กรุงเทพฯ – 11 ก.ย. – พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
เครื่องมือพัฒนารุ่นใหม่ช่วยเร่งการออกแบบฟังก์ชั่นการใช้งานให้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยใช้อุปกรณ์เสริมขั้นสูงที่มีอยูในไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC(R) 8 บิท
ไมโครชิป เทคโนโลยี อิงค์ [NASDAQ: MCHP] ผู้นำด้านการจัดหาโซลูชั่นไมโครคอนโทรลเลอร์ สัญญาณผสม อนาล็อก และแฟลช-ไอพี ประกาศขยายเครื่องมือพัฒนา (development platform) สำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์ไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCUs) PIC(R) 8 บิทแนวคิดใหม่ที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ด้วยอุปกรณ์เสริม Core-Independent Peripherals (CIPs) ซึ่งเปิดทางให้นักออกแบบสามารถนำองค์ประกอบพื้นฐานเหล่านี้มาผสมผสานกันเพื่อให้ฟังก์ชันต่างๆสามารถทำงานได้โดยอิสระ องค์ประกอบพื้นฐานเหล่านี้ยังสามารถเชื่อมต่อระหว่างกันโดยใช้อุปกรณ์เสริม Intelligent Analog แบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยฟังก์ชั่นเหล่านี้ทำงานในรูปแบบฮาร์ดแวร์แทนที่จะเป็นซอฟต์แวร์ และทำงานตามที่กำหนดจึงสามารถไว้วางใจได้ ส่งผลให้ระบบที่ใช้ CIPs มีประสิทธิภาพเหนือชั้นกว่า MCUs แบบดั้งเดิมมาก
เพื่อที่จะลดระยะเวลาในการพัฒนาด้วย MCU ล้ำยุคเหล่านี้ลงอีก ไมโครชิปจึงออก MPLAB(R) Code Configurator (MCC) เวอร์ชั่น 3.0 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดของระบบเขียนโปรแกรมกราฟฟิคแจกฟรีของไมโครชิป และยังได้เพิ่มบอร์ดพัฒนาใหม่ 3 แบบ ได้แก่ Curiosity Development Board ซึ่งเป็นเครื่องมือขั้นพื้นฐานสุดคุ้มค่า ประกอบด้วยโปรแกรมเมอร์และดีบักเกอร์แบบเบ็ดเสร็จ ที่มาพร้อมออปชันเสริมสำหรับการเชื่อมต่อภายนอกอย่างง่ายดาย ขณะที่ชุดอุปกรณ์ Explorer 8 Development Kit คือเครื่องมือวิเคราะห์ความเป็นไปได้แบบด่วน ซึ่งผนวกการทำงานต่างๆได้อย่างครอบคลุมกว้างขวาง และรองรับ MCU PIC 8 บิท ซึ่งเป็นสายผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายที่สุด ส่วน PICDEM(TM) Lab II Development Board นั้นเป็นเครื่องมือพัฒนาและทดลองที่ครบวงจร ซึ่งเน้นไปที่สัญญาณผสมและอนาล็อก สำหรับเครื่องมือพัฒนาตัวนี้เมื่อใช้ควบคู่กับอุปกรณ์เสริม core-independent peripherals จะช่วยประหยัดเวลาในการออกแบบทั้งหมดลงได้เป็นอย่างมาก
"เป็นเวลา 20 ปีมาแล้วที่ผู้จำหน่าย MCU 8 บิทส่วนใหญ่ได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง แต่กลับใช้ฟีเจอร์ผลิตภัณฑ์โดยรวมเหมือนเดิม" Steve Drehobl รองประธานของแผนก MCU8 ของไมโครชิปกล่าว "ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มเนื้อที่ เพิ่มจำนวนพิน เพิ่มความเร็วนาฬิกา และเพิ่มอุปกรณ์เสริมแบบเดิมให้มากขึ้น แต่การออกแบบระบบฝังนั้นเปลี่ยนแปลงไปแล้ว และแม้แต่แอพพลิเคชั่นที่เล็กที่สุดก็มีความซับซ้อนมากขึ้น เราจึงพัฒนาอุปกรณ์เสริมบน MCU PIC 8 บิทให้ทำงานเป็นอิสระและทำงานในเชิงกำหนดมากขึ้น เพื่อให้ลูกค้าของเราสามารถตอบสนองต่อสภาวะตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการเขียนโค้ดใหม่ให้มีความกะทัดรัดและมีวัฏจักรในการตรวจสอบความถูกต้องที่สั้นมาก"
