เครือข่ายความร่วมมือ Riyadh Global Drought Resilience Partnership จะเปลี่ยนแนวทางการตอบสนองต่อปัญหาภัยแล้งทั่วโลกจากการแก้ปัญหาแบบรับมือไปสู่การเตรียมพร้อมเชิงรุก
ริยาด, ซาอุดีอาระเบีย, 3 ธันวาคม 2567 /PRNewswire/ -- ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียและพันธมิตรได้เปิดตัว Riyadh Global Drought Resilience Partnership (เครือข่ายความร่วมมือระดับโลกเพื่อรับมือภัยแล้งของริยาด) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอย่างต่อเนื่องของซาอุดีอาระเบียเพื่อต่อสู้กับผลกระทบของภัยแล้งทั่วโลก ในวันเปิดงานการประชุมสมัยที่ 16 ของการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย (COP16 UNCCD)
ภายใต้ความร่วมมือกับ UNCCD ประเทศต่าง ๆ องค์กรระหว่างประเทศ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ โครงการนี้มุ่งที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กับการจัดการภัยแล้งทั่วโลก ด้วยการผสานพลังร่วมจากสถาบันที่สำคัญระดับโลก ความร่วมมือนี้จะยกระดับการจัดการภัยแล้งให้เหนือกว่าการตอบสนองเมื่อเกิดวิกฤต ไปสู่การจัดการเชิงรุกด้วยการเสริมประสิทธิภาพระบบเตือนภัยล่วงหน้า การจัดหาเงินทุน การประเมินความเปราะบาง และการบรรเทาความเสี่ยงจากภัยแล้ง
"เครือข่ายความร่วมมือ Riyadh Drought Resilience Partnership จะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานระดับโลก หรือ 'ศูนย์กลางแบบครบวงจร' ให้แก่การรับมือภัยแล้ง โดยส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการให้ความช่วยเหลือหลังเกิดภัยแล้งไปสู่การเตรียมพร้อมเชิงรุก นอกจากนี้ เรายังมุ่งส่งเสริมทรัพยากรทั่วโลกให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อช่วยชีวิตและปกป้องความเป็นอยู่ของผู้คนทั่วโลก" ดร. Osama Faqeeha รัฐมนตรีช่วยกระทรวงสิ่งแวดล้อม น้ำ และเกษตรกรรม และที่ปรึกษาประธาน UNCCD COP16 กล่าว
"เราขอเชิญชวนให้ประเทศ บริษัท องค์กร นักวิทยาศาสตร์ NGO สถาบันการเงิน และชุมชนทั่วโลก เข้าร่วมให้ความร่วมมือในโอกาสสำคัญนี้ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างอนาคตที่เราจะสามารถรับมือกับภัยแล้งได้ดีขึ้นทั่วโลก สิ่งนี้มีความจำเป็นทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ การเตรียมพร้อมรับมือภัยแล้งในเชิงรุกมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการตอบสนองเมื่อเกิดภัยแล้งแล้วอย่างมาก หากร่วมมือกัน เราจะสามารถชะลอและเปลี่ยนแปลงผลกระทบอันร้ายแรงของภัยแล้งได้ ในฐานะประชาคมโลก เรามีเครื่องมือพร้อมที่จะดำเนินการอย่างเด็ดขาด และเครือข่ายความร่วมมือ Riyadh Global Drought Resilience Partnership จะช่วยรับรองในเรื่องนี้" ดร. Faqeeha กล่าวเสริม
เครือข่ายความร่วมมือดังกล่าวจะมีสำนักงานถาวรดำเนินงานภายใต้การดูแลของสมาชิกที่มีส่วนร่วม เพื่อเชื่อมโยงประเทศและชุมชนที่เปราะบางกับทรัพยากรที่มีอยู่ พร้อมกับเสริมความแข็งแกร่งให้กับโครงการริเริ่มที่มีอยู่แล้วเพื่อเพิ่มความมีประสิทธิภาพในระดับสูงสุด
นอกจากนี้ เครือข่ายความร่วมมือริยาดจะยังมุ่งความสำคัญที่การเปิดตัวกลไกการระดมทุนครั้งใหม่สำหรับการรับมือภัยแล้ง รวมทั้งเพิ่มความสามารถให้เข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น การระดมทุนผ่านส่วนของผู้ถือหุ้น ผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงินสนับสนุน ซาอุดีอาระเบียจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของสำนักงานเครือข่ายความร่วมมือเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี เพื่อให้การสนับสนุนการดำเนินงานอย่างยั่งยืนและสร้างผลกระทบสำคัญในระยะยาว
Ibrahim Thiaw เลขาธิการบริหารของ UNCCD กล่าวว่า "แม้จะไม่มีประเทศใดสามารถรอดพ้นจากภัยแล้งได้ แต่ 85% ของผู้คนที่ได้รับผลกระทบอาศัยอยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง ในโลกที่เชื่อมโยงถึงกัน สิ่งนี้ถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของเรา และเรามีผลประโยชน์ร่วมกันในการช่วยให้ผู้คนทั่วโลกรอดพ้นจากผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดของภัยแล้ง ผมเชื่อมั่นว่าความร่วมมือ Riyadh Global Drought Resilience Partnership จะมีบทบาทสำคัญในการระดมทุนและสร้างเจตจำนงทางการเมืองเพื่อสร้างอนาคตที่เราจะสามารถรับมือภัยแล้งได้ดียิ่งขึ้น"
ภัยแล้งส่งผลกระทบเกือบทุกมุมโลก โดยมีประชากร 1.84 พันล้านคน ได้รับผลกระทบในปี 2565 และกว่า 55 ประเทศประกาศภาวะฉุกเฉินจากภัยแล้งระหว่างปี 2563 ถึง 2566 ตามข้อมูลของ UNCCD ขณะที่ผลกระทบของภัยแล้งมีแต่จะเลวร้ายลงเรื่อย ๆ ในแอฟริกา 38% ของพื้นที่ตามการรายงานได้รับผลกระทบจากภัยแล้งระหว่างปี 2559 ถึง 2562 ส่วนลาตินอเมริกาและแคริบเบียนต่างเผชิญกับความเสียหายรุนแรงคล้ายกัน โดย 37.9% ของพื้นที่ตามการรายงานก็ได้รับผลกระทบในช่วงเวลาเดียวกัน จากข้อมูลการค้นพบของ UNCCD ภัยแล้งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางอาหารและน้ำ ผู้คนหลายล้านต้องอพยพย้ายถิ่น และส่งผลให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงต่อประเทศที่ได้รับผลกระทบ
เกี่ยวกับการประชุม COP16 ที่ริยาด
การประชุมครั้งนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 2 - 13 ธันวาคม 2567 ที่ Boulevard Riyadh World ประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นงานประชุมภายใต้หัวข้อ Our Land Our Future และจะเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 30 ปีของ UNCCD และมีเป้าหมายที่จะก่อให้เกิดการดำเนินการพหุภาคีในประเด็นสำคัญต่าง ๆ เช่น การถือครองที่ดิน ขีดความสามารถในการรับมือภัยแล้ง และพายุทรายและฝุ่น
รูปภาพ - https://mma.prnasia.com/media2/2571325/UNCCD_COP16.jpg?p=medium600
โลโก้ - https://mma.prnasia.com/media2/2556588/5056017/UNCCD_COP16__Logo.jpg?p=medium600