เซาเปาโล - 25 ธ.ค.- พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
ทีมแพทย์บราซิล ซึ่งนำโดยศาสตราจารย์การ์ลอส เปดรา จากสถาบัน Dante Pazzanese Institute of Cardiovascular Technology ในเมืองเซาเปาโล ประสบความสำเร็จในการใส่ลิ้นหัวใจพัลโมนารี VenusP-Valve ผ่านสายสวนในระดับคลินิก 4 ครั้ง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 ตามเวลาท้องถิ่น
บราซิลได้กลายเป็นประเทศที่สามในภูมิภาคลาตินอเมริกา ถัดจากชิลีและอาร์เจนตินา ที่ใช้ระบบลิ้นหัวใจของบริษัท Venus Medtech (Hangzhou) Inc. ทั้งยังเป็นการใช้ระบบลิ้นหัวใจที่ผลิตขึ้นในจีนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของบราซิลอีกด้วย
ปัจจุบัน ในเด็กแรกเกิดทุก 10,000 คนทั่วโลก จะมี 16 คนที่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเนื่องด้วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด การผ่าตัดในลักษณะนี้อาจทำให้เกิดโรคลิ้นหัวใจพัลโมนารีรั่วรุนแรง อย่างไรก็ดี ผลิตภัณฑ์ลิ้นพัลโมนารีสำหรับการทำหัตถการที่มีจำหน่ายอยู่ในตลาดโลกทุกวันนี้นั้น ใช้ได้เฉพาะกับผู้ป่วยที่มีลักษณะทางกายภาพพิเศษและมีอาการไม่รุนแรง ซึ่งหมายความว่า ยังมีผู้ป่วยที่มีลักษณะทางกายภาพซับซ้อนและหัวใจด้านขวาทำงานไม่มีประสิทธิภาพอีกจำนวนมากที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการทำหัตถการด้วยผลิตภัณฑ์ลิ้นพัลโมนารี ที่สามารถรองรับโครงสร้างทางกายภาพในลักษณะต่างๆ และทำงานได้อย่างง่ายดาย ปลอดภัย และเสถียร
Venus Medtech (Hangzhou) Inc. ได้พัฒนาและผลิตลิ้นพัลโมนารีผ่านสายสวน VenusP-Valve ขึ้น ซึ่งเป็นลิ้นพัลโมนารีสำหรับการทำหัตถการตัวแรกของโลกที่ขยายตัวได้เอง VenusP-Valve มีดีไซน์ทรงทรัมเป็ตคู่อันเป็นเอกลักษณ์ พร้อมเทคโนโลยีตัดด้วยเลเซอร์สำหรับสเต็นท์ลิ้นหัวใจ ทั้งยังรองรับแนวรัศมีได้อย่างแข็งแกร่ง ยึดเหนี่ยวได้อย่างมั่นคง และปลดออกได้ง่าย ไม่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวหรือย้ายที่ขณะกำลังปลด VenusP-Valve สามารถรองรับหลอดเลือดพัลโมนารีอาร์เทอรีที่มีโครงสร้างทางกายภาพแตกต่างกัน และยังประกอบด้วยลิ้นพัลโมนารีสำหรับการทำหัตถการตัวเดียวของโลก ที่สามารถใช้เพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีทางออกของหัวใจห้องล่างขวาขนาดใหญ่
นับตั้งแต่ประเดิมความสำเร็จในการใส่ VenusP-Valve ในมนุษย์เป็นครั้งแรกโดยนักวิชาการชื่อ เก่อ จุนโป ณ โรงพยาบาล Zhongshan Hospital นครเซี่ยงไฮ้ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2556 ลิ้นหัวใจรุ่นนี้ก็ได้มีบทบาทในกว่า 20 ประเทศทั่วเอเชีย ยุโรป และอเมริกา โดยปัจจุบัน องค์การอาหารและยาของจีน (CFDA) ได้เสร็จสิ้นการทดลองผลิตภัณฑ์นี้ทางคลินิก ขณะที่การทดสอบทางคลินิกเพื่อขอมาตรฐาน CE ของยุโรปก็ผ่านมาแล้วกว่าครึ่งทาง ส่วนการเดินเรื่องกับองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ก็เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย เพื่อเริ่มดำเนินการทดลองทางคลินิกก่อนการเปิดตัวในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเราหวังว่า VenusP-Valve ที่ให้ผลลัพธ์ทางคลินิกอันเป็นเลิศนี้ จะได้รับการอนุมัติอย่างเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นได้รับการรักษาที่เหมาะสมกับตนเอง