กรุงเทพฯ—28 เม.ย.—พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
ส่วนแบ่งตลาดในปี 2557 ของ MCU 8 บิท, 16 บิท และ 32 บิท เพิ่มขึ้น, รุ่น 32 บิท ทะลุสู่อันดับ Top 10
ผลการจัดอันดับประจำปี 2557 โดยบริษัท การ์ทเนอร์ ซึ่งเป็นบริษัทวิเคราะห์ที่ได้มีการตีพิมพ์เมื่อเร็วๆนี้ ชี้ว่า ไมโครชิป เทคโนโลยี อิงค์ (NASDAQ: MCHP) ผู้นำด้านการจัดหาโซลูชั่นไมโครคอนโทรลเลอร์, สัญญาณผสม, อนาล็อก และแฟลช-ไอพี สามารถทวงคืนตำแหน่งรายได้อันดับหนึ่งของไมโครคอนโทรเลอร์ (MCU) 8 บิท ผลการจัดอันดับนี้ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นอันแน่วแน่และความพยายามด้านนวัตกรรมในสายผลิตภัณฑ์ไมโครคอนโทรเลอร์ 8-bit PIC(R) ของบริษัท
ในขณะที่ผู้จำหน่าย MCU หลายรายได้ให้ความสำคัญกับการจำหน่าย MCU รุ่น 8 บิทน้อยลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทางไมโครชิปยังคงเดินหน้าปรับปรุงสายผลิตภัณฑ์ MCU 8 บิท, 16 บิท และ 32 บิททั้งหมด รายงานประจำปี 2557 ของการ์ทเนอร์ระบุว่า ไมโครชิปสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้อย่างต่อเนื่องในผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 รุ่น สำหรับตลาด MCU 16 บิท นั้น ไมโครชิปเป็นซัพพลายเออร์ที่เติบโตเร็วที่สุดในบรรดาบริษัทที่ติดอันดับ Top 10 ในปี 2557 โดยบริษัทเติบโตเร็วกว่าบริษัท Top 10 ทุกแห่งกว่า 2 เท่า ในขณะที่ MCU 32 บิทของไมโครชิปสามารถทะลุสู่ระดับซัพพลายเออร์ Top 10 เป็นครั้งแรกในปี 2557 จากส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้น 42.3%
"เรายินดีที่จะแจ้งว่า ไมโครชิปสามารถทวงคืนตำแหน่งอันดับหนึ่งด้าน MCU 8 บิทได้อีกครั้ง" สตีฟ ซางฮี ประธานและซีอีโอไมโครชิปกล่าว "เมื่อ 4 ปีที่แล้ว เราถูกโค่นตำแหน่งอันดับหนึ่งด้าน MCU 8 บิท จากการควบรวมกิจการของบริษัทเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ของญี่ปุ่นถึง 3 บริษัท ซึ่งประกอบด้วย เอ็นอีซี ฮิตาชิ และมิตซูบิชิ ในชื่อบริษีท เรเนซัส (Renesas) ในช่วงเวลาดังกล่าว บริษัทประกาศว่า จะทำงานอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาด และชิงตำแหน่งอันดับหนึ่งคืนมา จากการรวมกิจการของสามบริษัทในปี 2553 นั้น ธุรกิจ MCU 8 บิทของเรเนซัสมีขนาดใหญ่กว่าเรา 41% นับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา ในทุกๆปีบริษัทเราก็สามารถปิดช่องว่างนี้ได้สำเร็จ และในปี 2557 เราก็สามารถทวงตำแหน่งผู้นำได้อีกครั้ง โดยครองส่วนแบ่งได้สูงกว่าเรเนซัส 10.5%"
PIC MCU 8 บิทเปิดทางให้นักพัฒนามีแนวทางการย้ายระบบจาก 6 พิน ไป 100 พินได้อย่างง่ายดาย โดยแก้ไขโค้ดเพียงนิดเดียวหรือไม่จำเป็นต้องแก้ไขโค้ดใดๆ สายผลิตภัณฑ์ MCU นี้ นำเสนอตระกูลผลิตภัณฑ์ที่มีการผนวกรวมเชิงอัจฉริยะในระดับต่างๆกัน อาทิ แม่ข่ายของ Core Independent Peripheral โดยไม่จำเป็นต้องแทรกแซงการทำงานของซีพียูเลยหรือแทรกแซงเพียงเล็กน้อย ทำให้คอร์ของคอมพิวเตอร์สามารถรันระบบการทำงานอื่นๆได้ นอกจากนี้ ยังมีอุปกรณ์อื่นๆที่ถูกรวมเข้ามาด้วย นั่นคือ อุปกรณ์เสริม Intelligent Analog ซึ่งประกอบด้วย ออปแอมป์, อุปกรณ์เปรียบเทียบ, ADC, DAC และ CTMU