omniture

หัวเว่ย เดินหน้านวัตกรรม ICT สร้างระบบควบคุมสั่งการเมืองอัจฉริยะ หนุนพัฒนาสมาร์ทซิตี้กว่า 100 แห่ง

Huawei
2017-11-16 15:31 592

บาร์เซโลนา, สเปน--16 พ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

แลกเปลี่ยนแนวทางระดับโลกในงานประชุม SCEWC 2017 ณ บาร์เซโลนา

หัวเว่ย เข้าร่วมการประชุม Smart City Expo World Congress 2017 (SCEWC) ในบาร์เซโลนา ที่จัดขึ้นภายใต้แนวคิด "Leading New ICT, Creating a Smart City Nervous System" เพื่อเน้นย้ำว่า เมืองอัจฉริยะเปรียบเสมือนสิ่งมีชีวิตที่ทำงานได้อย่างไร้รอยต่อเพื่อเรียนรู้และยกระดับบริการต่างๆในเมืองอย่างต่อเนื่อง โดยภายในงานนี้ หัวเว่ย ร่วมกับพันธมิตรระดับโลก ได้จัดแสดงโซลูชั่น ICT ที่เชื่อมโลกดิจิทัลและโลกกายภาพเข้าด้วยกัน เพื่อการบริหารจัดการเมือง บริการสาธารณะ และเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ซึ่งนวัตกรรม ICT รูปแบบใหม่ๆ อาทิ คลาวด์คอมพิวติ้ง บิ๊กดาต้า อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้โซลูชั่นเหล่านี้ขับเคลื่อนความร่วมมือที่เป็นหนึ่ง ตลอดจนผลักดันการประสานงานระหว่างภาคธุรกิจ และการวิเคราะห์อัจฉริยะ เพื่อการจัดการบริการต่างๆในเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในโอกาสนี้ หัวเว่ยยังได้เป็นเจ้าภาพจัดงาน Global Smart City Summit ขนานกับการประชุม SCEWC โดยเปิดโอกาสให้บรรดาตัวแทนจากสหภาพยุโรป องค์กรมาตรฐานสากล บริษัทที่ปรึกษาชื่อดังระดับโลก สถาบันวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเมืองอัจฉริยะชั้นแนวหน้า ได้มาร่วมกันแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ร่วมกับคณะผู้บริหารเมืองกว่า 400 คนจากทั่วทุกมุมโลก  

หัวเว่ย สร้างระบบประสาทควบคุมสั่งการเมืองอัจฉริยะ ขับเคลื่อนให้เมืองมีชีวิต

การที่จะพัฒนาเมืองให้กลายเป็นเมืองอัจฉริยะนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านเมืองสู่ดิจิทัล เพื่อรับมือกับความท้าทายในโลกความเป็นจริงทางกายภาพ กระบวนการดังกล่าวต้องการระบบที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ซึ่งผสานการจัดการและข้อมูล IoT เข้าด้วยกัน เพื่อช่วยให้ทางการสามารถจัดการเมืองและบูรณาการโลกดิจิทัลและโลกกายภาพ การพัฒนาเมืองอัจฉริยะจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารเมืองตั้งแต่ฐานราก และต้องเป็นยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เพื่อการพัฒนาอันรุ่งเรือง นอกจากนี้ยังต้องมีทีมงานที่แข็งแกร่งและมีความสามารถ การลงทุนระยะยาวและมีเสถียรภาพ และผู้นำเมืองต้องร่วมมือกับผู้ให้บริการดิจิทัลระดับชั้นนำที่สามารถช่วยเหลือด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลได้

