ปักกิ่ง 27 กันยายน 2567 /PRNewswire/ -- Fan Zaixuan ผู้เชี่ยวชาญด้านการบูรณะจิตรกรรมฝาผนัง ยังคงจดจำช่วงเวลาที่เขามาถึงถ้ำมั่วเกาครั้งแรกในเมืองตุนหวงในคืนวันที่ 31 มีนาคม 2524 ได้อย่างชัดเจน
"ผมได้ยินเพียงเสียงกระดิ่งลมจากตึกเก้าชั้นเท่านั้น ซึ่งเป็นเสียงที่ลึกลับมาก และทำให้ผมตื่นเต้นจนนอนไม่หลับทั้งคืน"
ถ้ำมั่วเกาเป็นแหล่งศิลปะถ้ำพุทธที่ใหญ่ที่สุดและได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดีที่สุดในโลก โดยประกอบด้วยถ้ำต่างๆ ถึง 735 ถ้ำที่ทอดยาวบนหน้าผาถึง 1,700 เมตร โดยมีภาพจิตรกรรมฝาผนังมากกว่า 45,000 ตารางเมตร และประติมากรรมหลากสีสันมากกว่า 2,000 ชิ้น
ปัจจุบัน Fan มีอายุได้ 60 กว่าปีแล้ว และได้ทำงานบูรณะภาพจิตรกรรมฝาผนังในถ้ำมั่วเกามานานกว่า 40 ปี "ถ้านับจนถึงตอนนี้ ผมได้บูรณะพื้นที่มากมาย ซึ่งน่าจะเทียบเท่ากับถ้ำขนาดใหญ่ในถ้ำมั่วเกาได้" เขาบอกกับ CGTN
Fan รู้ดีกว่าใครว่า การบูรณะงานศิลปะโบราณต้องอาศัยการทำงานอย่างต่อเนื่องและพิถีพิถันจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเขาได้พัฒนาทักษะของเขาผ่านความช่วยเหลือจากนักอนุรักษ์รุ่นก่อนหน้า เช่น Li Yunhe ที่มีอายุได้ 100 กว่าปีแล้ว
Li เป็นผู้บูรณะมรดกทางวัฒนธรรมเต็มเวลาคนแรกของสถาบันตุนหวง และเขาได้อุทิศตนให้งานนี้มาตั้งแต่ปี 2500
ในปัจจุบัน Fan ที่อยู่ในฐานะอาจารย์ ก็ได้การถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับเหล่าลูกศิษย์ของเขา โดยหวังว่าคนรุ่นใหม่จะสืบสาน "จิตวิญญาณแห่งมั่วเกา" ต่อไป
Dai Chuan หนึ่งในลูกศิษย์ของ Fan เป็นผู้ที่เกิดอยู่ในช่วงปี 2533 ทว่าเขาได้ใช้เวลากว่าทศวรรษเพื่อทำงานปกป้องภาพจิตรกรรมฝาผนังในถ้ำมั่วเกา "ผมเต็มใจที่จะอุทิศชีวิตของผมเพื่อสืบสานวัฒนธรรมของตุนหวงเช่นกัน" Dai กล่าวด้วยความมุ่งมั่น
ประธานาธิบดีจีน Xi Jinping ได้ไปเยือนถ้ำมั่วเกา ในฐานะจุดแวะแรกของการเดินทางตรวจสอบที่มณฑลกานซู่ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เมื่อเดือนสิงหาคม 2562
ที่ซึ่งเขาได้ชื่นชมวัฒนธรรมตุนหวงว่าเป็น "ไข่มุกอันเจิดจรัสในสายน้ำอันยาวไกลของอารยธรรมโลก ทั้งยังเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์อันล้ำค่าสำหรับการศึกษาด้านการเมือง เศรษฐกิจ การทหาร วัฒนธรรม และศิลปะของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในยุคจีนโบราณ"
ในช่วงปลายปี 2565 สถาบันได้รวบรวมข้อมูลดิจิทัลของถ้ำ 278 แห่ง ประมวลผลภาพถ้ำ 164 แห่ง และสร้างสามมิติของประติมากรรมทาสี 145 ชิ้น และซากปรักหักพัง 7 แห่งขึ้นใหม่ พร้อมทั้งจัดทำโปรแกรมทัวร์ชมถ้ำ 162 แห่งแบบพาโนรามา
"อนุรักษ์รากเหง้าของตน"
สุภาษิตจีนโบราณกล่าวไว้ว่า "สรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนมีกฎเกณฑ์ของการอยู่รอดและการพัฒนา แต่สรรพสิ่งก็ล้วนรู้จักวิธีรักษารากเหง้าของตน"
ประธานาธิบดี Xi ได้ตอกย้ำถึงความรู้สึกนี้ และมักจะเน้นย้ำถึงความสำคัญของการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมอยู่เสมอ เขาเชื่อว่าความยั่งยืนของอารยธรรมจีนเป็นผลมาจากความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับรากเหง้าของจีน "อารยธรรมจีนจึงเจริญเติบโตและเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงทุกวันนี้ เพราะเราไม่เคยลืมรากเหง้าของเรา"
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จีนได้ยกระดับระบบและนโยบายเพื่อปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมขึ้นอย่างมาก
ในช่วงปลายปี 2564 จีนมีโบราณวัตถุที่เคลื่อนย้ายได้ที่เป็นสมบัติของรัฐถึง 108 ล้านชุด และโบราณวัตถุที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ประมาณ 767,000 ชุด
ในปัจจุบัน ประเทศจีนมีแหล่งมรดกโลกของ UNESCO ถึง 59 แห่ง และจัดอยู่ในอันดับสองของโลก ทั้งยังมี 43 รายการที่อยู่ในรายชื่อมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของ UNESCO ซึ่งทำให้จีนเป็นประเทศที่มีรายการมรดกโลกมากที่สุด
Alliance for Cultural Heritage in Asia (ACHA) ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี 2566 โดยประเทศจีนและมีประเทศในเอเชียอีกกว่า 20 ประเทศมาเข้าร่วม เพื่อให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของเอเชีย การสืบทอด และการพัฒนาอารยธรรมเอเชียในรูปแบบต่างๆ
ประเทศจีนได้มีส่วนร่วมในโครงการโบราณคดีร่วม 33 โครงการใน 19 ประเทศในเอเชีย และมีส่วนร่วมในโครงการอนุรักษ์อนุสรณ์สถานประวัติศาสตร์ 11 แห่งใน 6 ประเทศในเอเชีย ภายใต้กรอบการทำงานของ ACHA
ทั้งนี้การจัดตั้ง ACHA ยังเป็นส่วนสำคัญของโครงการริเริ่ม Global Civilization ที่นำเสนอโดยประธานาธิบดี Xi ซึ่งเรียกร้องให้ผู้คนเคารพความหลากหลายของอารยธรรม สนับสนุนคุณค่าร่วมกันของมนุษยชาติ ให้คุณค่ากับการสืบทอดและการพัฒนาด้านอารยธรรม พร้อมกับส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือในหมู่ประชาชนระหว่างประเทศ
ในตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา จีนยังคงมุ่งมั่นและดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อส่งเสริมให้อารยธรรมต่างๆ ทั่วโลกอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน ทั้งยังได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือในด้านวัฒนธรรม มรดกทางวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวกับ 157 ประเทศอีกด้วย