งานวิจัยยืนยันประสิทธิภาพในการควบคุมมะเร็งตับขนาดใหญ่ ช่วยยืดอายุผู้ป่วยได้เป็นเท่าตัว
ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Radiation Oncology
เถาหยวน, 13 ส.ค. 2567 /PRNewswire/ -- ในยุคที่มะเร็งกำลังคุกคามชีวิตผู้คนมากขึ้นเรื่อย ๆ โปรตอนบำบัดได้ก้าวขึ้นมาเป็นความหวังใหม่ในการต่อสู้กับโรคร้ายนี้ โดยโรงพยาบาลแห่งแรกในไต้หวันที่นำเทคโนโลยีโปรตอนบำบัดมาใช้อย่าง Chang Gung Memorial Hospital, Linkou ได้ให้การรักษาผู้ป่วยมะเร็งไปแล้วกว่า 5,000 ราย ด้วยผลลัพธ์ที่น่าประทับใจ และในการศึกษาวิจัยคู่ขนานนั้น ทีมแพทย์ของทางโรงพยาบาลพบว่าผู้ป่วยมะเร็งตับที่ได้รับการรักษาด้วยโปรตอนบำบัดมีการควบคุมก้อนมะเร็งที่ดีขึ้น และมีระยะเวลาการอยู่รอดเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เมื่อเทียบกับการฉายรังสีเอกซ์แบบดั้งเดิม โดยมีผลข้างเคียงน้อยกว่า ผลการวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำระดับนานาชาติในสาขารังสีรักษาอย่าง International Journal of Radiation Oncology, Biology, Physics ฉบับเดือนมีนาคม 2567
Proton therapy treats a variety of cancers, including brain tumors, nasopharyngeal carcinoma, lung, breast, and liver cancers. It targets tumors with precision, minimizing damage to surrounding healthy tissue compared to conventional X-ray radiation therapy. This method reduces radiation-induced side effects and is particularly effective in treating extensive liver cancers, enhancing patients' survival prospects. (Courtesy of Chang Gung Memorial Hospital, Linkou)
คณะแพทย์ผู้ร่วมโครงการอธิบายว่า โปรตอนบำบัดทำงานเหมือน "การผ่าตัดแบบเฉพาะเจาะจง" ลึกเข้าไปในร่างกาย โดยปลดปล่อยพลังงานรังสีอย่างเข้มข้นเฉพาะเมื่อลำโปรตอนเข้าถึงก้อนมะเร็งเป้าหมายเท่านั้น ทำลายเซลล์มะเร็งได้อย่างแม่นยำ พร้อมทั้งลดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อปกติโดยรอบให้น้อยที่สุดและลดผลข้างเคียงด้วย ความแม่นยำสูงนี้แตกต่างอย่างชัดเจนจากการฉายรังสีเอกซ์แบบเดิม ซึ่งมักส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อข้างเคียงมากกว่า โปรตอนบำบัดมีความสามารถในการเพิ่มปริมาณรังสีได้อย่างปลอดภัย จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาและรักษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไว้ได้ดียิ่งขึ้น
ทางโรงพยาบาลได้ทำการศึกษาติดตามผลเป็นเวลา 4 ปีในผู้ป่วยมะเร็งตับระยะลุกลาม 159 ราย ที่ได้รับการรักษาด้วยโปรตอนบำบัดหรือการฉายรังสีเอกซ์แบบดั้งเดิม ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า อัตราการควบคุมก้อนมะเร็งเฉพาะที่ในระยะเวลา 2 ปีของกลุ่มที่ได้รับโปรตอนบำบัดอยู่ที่ 89% ซึ่งสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการฉายรังสีเอกซ์ที่ 34% อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ค่ามัธยฐานของระยะเวลาการมีชีวิตรอดในกลุ่มที่ได้รับโปรตอนบำบัดอยู่ที่ 19 เดือน ซึ่งมากกว่าเท่าตัวเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการฉายรังสีเอกซ์แบบดั้งเดิมที่ 8 เดือน และที่สำคัญไปกว่านั้น อัตราการเกิดภาวะตับวาย เลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน หรือภาวะลิมโฟไซต์น้อยในระดับรุนแรงในกลุ่มที่ได้รับโปรตอนบำบัดนั้น ก็พบน้อยกว่าอีกกลุ่มด้วยเช่นกัน
แม้จะมีงานวิจัยมากมายที่ยืนยันประสิทธิภาพของโปรตอนบำบัด แต่การศึกษาขนาดใหญ่เกี่ยวกับประสิทธิผลในการรักษามะเร็งขนาดใหญ่กว่า 5 ซม. หรือมะเร็งตับขนาดใหญ่ที่เคยรักษายากนั้น ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม โดยโรงพยาบาล Chang Gung Memorial Hospital, Linkou ขอแนะนำให้ผู้ป่วยปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียดก่อนเริ่มการรักษา เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับการดูแลที่เหมาะสมที่สุด
ทั้งนี้ โรงพยาบาล Chang Gung Memorial Hospital, Linkou เป็นศูนย์รังสีโปรตอนบำบัดที่ใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ในเอเชีย โดยมีผู้ป่วยมารับการรักษาจากกว่า 30 ประเทศ รวมถึงมาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ทางโรงพยาบาลมีศูนย์การแพทย์นานาชาติ ที่ให้บริการปรึกษาทางการแพทย์โดยผู้เชี่ยวชาญ การขอความเห็นที่สอง การจัดการด้านการแพทย์ และบริการทางการแพทย์แบบสหสาขาวิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัด เคมีบำบัด ภูมิคุ้มกันบำบัด และการปรับสมดุลร่างกายด้วยการแพทย์แผนจีน เพื่อมอบการดูแลแบบองค์รวมให้กับผู้ป่วยมะเร็ง
ติดต่อ: IMC CGMH, isc@cgmh.org.tw