หยาน หลี่ต้า ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ ของหัวเว่ย กล่าวว่า "เมืองอัจฉริยะเปรียบเสมือนสิ่งมีชีวิต ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยระบบประสาท ระบบประสาทของเมืองอัจฉริยะนี้ประกอบไปด้วย "สมอง" (ศูนย์ควบคุม) และ "เส้นประสาท" (เครือข่ายและเซ็นเซอร์) ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของเมืองในแบบเรียลไทม์ จากนั้นจึงถ่ายทอดข้อมูล เพื่อช่วยให้ "สมอง" วิเคราะห์และทำการตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่ ต่อไปจึงควบคุมสั่งการ และนำไปสู่การดำเนินการอย่างอัจฉริยะในท้ายที่สุด สิ่งนี้จะช่วยสร้างความเชื่อมโยงระหว่างโลกดิจิทัลและโลกกายภาพได้อย่างไร้รอยต่อ หัวเว่ยได้ใช้ประโยชน์จากนวัตกรรม ICT รูปแบบใหม่ๆ เช่น คลาวด์คอมพิวติ้ง, IoT และ AI ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างระบบประสาทที่แข็งแกร่งเพื่อเป็นขุมพลังขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ เราพัฒนาแพลตฟอร์มแบบเปิดสำหรับเมืองอัจฉริยะโดยอาศัยนวัตกรรมและการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่หลากหลาย แพลตฟอร์มที่เราพัฒนาขึ้นนี้สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆได้หลายชนิด และสามารถรองรับการประยุกต์ใช้งานในหลายรูปแบบ เราตั้งเป้าหมายที่จะเป็นผืนดินอันอุดมสมบูรณ์ที่สนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน หัวเว่ยเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการโซลูชั่น ICT เพียงไม่กี่เจ้าในอุตสาหกรรมที่สามารถนำเสนอโซลูชั่น cloud-pipe-device ได้อย่างครบวงจร อันจะนำไปสู่การเชื่อมต่อระหว่างโลกดิจิทัลและโลกกายภาพ เราจะเดินหน้าทำงานร่วมกับพันธมิตรในวงการเพื่อสร้างสรรค์การออกแบบในระดับสูงสุด ซึ่งจะช่วยตอบสนองความต้องการของเหล่าผู้บริหารเมือง และบรรลุเป้าหมายแห่งการเป็นเมืองอัจฉริยะ รวมทั้งจะร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อทำให้เกิดการบริหารจัดการเมืองที่ดี ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม และนำผลประโยชน์ไปสู่ประชาชน

หยาน หลี่ต้า ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ ของหัวเว่ย กล่าวสุนทรพจน์ที่งานประชุมสุดยอด Global Smart City Summit จัดโดยหัวเว่ย
หยาน หลี่ต้า ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ ของหัวเว่ย กล่าวสุนทรพจน์ที่งานประชุมสุดยอด Global Smart City Summit จัดโดยหัวเว่ย

หัวเว่ย เผยโฉมศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะสู่สายตาผู้ร่วมงานจากทั่วโลก

ในระหว่างการประชุมสุดยอด Global Smart City Summit หัวเว่ยได้เปิดตัวศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ หรือ Intelligent Operation Center (IOC) ซึ่งเป็นโซลูชั่นที่ทำหน้าที่เป็น "สมอง" ให้กับเมืองอัจฉริยะ พร้อมเชื่อมต่อโลกดิจิทัลกับโลกกายภาพ

โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับ IOC ประกอบด้วย ศูนย์ข้อมูลคลาวด์แบบกระจาย และเครือข่ายเมืองแบบยูบิควิตัส ซึ่งจะรวบรวม ผสมผสาน และแบ่งปันข้อมูลต่างๆของเมือง ทำให้สามารถสอดส่องดูแลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองได้แบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ IOC ยังใช้แพลตฟอร์มการสื่อสารแบบบูรณาการ หรือ Integrated Communications Platform (ICP) ซึ่งช่วยให้ส่วนหน้าที่ต่างๆของเมืองสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างชาญฉลาด ตลอดจนส่งความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินได้ทันท่วงที โดย IOC ได้นำเทคโนโลยีบิ๊กดาต้า การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) และปัญญาประดิษฐ์มาใช้ เพื่อมอบข้อมูลเชิงลึกที่มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการวางผังเมืองและบริหารจัดการบริการที่สำคัญๆ อย่างเช่นการขนส่ง และการรักษาความปลอดภัย

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังมีบริการบรอดแบนด์ทั้งแบบใช้สายและไร้สาย, แพลตฟอร์ม IoT และระบบปฏิบัติการ LiteOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการอัจฉริยะขนาดเล็กที่มีความปลอดภัย ทำหน้าที่เหมือนกับระบบประสาทส่วนปลายที่คอยรวบรวมข้อมูลมาช่วยในการตัดสินใจของสมอง ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในโลกทางกายภาพ

การปฏิวัติเมืองอัจฉริยะต้องอาศัยการเชื่อมต่อโครงข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบ  E2E และพันธมิตรด้านดิจิทัลที่สามารถให้การสนับสนุนอย่างรอบด้าน

หัวเว่ยและพันธมิตรร่วมกันรังสรรค์นวัตกรรมเพื่อสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืนและขับเคลื่อนโซลูชั่นเมืองอัจฉริยะในห้องวิจัยแบบเปิด หรือ OpenLabs ทั้ง 13 แห่งทั่วโลก โดย OpenLabs นำเสนอแพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐาน ICT แบบเปิดที่ครบวงจรเบ็ดเสร็จในจุดเดียว ที่ช่วยให้พันธมิตรสามารถทดลองและตรวจสอบโซลูชั่นเมืองอัจฉริยะในสภาพแวดล้อมที่แท้จริงของเครือข่าย ดำเนินการวิจัยที่เป็นประโยชน์ ทำการตลาดและนำเสนอโซลูชั่น ตลอดจนได้เรียนรู้แนวทางการปฏิบัติและแนวทางแก้ปัญหาของเมืองอัจฉริยะ หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะสร้างแพลตฟอร์มเพื่อช่วยให้พันธมิตรสามารถพัฒนาเทคโนโลยีของพวกเขาได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเดินหน้าลงทุนในการพัฒนาระบบนิเวศให้เติบโตต่อไป

