omniture

หัวเว่ยและพันธมิตรทดสอบโซลูชันตรวจจับไฟป่ารุ่นใหม่ในกรีซอย่างประสบความสำเร็จ

Huawei
2024-09-04 23:14 19

เอเธนส์, กรีซ, 4 กันยายน 2567 /PRNewswire/ -- หัวเว่ย (Huawei) และพันธมิตรอันได้แก่ มหาวิทยาลัย National and Kapodistrian University of Athens (NKUA) และบริษัทสตาร์ตอัป PROBOTEK ได้ทดสอบระบบป้องกันไฟป่ารุ่นใหม่ในกรีซอย่างประสบความสำเร็จ

The system sends evacuation routes to residents' phones via an app
The system sends evacuation routes to residents' phones via an app

โดยพันธมิตรได้ทดสอบระบบตรวจจับแบบเรียลไทม์ด้วยใช้การจำลองการเกิดควันและไฟ โดยโซลูชันนี้พัฒนาขึ้นภายใต้โครงการริเริ่ม TECH4ALL ของหัวเว่ย และจะช่วยให้หน่วยงานฉุกเฉินดำเนินการตอบสนองต่อสถานการณ์ไฟป่าที่อาจเกิดขึ้นได้ภายใน 15 นาที ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สามารถควบคุมความเสี่ยงที่จะเกิดอัคคีภัยได้ดีที่สุด

"ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้นำเทคโนโลยีชั้นนำเข้ามาใช้ในกรีซ ด้วยความเชื่อมั่นในพลังของนวัตกรรมเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ และช่วยรับรองความปลอดภัยให้แก่ประชาชนและทรัพย์สิน" Ren Fujun ซีอีโอประจำภูมิภาคยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ของหัวเว่ยกล่าว

แผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะของกรีซมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดไฟป่าลุกลามขนาดใหญ่ เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อน แห้ง และลมแรงในช่วงฤดูร้อน ประกอบกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จำนวนและความถี่ของการเกิดเหตุไฟป่าในกรีซจึงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี และส่งผลกระทบรุนแรงที่อาจคงอยู่ถาวรต่อระบบนิเวศธรรมชาติ และเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อชีวิตมนุษย์และความเสียหายต่อทรัพย์สิน

NKUA และ PROBOTEK ได้ดำเนินการทดสอบจำลองการเกิดควันและไฟภายในบริเวณของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ป่าของกรุงเอเธนส์ อุปกรณ์เซ็นเซอร์ในป่าที่ถูกเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีเครือข่ายของหัวเว่ย ได้ทำการแจ้งเตือนไปยังศูนย์ควบคุมเพื่อนำโดรนขับเคลื่อนโดยอัตโนมัติเข้าสู่พื้นที่ทดสอบทันที

ด้วยการใช้วิดีโอที่โดรนถ่ายทอดประกอบกับข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาและธรณีสัณฐานวิทยา การวิเคราะห์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) จึงสามารถระบุชี้การเกิดไฟและควันได้แบบเรียลไทม์ และพยากรณ์ข้อมูลดังต่อไปนี้

  • เส้นทางและพื้นที่ที่ไฟจะลุกลาม
  • ระยะเวลาที่ไฟจะลุกลามไปถึงพื้นที่อยู่อาศัย
  • พื้นที่ที่เสี่ยงต่ออันตรายจากไฟและจำเป็นต้องอพยพ
  • ข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางการอพยพ

ระบบตอบสนองฉุกเฉินนี้ประกอบด้วยศูนย์ควบคุมที่ใช้ AI ซึ่งเชื่อมโยงเครือข่ายกับโดรนที่เชื่อมต่อผ่าน 5G และอุปกรณ์เซ็นเซอร์ที่ตรวจจับอนุภาคในอากาศ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) อุณหภูมิ ทิศทางและความเร็วของลม

ในระยะแรกของโซลูชันนี้ซึ่งเปิดตัวในปี 2565 ที่ Syggrou Estate ใกล้กรุงเอเธนส์ ใช้โดรนและ AI ในการตรวจจับการเกิดไฟไหม้ ส่วนโซลูชันใหม่ได้ขยายความสามารถการทำงานของระบบเพื่อให้สามารถวิเคราะห์การลุกลามของไฟ การวางแผนอพยพ และการวางแผนเส้นทางให้แก่รถดับเพลิงและรถพยาบาลได้ นอกจากนี้ยังสามารถประเมินจำนวนผู้คนในพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากการเกิดไฟไหม้ และส่งการแจ้งเตือนแบบเจาะจงเฉพาะบุคคลผ่านแอปไปยังโทรศัพท์ของผู้อยู่อาศัย เพื่อแนะนำเส้นทางอพยพตามแผนการคุ้มครองพลเรือนของเทศบาล

โดยรวม โซลูชันนี้ช่วยมอบเกณฑ์วิธีการอพยพยามเกิดเหตุฉุกเฉิน ซึ่งจะช่วยชีวิตและบรรเทาความเสียหายครั้งใหญ่ต่อที่ดินและทรัพย์สินที่มักจะเกิดขึ้นจากไฟป่า

การสาธิตโซลูชันดังกล่าวในสถานการณ์จริงได้ถูกนำเสนอใน Connecting with Nature ซึ่งเป็นตอนที่ 3 ของสารคดี "Being Digi-Sapiens" ของช่อง Discovery โดยแสดงให้เห็นถึงความแม่นยำของระบบผ่านประสบการณ์ตรง รวมถึงวิธีที่เซ็นเซอร์ทำงานและการนำโดรนไปใช้ดำเนินการ

เกี่ยวกับ TECH4ALL ของหัวเว่ย

TECH4ALL เป็นโครงการริเริ่มเพื่อการไม่แบ่งแยกทางดิจิทัลระยะยาวของหัวเว่ย โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้เกิดความยั่งยืนและทำให้ทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงโลกดิจิทัลได้อย่างไม่แบ่งแยก

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ TECH4ALL ของหัวเว่ยที่ https://www.huawei.com/en/tech4all

ติดตามเราบนเอ็กซ์ (X) ได้ที่

https://twitter.com/HUAWEI_TECH4ALL 

 

Source: Huawei
Keywords: Computer Networks Computer/Electronics Internet Technology Telecommunications Telecommunications Equipment Environmental Issues New products/services Artificial Intelligence
Related News