omniture

เกษตรกรไทยในนามสมาพันธ์เกษตรปลอดภัย มั่นคง ยั่งยืนแห่งชาติ (สกปช.) ขานรับรัฐบาลในการยกร่างพ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ

NCSSSA
2015-12-08 14:46 400

สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติขานรับครม. ในการ "ให้ความสำคัญต่อเกษตรกรไทย"

กรุงเทพฯ  8 ธันวาคม 2558จากกรณีความคืบหน้าของการออกพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพที่ได้ผ่านความเห็นชอบจากทางคณะรัฐมนตรีแล้วนั้น สมาพันธ์เกษตรปลอดภัย มั่นคง ยั่งยืนแห่งชาติ (สกปช.) ได้แสดงการขานรับสนับสนุนบทบาทของรัฐบาลอย่างเต็มที่ โดยพ.ร.บ. ดังกล่าวซึ่งนำเสนอโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะช่วยกำหนดกรอบระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ สำหรับการปลูกพืชจีเอ็มโอหรือพืชเทคโนชีวภาพในประเทศไทย

นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดในคณะสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ซึ่งเป็นเกษตรกรที่ได้รับการยอมรับท่านหนึ่ง ให้ความเห็นสอดคล้องกับสกปช.

"เกษตรกรไทยเป็นเกษตรกรที่มีคุณภาพมาก เห็นได้จากการที่ไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารชั้นนำของโลก อย่างไรก็ดี เนื่องจากเกษตรกรไทยต้องเผชิญกับความท้าทายหลายอย่างในอุตสาหกรรม ประกอบกับความก้าวหน้าของเกษตรกรรมแผนใหม่ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและที่ต่าง ๆ ทั่วโลก เกษตรกรไทยเราจึงมีความเสี่ยงไม่สามารถก้าวทันต่อสถานการณ์ ในฐานะตัวแทนเกษตรกรไทย จึงยินดีที่เห็นครม.ให้ความสำคัญต่อเกษตรกรในครั้งนี้" นายสุกรรณ์ กล่าว

ทั้งนี้ ตัวเลขประมาณการจำนวนประชากรโลกนั้น คาดว่าจะสูงถึง 9 พันล้านคนภายในปีพ.ศ. 2593 ซึ่งจำนวนประชากรในเอเชียภูมิภาคเดียวก็มากกว่า 1 พันล้านคนแล้ว ในช่วงระยะเวลา 10 ปี คาดว่าจะมีประชากรชาย หญิง และเด็กเพิ่มขึ้นอีก 60 ล้านคนที่อยู่อาศัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการรองรับต่ออุปสงค์ต่าง ๆ ที่จะตามมา เกษตรกรทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกจึงจำเป็นต้องเร่งผลิตอาหารให้มากขึ้น โดยอาจต้องผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 70 ของอัตราการผลิตในปัจจุบัน

อย่างไรก็ดี จากผลที่ทรัพยากรน้ำและพื้นที่ที่เหมาะแก่การเพาะปลูกมีน้อยลง ภัยจากศัตรูพืชและโรคต่าง ๆ รวมถึงสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เกษตรกรไทยจึงมีความกดดันในการเพิ่มผลผลิตภายใต้ข้อจำกัดที่ทรัพยากรมีน้อยลง ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร รวมทั้งความมั่นคงทางอาหารของชาติด้วย

ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีพฤกษศาสตร์ (รวมถึงจีเอ็มโอหรือเทคโนโลยีชีวภาพด้านพฤกษศาสตร์) นับเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งในการขจัดปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารของไทย รวมถึงปัญหาความหิวโหยในหลาย ๆ ประเทศ จากสถิติขององค์กร ISAAA (International Service for the Acquisition of Agri- Biotech Applications) พบว่า การใช้เทคโนโลยีชีวภาพช่วยเพิ่มผลผลิตได้ถึงร้อยละ 22 และเพิ่มผลกำไรของเกษตรกรได้ถึงร้อยละ 68 ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาระหว่างพ.ศ. 2538-2557

"การพัฒนาครั้งนี้ เป็นก้าวสำคัญที่จะผลักดันให้เกษตรกรไทยเจริญก้าวหน้าต่อเนื่อง เป็นกำลังสำคัญต่อการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้แก่ประเทศ เกษตรกรของชาติจึงขานรับสนับสนุนความพยายามของรัฐบาลด้วยความมั่นใจ" นายสุกรรณ์กล่าวเสริม

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน ติดต่อ

บริษัท อาซิแอม เบอร์สันกัดมาร์สเตลเลอร์ จำ
สาธิดา ศรีธัญญาธรณ์ 
โทร. +66-2252-9871 
อีเมล satida.s@abm.co.th 

Logo - http://photos.prnasia.com/prnh/20151208/8521508370logo

Source: NCSSSA
Keywords: Agriculture Biotechnology Environmental Products & Services Green Technology Advocacy Group Opinion
Related News