ลอนดอน--9 ก.ค. --พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
รายงานแนวโน้มอินเทอร์เน็ตและการท่องอินเทอร์เน็ตรายไตรมาสล่าสุดของ BuzzCity ชี้ นาฬิกาสมาร์ทว็อทช์ แท็บเล็ต และสมาร์ททีวี อยู่ในช่วงขาขึ้น ในขณะที่โทรศัพท์มือถือยังทรงตัวอยู่ในระดับเดิม
BuzzCity เครือข่ายโฆษณาบนมือถือชั้นนำระดับโลก เปิดเผยข้อมูลจากการวิจัยพฤติกรรมการบริโภคสื่อดิจิตอลในกลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลกประจำไตรมาสล่าสุด รายงานดังกล่าวมีการเปรียบเทียบกับรายงานในปี 2557 โดยมีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์ทิศทางและพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปของกลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ
หนึ่งในผลจากการวิจัยที่สำคัญชี้ให้เห็นว่า การท่องอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์หลายๆประเภทเติบโตขึ้น ในขณะที่โทรศัพท์มือถือยังคงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ตลอดกว่า 3 ไตรมาสที่ผ่านมา ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลกกว่า 83% เลือกที่จะใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ นับเป็นตัวเลขที่ลดลงจากปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ 86% และเป็นปีที่ผู้บริโภคเลือกที่จะใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ การขยายตัวของการใช้แท็บเล็ตและสมาร์ททีวี ซึ่งอยู่ที่ 12% และ 10% ตามลำดับนั้น อาจมีผลต่อสถิติที่ลดลง นอกจากนี้ คาดว่า ความนิยมในการใช้นาฬิกาสมาร์ทว็อทช์ที่สูงขึ้นอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการใช้อินเทอร์เน็ตด้วยเช่นกัน โดยผู้ที่ตอบรับการสำรวจจำนวน 8% วางแผนว่าจะซื้อนาฬิกาสมาร์ทว็อทช์ในช่วง 6-12 เดือนหน้านี้
รูปแบบการใช้อินเทอร์เน็ตยอดนิยม 5 อันดับแรก: ก.ค. 2558
รายงานการวิจัยพบว่า พีซีและแล็บท็อป ยังคงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ผู้บริโภคจำนวน 1 ใน 10 (12%) เลือกที่จะใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านพีซี หรือโน้ตบุ๊ค แม้ว่า ความต้องการอุปกรณ์ดังกล่าวจะลดลงก็ตาม ( ปี 2557 อยู่ที่ 22% และปี 2558 อยู่ที่ 15%) และอาจจะมีการใช้งานเครื่องมือในรูปแบบที่มีลักษณะผสมระหว่าง โน้ตบุ๊คและแท็บเล็ต เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีการให้บริการ Wifi ฟรีและใช้งานได้สะดวก ผู้บริโภคจำนวน 1 ใน 10 (10%) มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านทางสมาร์ททีวี และมีความต้องการสมาร์ททีวีสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา 2 เท่าตัว ( จาก 7% ในปี 2557 เป็น 12% ในปี 2558) ในขณะที่สัดส่วนผู้บริโภคที่ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์หลากหลายประเภท(ซึ่งสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตข้ามไป-มาระหว่างอุปกรณ์ 2 ชนิดได้) อาจจะยังอยู่ในปริมาณที่น้อย (9%) แต่ก็มีการคาดการณ์ว่าจะเติบโตขึ้นอีกในปีถัดไป เนื่องจากอุปกรณ์ดังกล่าวอาจมีการแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
การเติบโตของนาฬิกาสมาร์ทว็อทช์
ขณะที่นาฬิกาสมาร์ทว็อทช์ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดในปี 2558 BuzzCity จึงได้สืบค้นว่า นาฬิกาสมาร์ทว็อทช์ซึ่งมักจะถูกเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือนั้น ถูกนำมาใช้งานในรูปแบบใดมากที่สุด แม้ว่าฟังค์ชั่นหลักของสมาร์ทวอทช์คือการใช้งานเพื่อดูเวลาก็ตาม โดยสมาร์ทวอทช์อยู่ในลำดับที่ 5
รูปแบบยอดนิยมในการใช้สมาร์ทว็อทช์: ก.ค. 2558
Dr. KF Lai ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง BuzzCity กล่าวว่า "การที่อินเทอร์เน็ตนำมาซึ่งการเติบโตของการใช้เครื่องมือหลากหลายประเภทนั้น จะสร้างแรงกดดันต่อกลุ่มผู้ทำตลาดแบรนด์และผู้พัฒนาคอนเทนท์ต่อไป เพื่อที่จะรับรู้ถึงปัจจัยต่างๆ ที่เปลี่ยนไป เช่น พฤติกรรมการค้นหาข้อมูล และรูปแบบการใช้งานของอุปกรณ์แต่ละชนิด ซึ่งจะต้องมีการปรับคอนเทนท์ด้านการทำตลาดให้เหมาะกับอุปกรณ์แต่ละชนิดอยู่เสมอ ซึ่งฝ่ายการตลาดด้านคอนเทนท์อาจต้องนำกระแสต่างๆ เหล่านี้ไปใช้พิจารณาสำหรับกลยุทธ์ใหม่ๆ
Dr. Lai กล่าวอีกว่า "สิ่งที่สำคัญคือ กลยุทธ์ต่างๆ จะต้องเป็นเรื่องของโมบายล์ก่อน ซึ่งจะทำให้สามารถผลิตคอนเทนท์ได้เพิ่มขึ้น มากกว่าที่จะน้อยลง"
ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2558 เครือข่ายการโฆษณาของ BuzzCity ได้ให้บริการโฆษณาที่มีการคิดค่าบริการเป็นจำนวนกว่า 1.74 แสนล้านรายการทั่วโลก ซึ่งเพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรกของปี 2557
รายงานจาก BuzzCity สามารถดูได้ที่ reports.buzzcity.com
แบบสำรวจของ BuzzCity ได้ดำเนินการสอบถามผู้คนจำนวน 4,100 ราย ใน 23 ประเทศ ในทวีปอเมริกา เอเชีย แอฟริกา และยุโรปตะวันตก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: Josh Spears/ Jo McConnell at CubanEight
อีเมล: buzzcity@cubaneight.com โทร: +44-01869 238 089
เกี่ยวกับ BuzzCity
BuzzCity คือเครือข่ายธุรกิจโฆษณาบนมือถือที่ช่วยให้เจ้าของแบรนด์และเอเจนซี่เข้าถึงเครือข่ายนักโฆษณาทั่วโลก ในฐานะที่เป็นบริษัทชั้นนำระดับโลก BuzzCity ได้พัฒนาความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับผู้บริโภคบนมือถือ และมอบโอกาสที่เด่นชัดให้นักการตลาดสามารถเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มนี้ผ่านการโฆษณา นอกจากนี้ เครือข่ายของบริษัทยังเปิดโอกาสให้นักโฆษณา ผู้พัฒนา และเจ้าของสื่อบนมือถือ สามารถสร้างรายได้ผ่านการโฆษณาทางอินเทอร์เน็ตบนมือถือด้วย
รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.buzzcity.com
โลโก้ - http://photos.prnasia.com/prnh/20150415/8521502345LOGO