ซานดิเอโก—11 ธ.ค.—พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
หัวเว่ยประกาศวิสัยทัศน์และแนวคิดใหม่อย่างยิ่งใหญ่สำหรับวงการสถาปัตยกรรมเครือข่ายของผู้ให้บริการ ซึ่งได้แก่เครือข่ายที่ได้รับแรงขับเคลื่อนจากการใช้งาน (Application-driven Network: ADN) ที่งาน IEEE Globecom 2015 ในเมืองซานดิเอโก โดย ADN ซึ่งได้รับการพัฒนาในห้องปฏิบัติการ 2012 Laboratories ตามโครงการ Future Network Theory Lab ของหัวเว่ย จะทำหน้าที่จัดลำดับความสำคัญของการใช้งานเครือข่ายและความต้องการบริการในการออกแบบและความก้าวหน้าของเครือข่าย จากที่แต่เดิมนั้นมุ่งเน้นที่การใช้ทรัพยากรและปรับการทำงานของเครือข่ายตามความเหมาะสม หัวเว่ยเป็นบริษัทรายแรกที่นำเสนอแนวคิดที่ว่า เครือข่ายควรให้ความสำคัญกับการใช้งานเป็นอันดับแรก และเชื่อว่าแนวคิดที่ว่านี้จะเปลี่ยนโฉมแนวทางการออกแบบและวางระบบเครือข่ายในอนาคตอย่างยิ่งใหญ่ ทั้งเครือข่ายพื้นฐานและเครือข่ายไร้สาย
ดร.เหวิน ตง บุคลากรอาวุโสของหัวเว่ย กล่าวว่า: "วิสัยทัศน์ด้านสถาปัตยกรรม ADN ที่มีความแปลกใหม่ของเรานี้ ให้ความสำคัญกับการใช้งานเป็นหลักบนเครือข่าย เพื่อยกระดับประสิทธิภาพให้กับการใช้งานเครือข่ายอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งแตกต่างไปจากสถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบเดิมๆ โดย ADN จะรองรับข้อมูลสาระสำคัญของการใช้งาน จัดระเบียบเครือข่ายใหม่ ประสานการทำงานของทรัพยากรเครือข่ายทั้งระดับโลกและในประเทศ รวมถึงการแยกการใช้งานด้วยการแบ่งชั้นบริการ ด้วยข้อได้เปรียบนี้เอง เครือข่าย ADN จึงพร้อมตอบรับกับความต้องการในการใช้งานที่หลากหลายในอนาคต เช่น เครือข่าย 5G"
ADN มีความแตกต่างด้วยการออกแบบสถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบท็อป เลเยอร์ ซึ่งไม่ได้ทำหน้าที่เพียงแค่กำหนดการใช้งานต่างๆเข้ากับเครือข่ายทางกายภาพ ที่ทำงานเสมือนท่อนำส่งด้วยการทำงานที่ค่อนข้างจำกัด แต่ ADN จะเปิดโอกาสให้เครือข่ายต่างๆที่ปรับแต่งได้อย่างเต็มรูปแบบตามความต้องการด้านการใช้งาน สามารถนำเสนอประสบการณ์ให้กับผู้ใช้งานได้อย่างเหนือชั้น
ด้วยสถาปัตยกรรมที่มีความยืดหยุ่นสำหรับการบริหารจัดการลำดับขั้น เครือข่าย ADN จะรุกปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายตามกฎยกกําลัง โดยหัวเว่ยได้มีการพิสูจน์ในทางทฤษฎีแล้วว่า สถาปัตยกรรม ADN สามารถทำให้เครือข่ายมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น รองรับกับความต้องการจากการเปลี่ยนแปลงที่นำโดยการใช้งานในอนาคต และจัดการกับผลกระทบจากความไม่แน่นอนอื่นๆได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ADN จะเปลี่ยนโฉมโมเดลการทำงานของเครือข่าย ซึ่งก่อให้เกิดการวางรากฐานใหม่เพื่อก้าวออกจากการใช้ KPI ที่ขับเคลื่อนโดยเครือข่าย เป็น KPI ที่ขับเคลื่อนโดยประสบการณ์การใช้บริการ ซึ่งเปิดโอกาสให้เหล่าผู้ให้บริการสามารถยกระดับรูปแบบรายได้ (revenue stream) บนเครือข่ายของตนเอง
วิสัยทัศน์ใหม่ที่ผสานเทคโนโลยี NFV และ SDN เป็นหนึ่งเดียว
ADN จะรองรับการแยกส่วนเครือข่าย 5G และจะส่งเสริมวิวัฒนาการด้านเครือข่ายทั้งในอนาคตอันใกล้และระยะยาวต่อไป ADN จะทำงานอย่างแตกต่างไปจากแนวคิด NFV และ SDN ที่มีอยู่เดิม แต่จะผนวกรวมเทคโนโลยี NFV และ SDN ซึ่งยังไม่ได้มอบผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจสู่สถาปัตยกรรมเครือข่ายที่มุ่งเน้นประสบการณ์การใช้งานอย่างครอบคลุม โดยในขณะที่ ADN ให้ความสำคัญกับสถาปัตยกรรมเครือข่าย ด้าน NFV ก็ทำหน้าที่เป็นเทคโนโลยีสนับสนุนสำหรับการดำเนินการ ส่วน SDN นั้นทำงานในส่วนของระบบวิศวกรรม