omniture

FETC International Thailand จัดงานสัมมนา "Smart Mobility" ในงาน iCHE 2024 ชูประเด็นด้านการคมนาคมและขนส่งอัจฉริยะ รวมถึงระบบเก็บค่าผ่านทาง M-Flow

FETC International
2024-09-25 10:32 12

กรุงเทพฯ, 25 กันยายน 2567 /PRNewswire/ -- FETC International Thailand เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติวิศวกรรมงานทาง ครั้งที่ 5 (5th International Conference on Highway Engineering 2024 หรือ iCHE2024) ที่กรุงเทพฯ ในเดือนกันยายน โดยบริษัทฯ ได้จัดงานสัมมนาหัวข้อ "Smart Mobility" (การคมนาคมและขนส่งอัจฉริยะ) เพื่อแบ่งปันความสำเร็จในการพัฒนาระบบเก็บค่าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETC) จากทั่วโลก นอกจากนี้ FETC International Thailand ยังได้รับเชิญจากกรมทางหลวงแห่งประเทศไทยให้เป็นผู้สนับสนุนหลักในการหารือเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีการขนส่ง

เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา: คุณเคนนี่ เฉิน (Mr.Kenny Chen) กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอฟอีทีซี อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด (FETC International Thailand), ดร.ธนศักดิ์ วงศ์ธนากิจเจริญ ผู้อำนวยการกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวง, ดร.ปิยพงษ์ จิวัฒนกุลไพศาล รองอธิบดีกรมทางหลวง, ศ.ดร.เอกชัย สุมาลี อาจารย์ประจำหลักสูตรสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.ต้องการ แก้วเฉลิมทอง ประธานสมาคมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะไทย (Thai ITS Association)
เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา: คุณเคนนี่ เฉิน (Mr.Kenny Chen) กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอฟอีทีซี อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด (FETC International Thailand), ดร.ธนศักดิ์ วงศ์ธนากิจเจริญ ผู้อำนวยการกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวง, ดร.ปิยพงษ์ จิวัฒนกุลไพศาล รองอธิบดีกรมทางหลวง, ศ.ดร.เอกชัย สุมาลี อาจารย์ประจำหลักสูตรสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.ต้องการ แก้วเฉลิมทอง ประธานสมาคมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะไทย (Thai ITS Association)

"เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของงาน iCHE 2024 และมีความยินดีที่ได้ต้อนรับแขกผู้มีเกียรติจากอุตสาหกรรมการขนส่งของประเทศไทย" คุณเคนนี่ เฉิน กรรมการผู้จัดการ FETC International Thailand กล่าว  "แขกผู้มีเกียรติของเราประกอบด้วยรองอธิบดีกรมทางหลวง ผู้อำนวยการกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง อาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานสมาคมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะไทย ซึ่งทุกท่านได้ร่วมแบ่งปันข้อมูลอันมีค่าเกี่ยวกับแนวทางที่ประเทศไทยนำระบบ M-Flow (Multi-Lane Free Flow) ซึ่งเป็นระบบเก็บค่าผ่านทางไร้ไม้กั้น มาใช้ในการแก้ไขปัญหาการจราจรที่คับคั่งบนท้องถนน"

ในระหว่างการสัมมนา คุณเคนนี่ได้เน้นย้ำถึงข้อดีของเทคโนโลยี M-Flow โดยระบุว่านอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทางหลวงแล้ว เทคโนโลยีนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอีกด้วย นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงแนวโน้มทั่วโลกในการนำเทคโนโลยี M-Flow มาใช้ร่วมกับแอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น การจดทะเบียนรถยนต์ การควบคุมบริเวณชายแดน และการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรถติด

ดร.ปิยะพงศ์ รองอธิบดีกรมทางหลวง ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการขนส่งอัจฉริยะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นศูนย์กลางสำคัญด้านการค้าของโลก โดยกล่าวถึงอนาคตของการขนส่งที่ต้องอาศัยการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างราบรื่น เช่น AI และ 5G ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์และการสร้างระบบขนส่งอัจฉริยะที่ยั่งยืน

ดร.ธนศักดิ์ ผู้อำนวยการกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ได้กล่าวถึงความท้าทายที่ประเทศไทยต้องเผชิญในการใช้ระบบเก็บค่าผ่านทาง โดยระบุว่า "ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการใช้ระบบเก็บค่าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยคงที่อยู่ที่ 30% ซึ่งส่วนใหญ่มาจากความไม่คุ้นเคยของประชาชนในการเติมเงินล่วงหน้า ส่งผลให้ต้องสร้างด่านเก็บเงินแบบมีไม้กั้น อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เริ่มใช้ระบบ M-Flow อัตราการใช้งานได้เพิ่มขึ้นเป็น 42% หรือเติบโตที่ 8% ต่อปี และคาดว่าภายในปี 2568 ทางหลวง 3 สาย และด่านเก็บเงิน 29 แห่งในประเทศไทยจะนำระบบ M-Flow มาใช้เต็มรูปแบบ"

ศ.ดร.เอกชัย จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เน้นย้ำถึงความท้าทายทางเทคนิคในการนำระบบเก็บค่าผ่านทางที่ขับเคลื่อนด้วย AI มาใช้ในประเทศไทย โดยระบุว่าระบบดังกล่าวจำเป็นต้องสามารถอ่านตัวอักษรและตัวเลขภาษาไทย รวมถึงชื่อจังหวัดบนป้ายทะเบียนรถได้อย่างแม่นยำ "เทคโนโลยี AI สามารถอ่านป้ายทะเบียนรถในประเทศไทยได้อย่างแม่นยำผ่านการพัฒนาและฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง แม้ว่า M-Flow จะได้รับการยอมรับในวงกว้างด้านความสะดวกรวดเร็ว แต่ยังคงต้องพัฒนาบริการและสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชนเพื่อผลักดันให้อัตราการใช้งานเพิ่มสูงขึ้น"

ดร.ต้องการ ประธานสมาคมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะไทย มองว่าระบบขนส่งอัจฉริยะ (ITS) เป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยกล่าวว่า "อนาคตของระบบขนส่งอัจฉริยะขึ้นอยู่กับนวัตกรรมต่าง ๆ เช่น การขับขี่แบบไร้คนขับ การจัดการจราจรแบบเรียลไทม์ และการบำรุงรักษาถนนและอุปกรณ์เชิงคาดการณ์ ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยี AI และ 5G ขณะเดียวกัน การปกป้องข้อมูลจะมีความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อให้มั่นใจว่าการพัฒนาเทคโนโลยีจะเป็นไปตามมาตรฐานทางจริยธรรม"

การเข้าร่วมของ FETC International Thailand ในงาน iCHE 2024  และบทบาทในการส่งเสริมการคมนาคมและขนส่งอัจฉริยะ สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของบริษัทในการนำนวัตกรรมมาใช้ในระบบขนส่งและการสร้างความร่วมมือใน    
ระดับโลก นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับรางวัล Taiwan Prime Award ด้านความก้าวหน้าในเทคโนโลยี AI เมื่อไม่นานมานี้อีกด้วย

Source: FETC International
Keywords: Auto Computer Software Computer/Electronics Transportation Trade show news