รวมถึงอุปกรณ์เสริมฮิวแมนอินเทอร์เฟส สำหรับหน้าจอ LCD และ mTouch(R) หรือระบบรับการสัมผัสแบบ capacitive ตลอดจนช่องทางการสื่อสารสำหรับอีเธอร์เน็ต, I2C(TM) SPI, USB, CAN และ LIN (EUSARTs) ขณะที่ปลั๊กอิน MPLAB(R) Code Configurator ของ IDE จากไมโครชิปช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากการผนวกรวมทั้งหมดนี้ได้อย่างง่ายดาย โดยการสร้างโค้ด C ได้อย่างราบรื่นและเข้าใจง่าย เพื่อเพิ่มเข้าไปในโครงการต่างๆได้อย่างรวดเร็ว
PIC MCU 8 บิท และ 16 บิท ของไมโครชิป ได้ผสมผสานประสิทธิภาพการทำงานในระดับสูง ต้นทุนที่ต่ำ และระบบอนาล็อกที่สมบูรณ์ ตลอดจนการผนวกรวมอุปกรณ์เสริมดิจิตอลและบรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดเล็ก เพื่อนำเสนออัตราส่วนราคา/ประสิทธิภาพการทำงานที่ดี่สุดในอุตสาหกรรม PIC MCU ซึ่งมาพร้อมเทคโนโลยี Extreme Low Power (XLP) มีอัตราการใช้ไฟต่ำที่สุดในอุตสาหกรรมและฟีเจอร์การใช้ไฟในระดับต่ำที่ทันสมัยที่สุด ได้แก่ กระแสไฟโหมด Sleep ซึ่งลดลงมาอยู่ที่ 9 นาโนไมโครแอมป์ (nA) และกระแสไฟในโหมดทำงาน (Active Mode) ลดลงมาอยู่ที่ 30 ไมโครแอมป์/เมกะเฮิร์ตซ์ ส่งผลให้อายุการใช้งานแบตเตอรีอยู่ได้นาน 20 ปีขึ้นไป
ตระกูล PIC32 ของ MCU 32 บิท คือส่วนต่อยอดของผลิตภัณฑ์ PIC MCU และอุปกรณ์ควบคุมสัญญาณดิจิตอล (DSC) dsPIC(R) รวมกันมากกว่า 1,200 รายการ ลูกค้าสามารถใช้ MPLAB X Integrated Development Environment (IDE) ซึ่งใช้ได้กับหลายอุปกรณ์ ในการออกแบบการใช้งานโดยใช้ผลิตภัณฑ์ PIC MCU 8, 16 และ 32 บิท และ DSC ได้ทั้งหมด รวมถึงอุปกรณ์หน่วยความจำบางรุ่น ไมโครชิปยังเป็นบริษัทเพียงแห่งเดียวที่รองรับ MCU และ DSC ที่ได้มาตรฐานทั้งหมดจาก IDE แบบเดี่ยว
แหล่งข้อมูล
สามารถรับชมรูปภาพความละเอียดสูงของ สตีฟ ซางฮี ซีอีโอ ได้ที่ Flickr หรือการติดต่อสำหรับกองบรรณาธิการ (สามารถนำไปเผยแพร่ได้ตามสะดวก): http://www.microchip.com/Photo-042715a
ติดตามไมโครชิปได้ที่
เกี่ยวกับเกี่ยวกับไมโครชิปเทคโนโลยี
ไมโครชิป เทคโนโลยี อิงค์ (NASDAQ: MCHP) เป็นผู้นำด้านการจัดหาโซลูชั่นไมโครคอนโทรลเลอร์ ตลอดจนโซลูชั่นอนาล็อกสัญญาณผสม และแฟลช-ไอพี ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนรวมของทั้งระบบ และร่นระยะเวลาในการนำเสนอแอพพลิเคชั่นหลายพันรายการสำหรับลูกค้าในตลาดทั่วโลก สำนักงานใหญ่ของไมโครชิปตั้งอยู่ที่เมืองแชนด์เลอร์ รัฐแอริโซนา บริษัทนำเสนอการสนับสนุนด้านเทคนิคที่เป็นเลิศพร้อมกับการขนส่งและคุณภาพที่เชื่อถือได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ของไมโครชิปที่ http://www.microchip.com/Homepage-042715a
หมายเหตุ: ชื่อและโลโก้ Microchip, PIC, dsPIC, MPLAB และ mTouch เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัท ไมโครชิป เทคโนโลยี อินคอร์ปอเรทเต็ด ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ส่วนเครื่องหมายการค้าอื่นๆทั้งหมดที่ระบุถึงในข่าวฉบับนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทที่เป็นเจ้าของ
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
ไมโครชิป
Daphne Yuen
โทร: +852-2943-5115
อีเมล: daphne.yuen@microchip.com