกและความยั่งยืนในโลกดิจิทัล

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ TECH4ALL ของหัวเว่ยที่ https://www.huawei.com/en/tech4all

ติดตามเราบนเอ็กซ์ (X) ได้ที่ https://x.com/HUAWEI_TECH4ALL

 

 

Source: Huawei
Keywords: Computer/Electronics Environmental Products & Services Animal Welfare Awards Corporate Social Responsibility New products/services Artificial Intelligence
Related News