เครื่องมือทั้ง 4 ตัวนี้ได้รับการออกแบบให้สามารถทำงานภายใน MPLAB(R) X ซึ่งเป็นระบบพัฒนาครบวงจรที่ไมโครชิปได้เปิดให้บริการแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายมานานแล้ว อีกทั้งยังสามารถนำไปพัฒนาต่ออย่างง่ายดายโดยผ่านทางระบบนิเวศที่สมบูรณ์ของไมโครชิป ซึ่งรวมถึงหุ้นส่วนการพัฒนา อาทิ MikroElektronika และ Digilent แพลตฟอร์มนี้ช่วยให้นักออกแบบสามารถประสานสถาปัตยกรรม MCU PIC 8 บิทเข้ากับซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นของตนเองได้อย่างรวดเร็วและเป็นธรรมชาติ ทำให้การสร้างฟังก์ชั่นและแอพพลิเคชั่นง่ายดายยิ่งกว่าเดิม
ทั้งนี้ MPLAB Code Configurator ช่วยย่นระยะเวลาในการเริ่มระบบ ด้วยการลดภาระในการศึกษาดาตาชีทและการพัฒนาโปรแกรม ขณะที่ CIPs ซึ่งเป็นฮาร์ดแวร์ก็จะขจัดขั้นตอนของการทำงานในระบบควบคุมที่มีความซับซ้อน โดยเวอร์ชั่น 3.0 นี้เปิดทางให้เหล่าวิศวกรสามารถปรับตั้งค่าทั้งอุปกรณ์เสริมแต่ละชิ้นและฟังก์ชั่นขั้นสูงของระบบ ซึ่งรวม CIPs เป็นก้อนเดียวกันด้วยการคลิกเมาส์เพียงไม่กี่ครั้ง MCC 3.0 ยังเพิ่มการสนับสนุนคลังข้อมูลของไมโครชิป อาทิ TCP/IP, LIN drivers แบบปรับตั้งค่าได้ และ serial bootloader โดยมาพร้อมแผนการต่อยอดในอนาคตสำหรับ mTouch(R) ซึ่งเป็นหน้าจอสัมผัสแบบ capacitive ตลอดจน USB และโปรโตคอลสัญญาณวิทยุ นอกจากนี้ ไมโครชิปยังวางแผนที่จะออกชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เปิดทางให้นักออกแบบสามารถเพิ่มชิ้นส่วนโค้ดแบบ 8 และ 16 บิท และ/หรือคลังข้อมูลลงใน MCC 3.0 เพื่อให้การผนวกการทำงานและการปรับตั้งค่าเป็นไปได้อย่างง่ายดาย
ขณะที่ Curiosity เป็นเครื่องมือพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ 8 บิทซึ่งมีความคุ้มค่า โดยเจาะกลุ่มผู้ใช้ครั้งแรก ตลอดจนผู้ผลิต และผู้ที่มองหาบอร์ดที่สามารถผลิตต้นแบบได้อย่างรวดเร็วและอัดแน่นไปด้วยฟีเจอร์ Curiosity รองรับ MCU PIC 8 บิท ในรูปแบบแพคเกจ PDIP 8 14 หรือ 20 พิน ขณะที่ผังและการเชื่อมต่อภายนอกกับบอร์ดนั้นช่วยให้เข้าถึง core-independent peripheral ของ MCU แต่ละตัวได้ทั่วถึงทั้งหมด สำหรับส่วนเชื่อมต่อภายนอกนั้น มีส่วนเฮดเดอร์ของ mikroBUS(TM) ที่สามารถรองรับบอร์ดเสริมรุ่น click ของ MikroElektronika ได้มากกว่า 100 ตัว รวมทั้งแผนผัง PCB เปิดทางให้ผู้ใช้สามารถเพิ่มโมดูลการสื่อสาร RN4020 Bluetooth(R) LE จากโมโครชิปได้อย่างง่ายดาย
ส่วน PICDEM Lab II เป็นเครื่องมือสอนและพัฒนาที่นำเสนอบอร์ดทดลองวงจรต้นแบบขนาดใหญ่ ซึ่งเปิดทางให้ผู้ใช้สามารถทำการทดลองค่าและการปรับตั้งค่าของการปรับสภาพสัญญาณอนาล็อกภายนอก และส่วนประกอบไดรฟ์เพื่อนำไปการปรับปรุงระบบ ความยืดหยุ่นนี้ช่วยขจัดข้อจุกจิกและค่าใช้จ่ายในการสร้าง PCB แบบตั้งค่าเองในระยะเริ่มแรกของโครงการ บอร์ดนี้ยังมีลักษณะเป็นโมดูล ผู้ใช้จึงสามารถออกแบบระบบด้วย MCU PIC ตัวเดียวหรือหลายๆตัวไปพร้อมกัน ส่วนการเชื่อมต่อชนิด off-chip สามารถทำในรูปแบบใดก็ได้ตามที่ผู้ใช้เห็นเหมาะสม สำหรับส่วนขยายแบบ off-board ที่อาจใส่เข้าไปได้นั้น ได้แก่ อินเทอร์เฟซมาตรฐานอุตสาหกรรมหลายรูปแบบ ซึ่งต่อยอดมาจากระบบตัวเชื่อมต่อเพื่อการปรับตั้งค่า โดยในส่วนของการเชื่อมต่อนั้น มีอุปกรณ์ได้แก่ บอร์ดซ็อคเก็ตรุ่น click ของ MikroElektronika 2 ชิ้น โมดูลคอนเนคเตอร์ LCD แบบ 16 พิน และเฮดเดอร์ปรับตั้งค่าได้ แบบ 20 พิน สำหรับบอร์ดเสริมซึ่งสามารถปรับตั้งค่าได้ ไมโครซิปนำเสนอสถานการณ์ทดลองหลากหลายรูปแบบที่ช่วยให้ผู้ใช้เริ่มต้นใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการปรับตั้งค่า MCU แบบง่ายๆ ไปจนถึงการแปลงไฟ และออดิโอ Class D
