omniture

นักวิทยาศาสตร์จัดอันดับหอคอยเก็บน้ำจากภูเขาที่มีความสำคัญและถูกคุกคามมากที่สุดในโลก

National Geographic Society
2019-12-11 09:58 460

งานวิจัยชิ้นใหม่เผยข้อมูลเชิงลึกว่าด้วยระบบทรัพยากรน้ำจากธารน้ำแข็งภูเขา ที่มีบทบาทหรือส่งผลกระทบต่อประชากรถึง 1.9 พันล้านคนทั่วโลก

วอชิงตัน, Dec. 11, 2019 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ -- นักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกได้ประเมินระบบน้ำจากธารน้ำแข็งภูเขา (mountain glacier) 78 แห่งทั่วโลก และเป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ได้จัดอันดับความสำคัญของระบบน้ำเหล่านี้ที่มีต่อชุมชนที่ราบลุ่มซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งประเมินความเปราะบางจากการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมและสังคมเศรษฐกิจในอนาคตที่จะส่งผลต่อระบบน้ำ ระบบเหล่านี้ หรือที่เรียกว่า หอคอยเก็บน้ำจากภูเขา (mountain water towers) ทำหน้าที่กักเก็บและขนส่งน้ำผ่านธารน้ำแข็ง ทุ่งหิมะ ทะเลสาบ และลำธาร ซึ่งถือเป็นการจัดหาทรัพยากรน้ำที่มีค่าแก่ประชากร 1.9 พันล้านคนทั่วโลก หรือประมาณหนึ่งในสี่ของประชากรโลก 

Melting ice from the Khumbu glacier runs down the mountain at Everest Base Camp, Nepal in the Ganges-Bramaputra water tower. The region is expected to see a 1.6 degree C temperature rise by 2050. New research supported by National Geographic and Rolex’s Perpetual Planet partnership highlights the importance and vulnerability of the world’s glacier-based water systems. Learn more at natgeo.com/PerpetualPlanet. Photo Credit: Brittany Mumma, National Geographic. (PRNewsfoto/National Geographic Society)
Melting ice from the Khumbu glacier runs down the mountain at Everest Base Camp, Nepal in the Ganges-Bramaputra water tower. The region is expected to see a 1.6 degree C temperature rise by 2050. New research supported by National Geographic and Rolex’s Perpetual Planet partnership highlights the importance and vulnerability of the world’s glacier-based water systems. Learn more at natgeo.com/PerpetualPlanet. Photo Credit: Brittany Mumma, National Geographic. (PRNewsfoto/National Geographic Society)

งานวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ Nature ที่มีชื่อเสียง โดยแสดงหลักฐานว่า หอคอยเก็บน้ำทั่วโลกกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง และหลายแห่งอยู่ในขั้นวิกฤต เนื่องจากภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น การจัดการทรัพยากรน้ำที่ผิดพลาด และปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์อื่น ๆ นอกจากนี้ ผู้เขียนสรุปว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ว่าด้วยการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการอนุรักษ์ภูเขาในระดับนานาชาติ เพื่อปกป้องทั้งระบบนิเวศและประชาชนที่อยู่ปลายน้ำ

จากการศึกษาทั่วโลกพบว่า ระบบภูเขาที่คนพึ่งพามากที่สุดคือ หอคอยเก็บน้ำจากแม่น้ำสินธุในเอเชีย ขณะเดียวกัน หอคอยกักเก็บน้ำสินธุ ซึ่งประกอบไปด้วยพื้นที่อันกว้างใหญ่ของเทือกเขาหิมาลัย และครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของอัฟกานิสถาน จีน อินเดีย และปากีสถาน ยังเป็นหนึ่งในระบบภูเขาที่เปราะบางมากที่สุดอีกด้วย ส่วนระบบหอคอยกักเก็บน้ำแห่งอื่น ๆ ที่ติดอันดับสูงรองลงมา ได้แก่ บริเวณเทือกเขาแอนดีสตอนใต้ เทือกเขาร็อคกี้ และเทือกเขาแอลป์ของยุโรป

ในการกำหนดความสำคัญของหอคอยกักเก็บน้ำทั้ง 78 แห่งนั้น นักวิจัยได้วิเคราะห์ปัจจัยที่หลากหลายเพื่อทราบว่า ชุมชนปลายน้ำพึ่งพาแหล่งน้ำจากระบบเหล่านี้อย่างไร นอกจากนี้ นักวิจัยยังได้ประเมินความเปราะบางของทรัพยากรน้ำ ตลอดจนผู้คน และระบบนิเวศที่พึ่งพาแหล่งน้ำเหล่านี้ โดยพิจารณาจากการพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต

หอคอยกักเก็บน้ำที่มีประชากรพึ่งพามากที่สุด 5 อันดับ จาก 78 แห่งทั่วโลก โดยแบ่งตามทวีป ได้แก่

  • เอเชีย: สินธุ ทาริม อามูดาร์ยา ซีร์ดาร์ยา คงคา-พรหมบุตร
  • ยุโรป: โรน  โป ไรน์ ชายฝั่งทางตอนเหนือของทะเลดำ ชายฝั่งทะเลแคสเปียน
  • อเมริกาเหนือ: เฟรเซอร์ โคลัมเบียและภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกและอาร์กติก ซัสแคตเชวัน-เนลสัน โคโลราโด
  • อเมริกาใต้: ชิลีใต้ อาร์เจนตินาใต้ เนโกร ภูมิภาคลาปูนา ชีลีเหนือ

งานวิจัยดังกล่าวเขียนโดยนักวิทยาศาสตร์ 32 คนจากทั่วโลก นำโดย ศ.วอลเตอร์ อิมเมอร์ซีล และ ดร.อาร์เธอร์ ลุตซ์ จากมหาวิทยาลัยอูเทรคต์ สองนักวิจัยผู้ศึกษาด้านน้ำและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบริเวณเทือกเขาสูงของเอเชียมาเป็นเวลายาวนาน

ศ. อิมเมอร์ซีล ระบุว่า "สิ่งที่พิเศษเกี่ยวกับงานวิจัยของเราคือ เราได้ประเมินความสำคัญของหอคอยเก็บน้ำ โดยไม่เพียงสังเกตว่าหอคอยเหล่านี้กักเก็บและจัดส่งน้ำอย่างไร แต่ยังรวมถึงปริมาณน้ำจากภูเขาที่ปลายน้ำต้องการ ตลอดจนระบบน้ำและชุมชนเหล่านี้มีความเปราะบางอย่างไรต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า" ขณะที่ดร.ลุตซ์ เสริมว่า "จากการประเมินหอคอยเก็บน้ำจากธารน้ำแข็งทุกแห่งบนโลกใบนี้ เราสามารถบ่งชี้แอ่งน้ำสำคัญที่ควรถูกหยิบยกขึ้นเป็นระเบียบวาระสำคัญทางการเมืองระดับภูมิภาคและระดับโลก"

งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนโดย National Geographic และ Rolex โดยเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่างสององค์กรในนามพันธมิตร Perpetual Planet ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยให้เห็นถึงความท้าทายที่ระบบช่วยชีวิต (life-support system) ที่สำคัญยิ่งของโลกกำลังเผชิญ พร้อมทั้งสนับสนุนวิทยาศาสตร์และการสำรวจระบบเหล่านี้ ตลอดจนเสริมสร้างโอกาสให้แก่ผู้นำทั่วโลกในการพัฒนาแนวทางแก้ปัญหาเพื่อปกป้องโลก

"ภูเขาถือเป็นสัญลักษณ์และสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ทั่วโลก แต่บทบาทสำคัญยิ่งของภูเขาที่มีต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์บนโลกกลับยังไม่มีการทำความเข้าใจอย่างดีพอ" โจนาธาน เบลลี รองประธานบริหารและหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของ National Geographic Society กล่าว "งานวิจัยชิ้นนี้จะช่วยให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ ทั้งระดับโลกและระดับท้องถิ่น จัดลำดับความสำคัญของการดำเนินการเพื่อปกป้องระบบภูเขา ทรัพยากรที่ได้จากภูเขา และผู้คนที่ต้องพึ่งพาอาศัยทรัพยากรที่มีความสำคัญยิ่งเหล่านี้"

รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ natgeo.com/PerpetualPlanet

Photo - https://mma.prnewswire.com/media/1041075/National_Geographic_Society_Khumbu_Glacier.jpg

Logo - https://mma.prnewswire.com/media/1041076/National_Geographic_Society_Rolex_Logo.jpg 

Source: National Geographic Society
Keywords: Environmental Products & Services Magazines Publishing/Information Service Environmental Issues Survey, Polls & Research