ความสามารถที่เพียบพร้อมในด้าน ICT ตลอดจนระบบนิเวศที่มีประสิทธิภาพ ทำให้หัวเว่ยสามารถให้การสนับสนุนด้าน ICT แก่เหล่าผู้บริหารเมืองได้อย่างรอบด้าน โดยในปัจจุบันโซลูชั่นเมืองอัจฉริยะของหัวเว่ยได้ช่วยสนับสนุนเมืองมากกว่า 120 แห่งในกว่า 40 ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศจีนนั้น หัวเว่ยได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเกณฑ์การประเมินเมืองอัจฉริยะ 26 ข้อ จนนำไปสู่การปรับปรุงเกณฑ์การประเมิน 9 ข้อ

หัวเว่ยกำลังจัดแสดงโซลูชั่นเมืองอัจฉริยะร่วมกับ SAP, Honeywell, Hexagon, Chinasoft International, Esri, RuiCheng Technology และพันธมิตรอุตสาหกรรมอีกหลายราย ที่งาน SCEWC ซึ่งโซลูชั่นครบวงจรที่นำมาจัดแสดงนั้นรวมถึง:

- หัวเว่ยใช้แพลตฟอร์ม IoT, ระบบปฏิบัติการ LiteOS และเทคโนโลยีขั้นสูง อาทิ Narrowband IoT (NB-IoT), eLTE-IoT และ AI เพื่อสร้างระบบยูบิควิตัสเซนซิง โดยรูปแบบการใช้งานอัจฉริยะต่างๆ อาทิ ถังขยะอัจฉริยะ ไฟถนนอัจฉริยะ การรดน้ำอัจฉริยะ อาคารอัจฉริยะ และบริการสุขภาพอัจฉริยะ ได้ช่วยยกระดับประสิทธิภาพการบริหาร ความมั่นคงสาธารณะ และความเป็นอยู่ของประชาชน การบริหารเมืองแบบที่สามารถมองเห็นข้อมูลของเมืองทั้งเมืองได้ในแบบเรียลไทม์และมีการร่วมมือกันหลายฝ่าย ตลอดจนการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินและประสิทธิภาพในการตัดสินใจที่ดีขึ้นนั้นเกิดขึ้นได้ด้วยการสนับสนุนของ IOC ซึ่งประกอบด้วยศูนย์ข้อมูลแบบคลาวด์ แพลตฟอร์มสนับสนุนบริการบิ๊กดาต้า และแพลตฟอร์มสนับสนุนการใช้งาน ICT

- เทคโนโลยีคลาวด์ของหัวเว่ยสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมบริการ ทั้งการบริหารเมืองสำหรับรัฐบาล และบริการสาธารณะสำหรับชาวเมือง บริการเหล่านี้ ได้แก่ รัฐบาลอัจฉริยะ บริการสุขภาพอัจฉริยะ การศึกษาอัจฉริยะ การไฟฟ้าอัจฉริยะ และการขนส่งอัจฉริยะ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยยกระดับความพึงพอใจของประชาชน

- หัวเว่ยได้เปิดตัว Smart Campus Solution เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาและวิวัฒนาการอุตสาหกรรม ตลอดจนส่งเสริมการรวมระบบอัจฉริยะและดิจิทัล ยกตัวอย่างที่เมืองตุนหวง ประเทศจีน ศูนย์ข้อมูลคลาวด์ แพลตฟอร์มบิ๊กดาต้า และเทคโนโลยี IoT ของหัวเว่ยได้ช่วยปรับปรุงคุณภาพบริการการท่องเที่ยวและบริการสาธารณะให้มีความเป็นอัจฉริยะ โดยเมืองแห่งนี้ได้ต้อนรับนักท่องเที่ยว 8 ล้านคนในปี 2559 เพิ่มขึ้น 32% เมื่อเทียบกับปี 2558 และปัจจุบันจุดชมวิวต่างๆ สามารถรองรับนักท่องเที่ยวมากขึ้น 40% โดยใช้เจ้าหน้าที่บริการน้อยลง 20%

ติดต่อ:

Li Qiwei (Kiwi)
โทร: +86-755-28780808
อีเมล: liqiwei2@huawei.com  

รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20171115/1993293-1  

Source: Huawei
Keywords: Computer Hardware Computer Networks Computer Software Computer/Electronics Internet Technology Telecommunications Telecommunications Equipment New products/services
Related News