omniture

เมอร์ค สนับสนุน สถาบันเจนเนอร์ บรรลุเป้าหมายแรกของการผลิตวัคซีนโควิด-19

Merck
2020-04-15 09:25 585

- แพลตฟอร์มการผลิตที่พัฒนาขึ้นล่าสุด จะสามารถรองรับการผลิตในปริมาณมาก

- ทีมนักวิจัยร่วมของสององค์กรย่นระยะเวลาในการพัฒนากระบวนการผลิตจาก 1 ปี เหลือเพียง 2 เดือน นับเป็นก้าวสำคัญของการผลิตวัคซีนโควิด-19 ในปริมาณมาก

- "เรานำอนาคตของการผลิตวัคซีนมาสู่ปัจจุบัน" อูดิท บาทรา สมาชิกคณะกรรมการบริหารของเมอร์ค และซีอีโอกลุ่มธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ กล่าว

ดาร์มสตัดท์ เยอรมนี, 15 เมษายน 2563 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ -- เมอร์ค (Merck) บริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำ ร่วมกับสถาบันเจนเนอร์ (The Jenner Institute) ประกาศว่า สถาบันเจนเนอร์ได้วางรากฐานสำหรับการผลิตวัคซีนตัวเลือก ChAdOx1 nCoV-19 ในปริมาณมาก เพื่อใช้กับผู้ป่วยโรคโควิด-19

Merck is partnering with The Jenner Institute in the institute's efforts to develop a safe and effective vaccine for Covid-19
Merck is partnering with The Jenner Institute in the institute's efforts to develop a safe and effective vaccine for Covid-19

เนืองจากมีผู้ป่วยลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการทดลองทางคลินิก การพัฒนากระบวนการผลิตขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว จึงเป็นก้าวสำคัญในการส่งมอบวัคซีนจากห้องปฏิบัติการไปถึงผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย

"เรานำอนาคตของการผลิตวัคซีนมาสู่ปัจจุบัน" อูดิท บาทรา สมาชิกคณะกรรมการบริหารของเมอร์ค และซีอีโอกลุ่มธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ (Life Science) กล่าว "นี่เป็นก้าวสำคัญสำหรับการรักษาโควิด-19 และโรคอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขทั่วโลก งานนี้นับเป็นหมุดหมายที่สำคัญในเส้นทางการพัฒนาการผลิตวัคซีน ในขณะที่การทดลองทางคลินิกจะยังคงก้าวหน้าต่อไป"

ด้วยการใช้ประโยชน์จากผลงานก่อนหน้านี้ของเมอร์ค ทำให้สถาบันเจนเนอร์มีพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับแผนการขยายการผลิตวัคซีนตัวเลือกโควิด-19 โดยปกติแล้ว การพัฒนากระบวนการผลิตอาจกินเวลาอย่างน้อยหกเดือนถึงหนึ่งปี แต่ภายในเวลาเพียงสองเดือน เมอร์คได้ให้การสนับสนุนทีมงานและผู้ร่วมโครงการของสถาบันเจนเนอร์ ในการประเมินแพลตฟอร์มการผลิตที่มีอยู่เดิม เพื่อนำมาใช้กับวัคซีนตัวใหม่ และยกระดับกระบวนการที่สำคัญ

ตลอดระยะเวลาสองปีที่่ผ่านมา ความร่วมมือของเมอร์คกับสถาบันเจนเนอร์ได้ก่อให้เกิดการพัฒนาแพลตฟอร์มที่รวดเร็วและสามารถปรับขยายได้ ตามแนวปฏิบัติด้านการผลิตที่ดีและการใช้เทคโนโลยีแบบใช้แล้วทิ้งสำหรับแพลตฟอร์มอะดีโนไวรัสของทางสถาบัน ด้วยเหตุที่ผลงานแรกเริ่มถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการผลิตวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า จากนั้นมาแพลตฟอร์มนี้จึงถูกนำมาใช้ยืนยันผลการตรวจโครงสร้างอะดีโนไวรัสที่แตกต่างกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อเร่งการพัฒนาและการผลิตวัคซีนในอนาคต ความรวดเร็วถือเป็นความท้าทายที่สำคัญเมื่อเผชิญกับการระบาดใหม่ เช่น การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งนี้ เมื่อเดือนเมษายน 2561 สององค์กรได้ประกาศความร่วมมือเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและสามารถปรับขยายได้ตามความต้องการ

"ในช่วงเวลาที่เราไม่เคยพบเจอมาก่อน ทีมนักวิจัยของสถาบันเจนเนอร์สามารถพัฒนากระบวนการผลิตขนาด 10 ลิตร โดยต่อยอดมาจากแพลตฟอร์มเดิมที่สร้างขึ้นก่อนหน้านี้กับเมอร์ค ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับเราสำหรับการดำเนินการขยายการผลิตในรอบต่อไป" ดร.แซนดี ดักลาส ผู้นำโครงการขยายขนาดการผลิตวัคซีนประจำสถาบันเจนเนอร์ กล่าว "ความร่วมมือของอุตสาหกรรม เช่น ความร่วมมือของเรากับเมอร์ค แสดงให้เห็นถึงคุณค่าของความพยายามในการเร่งการรับมือกับการแพร่ระบาดและการระบาดใหญ่ ตลอดจนส่งมอบวัคซีนได้อย่างรวดเร็วเพื่อช่วยชีวิตผู้คน อันจะประโยชน์ต่อประชากรโลก"

