วันที่ 3 ของการประชุมมุ่งอภิปรายเกี่ยวกับบทบาทของปรัชญาที่มีต่อคุณภาพชีวิต รวมถึงประเด็นด้านจริยธรรมของ AI และผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์
ริยาด, ซาอุดีอาระเบีย, 8 ธันวาคม 2567 /PRNewswire/ -- การประชุมปรัชญานานาชาติริยาด (Riyadh International Philosophy Conference) ประจำปี 2567 ได้ดำเนินมาถึงวันที่ 3 ซึ่งเป็นวันสุดท้าย ด้วยการจัดเสวนากระตุ้นความคิดในประเด็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต งานประชุม 3 วันนี้จัดขึ้น ณ หอสมุด King Fahad National Library ในกรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยมีนักคิดชั้นนำระดับโลกกว่า 60 ท่านเข้าร่วม รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิอย่าง ดร. Fausto Fraisopi ดร. Abdelrahim Dekkoun และ ดร. Nermine Ezzeldin
การประชุมครั้งนี้มีขึ้นในธีม "Philosophy and Quality of Life: Existence, Truth, and Goodness" (ปรัชญาและคุณภาพชีวิต: การดำรงอยู่ ความจริง และความดี) ซึ่งตอกย้ำถึงบทบาทความเป็นผู้นำของซาอุดีอาระเบีย ในการผลักดันการถกเถียงทางปรัชญาทั้งในระดับประเทศและระดับโลก
ดร. Mohammed bin Hasan Alwan ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคณะกรรมการวรรณกรรม การพิมพ์ และการแปล ได้แสดงความยินดีกับความสำเร็จของการประชุมนี้ว่า "การประชุมครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงพลังของปรัชญา ในการจัดการกับปัญหาท้าทายที่สำคัญที่สุดในยุคสมัยของเรา การรวมตัวกันของนักคิดชั้นนำจากทั่วโลกได้ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดที่มีความหมาย และจุดประกายความคิดใหม่ ๆ เพื่ออนาคตที่ดีกว่า"
การประชุมครั้งนี้ปิดท้ายด้วยสุนทรพจน์อันทรงพลังจากคุณ Khalid AlSameti ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายบริหารวรรณกรรม สังกัดคณะกรรมการวรรณกรรม การพิมพ์ และการแปล ซึ่งกล่าวยืนยันว่า "การประชุมครั้งนี้ดึงดูดผู้เข้าร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคม โดยมีผู้เข้าชมกว่า 5,400 คนตลอดระยะเวลา 3 วัน สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการผสานศักยภาพอันโดดเด่นของราชอาณาจักรฯ เข้ากับความเข้าใจเชิงกลยุทธ์ร่วมกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ ทางฝ่ายบริหารวรรณกรรมหวังให้การประชุมนี้เป็นเวทีชั้นนำด้านการวิจัยทางปรัชญาและเป็นงานวิชาการที่มีความบุกเบิก ไม่เพียงแต่ในตะวันออกกลางเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทั่วโลกอีกด้วย"
การรวมตัวของนักคิดระดับโลก
โปรแกรมในวันที่ 3 ครอบคลุมหัวข้อที่หลากหลายเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองของมนุษย์ ตั้งแต่บทบาทของปรัชญาในการสร้างอนาคตที่ดีกว่า ไปจนถึงความท้าทายในการยกระดับคุณภาพชีวิตในโลกพหุวัฒนธรรม
