พนมเปญ, กัมพูชา, 5 ธ.ค. 2567 /PRNewswire/ -- Fair Finance Asia (FFA) ได้เผยแพร่ผลการประเมินใหม่ในรูปแบบสกอร์การ์ด (scorecard) ที่วัดระดับบทบาทของธนาคารในเอเชียในการช่วยผู้บริโภคขับเคลื่อนความยั่งยืน
Fair Finance Asia (2024, December). Empowering Consumers as Drivers of Sustainability in Asia’s Financial Sector.
สกอร์การ์ดใหม่นี้เปิดตัวเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ซึ่งตรงกับวันธนาคารสากล และใช้ชื่อว่า Empowering Consumers as Drivers of Sustainability in Asia's Financial Sector (เสริมพลังผู้บริโภคในฐานะผู้ขับเคลื่อนความยั่งยืนในภาคการเงินเอเชีย) โดยได้ประเมินนโยบายของธนาคาร 15 แห่งในกัมพูชา อินโดนีเซีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และไทย ใน 4 ด้านหลักด้วยกัน ได้แก่ การเข้าถึงบริการทางการเงิน การคุ้มครองผู้บริโภค ความรู้และการให้ความรู้ทางการเงิน และกลไกการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบ
ผลการประเมินพบว่า ธนาคารมีคะแนนค่อนข้างดีในด้านการเข้าถึงบริการทางการเงิน (5.2/10) และการคุ้มครองผู้บริโภค (5.5/10) แต่กลับได้คะแนนต่ำในด้านกลไกการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบ (1.3/10) โดยมีคะแนนเฉลี่ยรวมทั้ง 4 ด้านอยู่ที่ 3.5/10 ทั้งนี้ FFA ร่วมกับพันธมิตรระดับประเทศ ได้แก่ Fair Finance Cambodia, ResponsiBank Indonesia, Fair Finance Pakistan, Fair Finance Philippines และ Fair Finance Thailand รวมถึงพันธมิตรด้านการวิจัยอย่าง Profundo ได้เชิญชวนให้ธนาคารสร้างสมดุลระหว่างเป้าหมายการเข้าถึงบริการทางการเงินกับการให้ความรู้ทางการเงินและการเสริมพลังผู้บริโภค เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้าได้รับข้อมูลที่มีความสำคัญเกี่ยวกับกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนและแนวปฏิบัติด้านการเงิน รวมทั้งสามารถตรวจสอบการดำเนินการตามพันธสัญญาของธนาคารได้
"ผู้บริโภคในเอเชียมีความคาดหวังเพิ่มขึ้นในเรื่องความโปร่งใสและความรับผิดชอบจากสถาบันการเงิน ธนาคารควรตอบสนองเรื่องนี้ด้วยการให้ความรู้และมีส่วนร่วมกับผู้บริโภค เสริมพลังให้พวกเขาตัดสินใจทางการเงินได้อย่างชาญฉลาดและสอดรับกับค่านิยมของตน และช่วยให้พวกเขาเป็นพันธมิตรในด้านความยั่งยืน" Bernadette Victorio ผู้นำโครงการประจำ Fair Finance Asia กล่าว
"ธนาคารจะขับเคลื่อนความยั่งยืนอย่างมีความหมายได้ ก็ต่อเมื่อเสริมพลังให้ผู้บริโภคด้วยความโปร่งใสและการให้ความรู้ในฐานะพันธมิตรที่มีบทบาทสำคัญในการบรรลุเป้าหมายทางสังคมและสิ่งแวดล้อม" Yut Sakara Phon ผู้ประสานงานประจำ Fair Finance Cambodia กล่าว
"ธนาคารจะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงได้ ก็ต่อเมื่อให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคในการสร้างระบบนิเวศทางการเงินที่มีความรับผิดชอบและยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งจะสร้างผลลัพธ์อันดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างยั่งยืน" Herni Ramdlaningrum ผู้จัดการโครงการประจำ PRAKARSA กล่าว
"ธนาคารในปากีสถานดูเหมือนจะให้ความสำคัญกับกำไรมากกว่าจุดประสงค์ที่แท้จริง โดยมักจะโปรโมทผลิตภัณฑ์ทางการเงินแต่ไม่ค่อยตระหนักเรื่องผลกระทบต่อบุคคลและสังคม ธนาคารต้องทำมากกว่านี้เพื่อเสริมพลังประชาชนและปกป้องสิ่งแวดล้อม" Asim Jaffry ผู้นำโครงการประจำประเทศ จาก Fair Finance Pakistan กล่าว
"แม้ธนาคารฟิลิปปินส์ในการประเมินนี้จะได้คะแนนสูงสุดในด้านการเข้าถึงบริการทางการเงิน ความรู้ทางการเงิน และกลไกความรับผิดชอบ แต่ธนาคารฟิลิปปินส์จำเป็นต้องเพิ่มความโปร่งใส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการที่ให้การสนับสนุนทางการเงิน" ดร. Genalyn G. Aquino-Arcayera ผู้จัดการโครงการ Fair Finance Philippines จากองค์กร Initiatives for Dialogue and Empowerment through Alternative Legal Services (IDEALS) กล่าว
"เป็นเรื่องน่ายินดีที่ธนาคารไทยเป็นผู้นำด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในบรรดาประเทศที่ได้รับการประเมินครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม ยังมีช่องว่างในด้านนโยบายการป้องกันภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว และมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเสริมสร้างความรับผิดชอบและความโปร่งใสค่ะ" สฤณี อาชวานันทกุล หัวหน้าฝ่ายวิจัยประจำ Fair Finance Thailand กล่าว
ดูผลประเมินครั้งนี้ได้ที่ http://bit.ly/3Vp0emN
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Kyle Cruz
Knowledge and Communications Manager
Fair Finance Asia
หมายเหตุถึงบรรณาธิการ
เกี่ยวกับ FFA
Fair Finance Asia (FFA) เป็นเครือข่ายระดับภูมิภาค ซึ่งประกอบด้วยองค์กรภาคประชาสังคม (CSO) ทั่วเอเชียที่มีความมุ่งมั่นในการทำให้มั่นใจว่า สถาบันการเงินจะตัดสินใจให้การสนับสนุนทางการเงินในภูมิภาคโดยคำนึงถึงความเป็นอยู่ที่ดีทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่น ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ FFA ได้ที่: https://fairfinanceasia.org/