เกี่ยวกับ สถาบันเจนเนอร์

สถาบันเจนเนอร์ก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2548 เพื่อพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ทั้งโรคในคนและสัตว์ โดยมีการทดสอบวัคซีนใหม่ในสายพันธุ์ต่าง ๆ ทางสถาบันมุ่งเน้นงานวิจัยที่สามารถนำไปต่อยอดได้ โดยเฉพาะการพัฒนาระยะเริ่มต้น และการประเมินผลวัคซีนใหม่ ๆ ในการทดลองทางคลินิก

สถาบันเจนเนอร์ประกอบด้วยนักวิจัย หรือที่เรียกว่า Jenner Investigators มากกว่า 30 ราย ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มวิจัยชั้นนำที่ครอบคลุมการวิจัยและพัฒนาวัคซีนสำหรับคนและสัตว์ คณะนักวิจัยของสถาบันร่วมกันทำงานวิจัยและพัฒนาวัคซีนแบบไม่แสวงผลกำไรมากที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ในแวดวงวัคซีนวิทยา

นักวิจัยของสถาบันเจนเนอร์กำลังพัฒนาวัคซีนตัวเลือกใหม่ ๆ สำหรับป้องกันโรคติดเชื้อทั่วโลก โดยได้รับความอนุเคราะห์จากผู้สนับสนุนหลายราย ปัจจุบัน วัคซีนตัวใหม่สำหรับป้องกันโรคมาลาเรีย วัณโรค และเอชไอวี กำลังอยู่ระหว่างการทดสอบภาคสนามในประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนั้น ยังมีการวิจัยวัคซีนป้องกันโรคปากเท้าเปื่อยในสัตว์ โรคไข้หวัดนก วัณโรคในโค และโรคอื่น ๆ ที่สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ

สถาบันเจนเนอร์เกิดจากความร่วมมือระหว่างพันธมิตร ได้แก่ University of Oxford และ The Pirbright Institute ทางสถาบันมารับช่วงสืบทอดการดำเนินงานต่อจากอดีตสถาบันเอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ เพื่อการวิจัยวัคซีน (Edward Jenner Institute for Vaccine Research) โดยได้รับการสนับสนุนจาก Jenner Vaccine Foundation ซึ่งเป็นมูลนิธิการกุศลที่จดทะเบียนในสหราชอาณาจักร และได้รับคำปรึกษาจาก Jenner Institute Scientific Advisory Board

ข่าวประชาสัมพันธ์ของเมอร์คทั้งหมดได้รับการเผยแพร่ผ่านทางอีเมลในเวลาเดียวกับที่มีการเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของเมอร์ค กรุณาเข้าไปที่ www.merckgroup.com/subscribe เพื่อลงทะเบียนออนไลน์ เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกบริการนี้

เกี่ยวกับ เมอร์ค

เมอร์ค คือบริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำ โดยมีการดำเนินงานครอบคลุมด้านการดูแลสุขภาพ ชีววิทยาศาสตร์ และวัสดุสมรรถนะสูง พนักงานประมาณ 57,000 คนของบริษัทต่างทุ่มเทในการสร้างความแตกต่างที่ดีต่อชีวิตของผู้คนหลายล้านคนในทุก ๆ วัน ด้วยการนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตที่มีความสุขและยั่งยืนยิ่งขึ้น เมอร์คเป็นทั้งผู้พัฒนาเทคโนโลยีตัดต่อยีน ไปจนถึงการเสาะหากลวิธีใหม่ ๆ ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่ท้าทายที่สุด ตลอดจนการคิดค้นอุปกรณ์อัจฉริยะ โดยในปี 2562 เมอร์คทำยอดขายได้ 1.62 หมื่นล้านยูโร ใน 66 ประเทศ

การสำรวจทางวิทยาศาสตร์และการทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ คือหัวใจหลักในความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเมอร์ค ทั้งยังอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของเมอร์คนับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2211 ปัจจุบัน ครอบครัวผู้ก่อตั้งยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของกลุ่มบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เมอร์คครอบครองสิทธิ์ในชื่อและแบรนด์ เมอร์ค ทั่วโลก ยกเว้นในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งหน่วยธุรกิจต่าง ๆ ของเมอร์คดำเนินงานภายใต้ชื่อ อีเอ็มดี เซโรโน ในวงการดูแลสุขภาพ, มิลลิพอร์ซิกมา ในวงการชีววิทยาศาสตร์ และอีเอ็มดี เพอร์ฟอร์แมนซ์ แมททีเรียลส์

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1153996/Vaccine_collaboration.jpg

Source: Merck
Keywords: Health Care/Hospital Infectious Disease Control Medical/Pharmaceuticals Clinical Trials/Medical Discoveries
Related News