ปักกิ่ง, 28 ต.ค. 2567 /PRNewswire/ -- รายงานข่าวโดย China.org.cn:
A model for China’s ecological development: Refreshing Guiyang, turning lush mountains and lucid waters into invaluable assets
ต้นแบบการพัฒนาเชิงนิเวศของจีน: กุ้ยหยาง เมืองสดชื่น เปลี่ยนขุนเขาเขียวขจีและสายน้ำใสสะอาดให้เป็นสินทรัพย์ล้ำค่า
https://youtu.be/vvTff9U_qOA
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เมืองกุ้ยหยางได้มุ่งพัฒนาเมืองโดยเน้นความกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ เมืองกุ้ยหยางยึดหลักการพัฒนาเชิงนิเวศ จนค่อย ๆ สร้างรูปแบบการพัฒนาใหม่ของอุตสาหกรรมสีเขียว ที่ผสมผสานระหว่างระบบนิเวศ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว พร้อมพัฒนาสภาพแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง
กุ้ยหยางเป็นที่รู้จักเพราะมีทิวทัศน์ธรรมชาติอันงดงาม ด้วยภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยเนินเขาสวยงามและภูเขาเขียวขจี จนได้รับการขนานนามว่าเป็น "เมืองแห่งการพักร้อน" และ "เมืองแห่งป่าไม้" โดยหลังจากที่ได้พัฒนาและอนุรักษ์มาหลายปี ปัจจุบันกุ้ยหยางเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในป่ามากถึง 3,657 ชนิด รวมถึงเหยี่ยวเคสเตรลและนกคู้ต
ในด้านวัฒนธรรมนั้น กุ้ยหยางเป็นแหล่งกำเนิด "ลัทธิหยางหมิง" อันทรงอิทธิพล โดยเมื่อ 500 ปีก่อน Wang Shouren (Wang Yangming) ผู้เป็นนักปราชญ์สมัยราชวงศ์หมิง ได้พัฒนาแนวคิดของท่านที่ดินแดนหลงฉางของเมืองกุ้ยหยาง ซึ่งตลอดหลายปีที่ผ่านมา กุ้ยหยางได้มุ่งมั่นพัฒนาตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพสูงที่เน้นความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนต่ำ สอดรับกับหลักการ "การบูรณาการความรู้และการปฏิบัติ" ตามลัทธิหยางหมิง
แนวคิดนี้สะท้อนให้เห็นในการพัฒนาการท่องเที่ยวของกุ้ยหยางด้วย โดยเมื่อได้มาเยือนกุ้ยหยางแล้ว ผู้มาเยือนจะได้สัมผัสประสบการณ์สุดประทับใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการตื่นขึ้นมาในโรงแรมสไตล์จีนที่มีกระเบื้องดำและผนังขาว เมื่อก้าวออกมาก็จะพบกับตลาดสุดคึกคัก ได้กลิ่นหอมของอาหารรสเลิศ อย่างซุปปลารสเปรี้ยวและลูกชิ้นเต้าหู้ และหาก "เดินเล่นในเมือง" สักหน่อย ก็จะได้ยินทำนองเพลงไพเราะจาก "การแสดงดนตรีข้างถนน" ที่กำลังเป็นที่นิยม
เมื่อไม่นานมานี้ จีนได้เผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับแนวทางเร่งการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างครอบคลุมทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกภาคส่วนและทุกพื้นที่ กุ้ยหยางเป็นเพียงหนึ่งในผู้บุกเบิกบนเส้นทางนี้ โดยพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับด้านอื่น ๆ ภายใต้แนวทางการอนุรักษ์ระบบนิเวศ
ด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่และความพยายามอย่างจริงจัง กุ้ยหยางได้เปลี่ยนข้อได้เปรียบทางธรรมชาติให้กลายเป็นจุดแข็งในการพัฒนา โดยผลงานในการพัฒนาเมืองแห่งนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่า เราสามารถเปลี่ยนขุนเขาเขียวขจีและสายน้ำใสสะอาดให้เป็นสินทรัพย์ล้ำค่าได้อย่างไร และจะสร้างความกลมกลืนระหว่างการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจคุณภาพสูง รวมถึงความกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติได้อย่างไร