ไฮไลต์สำคัญของวันนี้คือการเสวนาหัวข้อ "A Philosophical Framework for Enhancing the Quality of Life in Cities in the Context of Diversity and Multiculturalism" (กรอบแนวคิดทางปรัชญาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในเมือง ภายใต้บริบทความหลากหลายและพหุวัฒนธรรม) นำโดย ดร. Walid Al-Zamil ซึ่งได้อภิปรายถึงความสำคัญของการสร้างเมืองที่ครอบคลุมและเท่าเทียม โดยคำนึงถึงความต้องการและคุณค่าที่หลากหลายของผู้อยู่อาศัยทุกคน นอกจากนี้ยังมีการเสวนาอีกหัวข้อคือ "The Role of Social Solidarity in Supporting Female Athletes with Disabilities" (บทบาทของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในสังคมเพื่อสนับสนุนนักกีฬาหญิงผู้พิการ) โดยคุณ Najat Al-Shafai ซึ่งได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการสนับสนุนทางสังคม ในการเสริมพลังให้ผู้หญิงที่มีความพิการสามารถเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาและนันทนาการได้
นอกจากนี้ การประชุมนี้ยังได้สำรวจจุดตัดระหว่างปรัชญากับศาสนา ผ่านการเสวนาที่ศึกษาธรรมชาติของจิตวิญญาณและบทบาทในชีวิตมนุษย์ โดย ดร. Chafik Graigue ได้อภิปรายเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องความสิ้นหวังและนัยทางปรัชญา ในขณะที่ศาสตราจารย์ Hossam Abdellatif ได้พาสำรวจความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความท้าทายในสังคมไฮเทค การเสวนาเหล่านี้ได้มอบมุมมองที่มีคุณค่าเกี่ยวกับคำถามอันเป็นนิรันดร์ของการดำรงอยู่ของมนุษย์ และความท้าทายที่เกิดขึ้นจากความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี
จุดประกายแรงบันดาลใจสู่คนรุ่นใหม่
การประชุมยังมีการเสวนาพิเศษโดย ดร. Robert Bernasconi และการอภิปรายหัวข้อ "Artificial Intelligence and Its Impact on the Quality of Human Life: New Horizons and Ethical Challenges" (ปัญญาประดิษฐ์และผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์: ขอบฟ้าใหม่และความท้าทายทางจริยธรรม) นำโดย ดร. Ingy Hamdi การเสวนานี้ได้ลงลึกถึงประเด็นซับซ้อนด้านจริยธรรมของ AI และสำรวจแนวทางการใช้เทคโนโลยี เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์แทนที่จะลดทอนคุณค่าลง
นอกจากนี้ยังมีการจัดเวิร์กช็อปและสัมมนาอีกหลากหลายหัวข้อ อาทิ ทักษะการโต้แย้ง การคิดเชิงวิพากษ์ สุนทรียศาสตร์ และประวัติศาสตร์ตรรกะในอารยธรรมอิสลาม เวิร์กช็อปเหล่านี้ได้มอบเครื่องมือและข้อคิดที่สามารถนำแนวคิดทางปรัชญาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้แก่ผู้เข้าร่วม ที่สำคัญ การประชุมครั้งนี้ยังได้สร้างความร่วมมือกับองค์กรระดับนานาชาติที่มีชื่อเสียง รวมถึง New Philosopher และ The School of Life เป็นครั้งแรกในซาอุดีอาระเบียด้วย
การประชุมนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการคุณภาพชีวิต โดยได้ตอกย้ำความสำคัญของปรัชญาในการรับมือกับความท้าทายของสังคมร่วมสมัย การประชุมนี้เชื่อมช่องว่างระหว่างแนวคิดทางวิชาการกับการประยุกต์ใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของราชอาณาจักรฯ ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางปัญญาและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม
การประชุมปรัชญานานาชาติริยาด ประจำปี 2567 ประสบความสำเร็จอย่างโดดเด่น ในการรวบรวมนักคิดชั้นนำจากทั่วโลกมาร่วมถกประเด็นสำคัญเร่งด่วนในยุคสมัยของเรา สำรวจรากฐานทางปรัชญาของคุณภาพชีวิต และจุดประกายความคิดและแนวทางใหม่ ๆ เพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าสำหรับทุกคน
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บเพจของการประชุม
รูปภาพ - https://mma.prnasia.com/media2/2575873/Mr_Khalid_AlSameti.jpg?p=medium600