ด้าน Explorer 8 นำเสนอฟังก์ชั่น MCU 8 บิทหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น human-interface, การแปลงไฟ, Internet-of-Things, การชาร์จแบตเตอรี และการใช้งานอื่นๆอีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีความจุที่สามารถรองรับการขยายได้มากที่สุดในบรรดาแผงวงจร 8 บิทของไมโครชิป โดยมีอินเทอร์เฟซ Digilent Pmod(TM) 2 ชิ้น บอร์ดซ็อคเก็ตรุ่น click ของ MikroElektronika 2 ชิ้น และเฮดเดอร์ส่วนขยาย 2 ชิ้นสำหรับบอร์ดเสริมซึ่งสามารถปรับตั้งค่าได้ เปิดทางให้นักออกแบบสามารถสร้างสรรค์ผลงานตามความต้องการในการพัฒนาที่เปลี่ยนแปลงไป Explorer 8 ยังรองรับอุปกรณ์มาตรฐานได้แก่ PICkit(TM) 3, MPLAB ICD 3 และส่วนโปรแกรมเมอร์/ดีบักเกอร์ MPLAB REAL ICE(TM)
การเปิดให้ใช้งานและการวางจำหน่าย
MPLAB Code Configurator เวอร์ชั่น 3.0 เปิดให้ดาวน์โหลดเวอร์ชั่นเบต้าฟรีแล้ววันนี้ สำหรับ Curiosity Development Board (part # DM164137) มีวางจำหน่ายแล้ววันนี้ Explorer 8 Development Kit (part # DM160228) มีวางจำหน่ายแล้ววันนี้ และ PICDEM Lab II Development Board (part # DM163046) มีวางจำหน่ายแล้ววันนี้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อตัวแทนจำหน่ายของไมโครชิปหรือผู้แทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตทั่วโลก หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ของไมโครชิปที่ http://www.microchip.com/CIP-090915a หากท่านต้องการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีการระบุถึงในข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ สามารถติดต่อได้ที่ microchipDIRECT หรือผ่านทางพันธมิตรผู้จัดจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตของไมโครชิป
แหล่งข้อมูล
สามารถรับชมรูปภาพความละเอียดสูงได้ที่ฟลิกเกอร์ หรือติดต่อกองบรรณาธิการ (สามารถนำไปเผยแพร่ได้ตามสะดวก): http://www.microchip.com/Graphic-090915a
รับชมการนำเสนอโดยย่อได้ที่ http://www.microchip.com/Graphic-090915a
ติดตามไมโครชิปได้ที่
- RSS Feed สำหรับข่าวผลิตภัณฑ์ของไมโครชิป: http://www.microchip.com/RSS-090915a
- ทวิตเตอร์: http://www.microchip.com/Twitter-090915a
- เฟซบุ๊ก: http://www.microchip.com/Facebook-090915a
- ยูทูบ: http://www.microchip.com/YouTube-090915a
เกี่ยวกับไมโครชิป เทคโนโลยี
ไมโครชิป เทคโนโลยี อิงค์ (NASDAQ: MCHP) เป็นผู้นำด้านการจัดหาโซลูชั่นไมโครคอนโทรลเลอร์ โซลูชั่นอนาล็อกสัญญาณผสม และแฟลช-ไอพี ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ลดต้นทุนรวมของทั้งระบบ และร่นระยะเวลาในการนำเสนอแอพพลิเคชั่นหลายพันรายการสำหรับลูกค้าในตลาดทั่วโลก สำนักงานใหญ่ของไมโครชิปตั้งอยู่ที่เมืองแชนด์เลอร์ รัฐแอริโซนา บริษัทนำเสนอการสนับสนุนด้านเทคนิคที่เป็นเลิศ พร้อมกับการขนส่งและคุณภาพที่เชื่อถือได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ของไมโครชิป http://www.microchip.com/Homepage-090915a
หมายเหตุ: ชื่อและโลโก้ Microchip, PIC, MPLAB และ mTouch เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัท ไมโครชิป เทคโนโลยี อินคอร์ปอเรทเต็ด ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ในขณะที่ PICDEM, PICkit และ REAL ICE เป็นเครื่องหมายการค้าของไมโครชิป เทคโนโลยี อิงค์ ส่วนเครื่องหมายการค้าอื่นๆทั้งหมดที่ระบุถึงในข่าวฉบับนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทที่เป็นเจ้าของ
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
Daphne Yuen จากไมโครชิป
โทร: +852-2943-5115
อีเมล: daphne.yuen@microchip.com
รูปภาพ - http://photos.prnasia.com/prnh/20150907/8521403343