สิงคโปร์--22 เม.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
ธนาคารต่างๆปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านโมบายอย่างต่อเนื่อง แต่การสื่อสารกับกลุ่มลูกค้ายังคงล้าสมัย
ผลการวิจัยระดับโลกของ BuzzCity แสดงให้เห็นว่า การใช้งานโมบายแบงกิ้งยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่วิธีการที่บิดเบือนไปในการสื่อสารกับลูกค้าของธนาคารทำให้เกิดความสับสนในเรื่องฟีเจอร์และบริการต่างๆ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเกือบทุกธนาคารจะให้บริการโมบายแบงกิ้ง แต่ความพยายามด้านการสื่อสารทางการตลาดกับลูกค้ายังคงใช้วิธีแบบเดิมๆ ด้วยการใช้โทรทัศน์เป็นสื่อในการส่งเสริมการตลาด (42%)
ความสัมพันธ์ระหว่างความล้มเหลวในการจับความหมายของการเทียบเคียงบริการแบงกิ้งแบบออนไลน์ของลูกค้ากับการให้ความสำคัญมากขึ้นกับแคมเปญผ่านทางโทรทัศน์ ค่าใช้จ่ายด้านการโฆษณาบนอุปกรณ์พกพามีสัดส่วนเพียง 16% ซึ่งลดลง 10% จากปี 2556 ในขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านการโฆษณาผ่านทางวิทยุและหนังสือพิมพ์ลดลง 9% ตามลำดับ ธนาคารต่างๆประสบความล้มเหลวเรื่องการสื่อสารผ่านทางอุปกรณ์ที่ธนาคารได้นำเสนอบริการทุกอุปกรณ์
โมบายแบงกกิ้งกำลังเฟื่องฟูและก้าวหน้า แต่ยังมีงานที่ต้องทำอีกมาก
ปัจจุบัน เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ใช้อุปกรณ์พกพาทั้งหมดใช้อุปกรณ์พกพาของตนเองในการทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้น 60% จากปี 2556 (26%) ถึงปี 2558 (42%) หากสถิติดังกล่าวยังคงเป็นเช่นสถิติในปัจจุบัน คาดว่า ผู้ใช้อุปกรณ์สื่อสารไร้สายทั้งหมดจะใช้บริการธนาคารแบบออนไลน์ภายในปีหน้า ถึงแม้ว่าเกือบจะทุกธนาคารได้ให้บริการโมบายแบงกิ้งเพียงบางรูปแบบ กว่าหนึ่งในสิบ (15%) ของผู้ใช้อุปกรณ์สื่อสารไร้สายไม่เชื่อว่า จะมีการอำนวยความสะดวกดังกล่าวให้กับตนเอง หนึ่งในสาม (35%) ยังไม่เคยใช้บริการโมบายแบงกิ้ง ในขณะที่หนึ่งในสามวางแผนที่จะใช้บริการ
การชำระเงินผ่านทางอุปกรณ์สื่อสารไร้สายทั่วโลกมีปริมาณที่สูงกว่าบัตรเครดิตและบัตรเดบิตรวมกัน -- ยอดการใช้บัตรในปัจจุบันอยู่ที่ 17% เมื่อเทียบกับการชำระเงินผ่านอุปกรณ์สื่อสารไร้สายที่ 24%
การให้ความรู้และการรับรู้
เทคโนโลยีที่มีวิวัฒนาการอย่างไม่หยุดยั้งยังคงมีความท้าทายต่อไป แต่ปัจจุบันธนาคารส่วนใหญ่ได้นำเสนอแอปการให้บริการควบคู่ไปกับบริการ SMS และคาดว่า ธนาคารต่างๆจะยังคงพัฒนาความเป็นไปได้ในส่วนของบริการเพิ่มเติมและวิวัฒนาการของการนำเสนอ ซึ่งรวมถึงการสแกนลายนิ้วมือ เนื่องจากฟังก์ชั่นการใช้งานที่เพิ่มขึ้นของสมาร์ทโฟน
ถึงแม้ว่า โมบายแบงกิ้งจะมีความก้าวหน้าในด้านต่างๆ แต่หนึ่งในสี่ของผู้ใช้บริการ (26%) ยังคงวิตกกังวลในเรื่องความปลอดภัย ซึ่งเป็นสถิติที่ลดลง 10% จากปี 2556 นับเป็นการส่งสัญญาณถึงการเปลี่ยนแปลง หนึ่งในสี่ (23%) ยังเชื่อว่าอุปกรณ์สื่อสารไร้สายของตนไม่เหมาะกับการใช้งานออนไลน์แบงกิ้ง ปัจจจุบันโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่สามารถใช้งานด้านโมบายแบงกิ้ง ธนาคารจึงจำเป็นต้องให้ความรู้แก่ลูกค้าในเรื่องการใช้บริการออนไลน์ด้วยตัวเองอย่างปลอดภัย เนื่องจากบริการต่างๆจะถูกพัฒนาเพิ่มขึ้นตามฟังก์ชั่นการใช้งานของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งบริการที่มีมากขึ้นนั้นหมายถึงความวิตกกังวลครั้งใหม่ ดังนั้นการให้ความรู้จึงต้องมีอยู่ตลอดเวลาและในทุกๆประเด็น
จุดใดที่ธนาคารประสบความล้มเหลว?
"วิธีการที่บิดเบือนซึ่งธนาคารหลายแห่งเลือกที่จะโฆษณาผ่านทางโทรทัศน์นั้น ไม่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้าของธนาคารได้" ดีอาร์ เอเอฟ ไล ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ BuzzCity กล่าว "การให้ความสำคัญกับความพยายามทุกอย่างผ่านช่องทางการสื่อสารเพียงช่องทางเดียวและไม่ใช่อุปกรณ์ที่ลูกค้าใช้งานจริงในทุกนาทีของต่ละวันทำให้ธนาคารสูญเสียโอกาส นี่เป็นส่วนที่สำคัญในการสร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจกับกลุ่มเป้าหมาย"
งานด้านการให้ความรู้และการรับรู้คือหัวใจสำคัญสำหรับธนาคารในการเจาะกลุ่มลูกค้าของธนาคาร ด้วยความวิตกกังวลเกี่ยวกัยความปลอดภัยที่มีอย่างต่อเนื่อง การขาดความรู้ในเรื่องบริการที่มีอยู่และการขาดความเข้าใจในหลักเกณฑ์การใช้บริการยังมีอยู่อีกมากจนน่าประหลาดใจ การรับรู้และดำเนินการอย่างรวดเร็วในเรื่องดังกล่าวจะส่งผลดีต่อธนาคารเนื่องจากความเฟื่องฟูเช่นนี้ยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
กรุณาดาวน์โหลดรายงาน The BuzzCity Report ได้ที่ reports.buzzcity.com
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ:
โจชัว สเปียร์
อีเมล: buzzcity@cubaneight.com
โทร: 01869 238089
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่:
โลโก้: http://photos.prnasia.com/prnh/20150415/8521502345LOGO