หางโจว, จีน และแวนคูเวอร์, แคนาดา--15 มิ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
- การเปลี่ยนลิ้นหัวใจพัลโมนารีผ่านสายสวน VenusP-Valve ครั้งแรกในอเมริกาเหนือ ประสบความสำเร็จผ่านพ้นไปด้วยดีที่แวนคูเวอร์ แคนาดา
เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. ที่ผ่านมา โรงพยาบาลเซนต์พอลในเมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนลิ้นหัวใจพัลโมนารีแบบขยายได้เองผ่านสายสวน VenusP-Valve ให้กับผู้ป่วยสองราย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการนำผลิตภัณฑ์ลิ้นหัวใจผ่านสายสวนของ Venus Medtech มาใช้ในอเมริกาเหนือ ขณะที่บริษัทยังคงเดินหน้าก้าวสู่ความเป็นสากลต่อไป
แม้ว่าการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดได้พัฒนาไปไกลในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา แต่การผ่าตัดผู้ป่วยที่มีความผิดปกติร่วมกับ right ventricular outflow tract (RVOT) นั้น อาจส่งผลให้เกิดอาการลิ้นหัวใจพัลโมนารีรั่วเรื้อรัง ทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ หรือทำบอลลูนขยายลิ้นหัวใจ
การทำบอลลูนขยายลิ้นหัวใจได้กลายเป็นทางเลือกที่ประสบความสำเร็จแทนการผ่าตัดในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การขยายลิ้นหัวใจด้วยบอลลูนในปัจจุบัน เหมาะสำหรับการทำ outflow tract reconstructionด้วยการผ่าตัดผ่านสายสวนเท่านั้น และการรักษาอาการลิ้นหัวใจพัลโมนารีรั่วก่อนที่จะมีการทำ RVOT patch augmentation ถูกจำกัดเฉพาะการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเท่านั้น เนื่องจากข้อจำกัดด้านขนาดของลิ้นหัวใจที่ขยายด้วยบอลลูน เมื่อเทียบกับ outflow tract ที่มักขยายออกมากกว่าปกติ
ลิ้นหัวใจ VenusP-valve ที่ขยายตัวได้เองนั้น ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นพิเศษสำหรับการทำบอลลูนบริเวณRVOT เพื่อจัดการกับความท้าทายหาก outflow tract ขยายใหญ่ขึ้น ทั้งยังตอบรับกับความต้องการของผู้ป่วยกว่า 85% ที่ไม่ต้องการผ่ากระดูกหน้าอก (sternotomy) และใช้เครื่องปอด-หัวใจเทียม (cardiopulmonary bypass) ขณะเข้ารับการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนลิ้นหัวใจแบบดั้งเดิม
เทคนิคดังกล่าวถูกนำไปใช้กับผู้ป่วยสองรายที่เคยเข้ารับการผ่าตัดแบบ patch เพื่อรักษาอาการ tetralogy of Fallot โดย Dr. Ronald G Carere และ Dr. Mounir Riahi (จากโรงพยาบาลเซนต์พอล ประเทศแคนาดา) เห็นพ้องกับ Dr. Shakeel Qureshi (จากโรงพยาบาลเด็กอีฟลินา บริเตนใหญ่) และ Dr. Gejun Zhang (จากโรงพยาบาลฝู้ไหว้ ประเทศจีน) ว่าผู้ป่วยเหล่านี้มีความเสี่ยงมากกว่าในการทำ reventriculotomy ขณะที่ผลิตภัณฑ์ลิ้นหัวใจพัลโมนารีผ่านสายสวนที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นไม่เหมาะกับเคสดังกล่าว ทางทีมผู้เชี่ยวชาญจึงมองว่า VenusP-Valve เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสมที่สุดในการตอบโจทย์นี้ โดยDr. Carere กล่าวว่า "VenusP-Valve ให้ผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยม และมีระบบดำเนินงานที่ไม่ซับซ้อน เรารู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่มีอุปกรณ์นี้อยู่ในศูนย์ของเรา และเราหวังว่าอุปกรณ์ดังกล่าวจะแพร่หลายในแคนาดา"
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ระบบลิ้นหัวใจเทียมผ่านทางสายสวนที่ Venus Medtech ได้พัฒนาขึ้นนั้น ได้รับความสนใจมากขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก โดยการทดลองทางคลินิกแบบหลายศูนย์ที่ใช้ VenusP-Valve ในการทดลองและกำลังจะเกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้ ได้รับความสนใจมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 200 รายจากเกือบ 30 ประเทศทั่วโลก ทั้งนี้ การใส่ลิ้นหัวใจ VenusP-Valve ครั้งแรกในแคนาดาถือเป็นการบุกตลาดอเมริกาเหนืออย่างเป็นทางการของ Venus Medtech และบริษัทคาดว่าจะเปิดตัวโครงการทดลองระยะคลินิกที่ได้รับการรับรองจาก FDA อย่างเป็นทางการได้ในปี 2562