omniture

พลังงานแสงอาทิตย์อัจฉริยะมอบชีวิตใหม่ให้ทะเลทรายในจีน

Huawei
2020-09-03 19:09 517

หยินฉวน, จีน--3 กันยายน 2563--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

โซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์อัจฉริยะของหัวเว่ย (Huawei Smart PV) ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพสูงเป็นพิเศษ นับเป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด และสร้างโลกที่มีความยั่งยืนมากขึ้น

อ้าแขนรับพลังงานสะอาด

เมื่อเดือนตุลาคม 2561 คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) แห่งสหประชาชาติ ได้เปิดเผยรายงานพิเศษว่าด้วยผลกระทบเมื่อโลกร้อนขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสเหนือระดับอุณหภูมิก่อนยุคอุตสาหกรรม โดยรายงานชี้ให้เห็นว่า การจำกัดไม่ให้โลกร้อนขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ไม่เพียงมีประโยชน์ต่อประชากรโลกและระบบนิเวศทางธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดสังคมที่ยั่งยืนและมีความเท่าเทียมมากขึ้นด้วย ซึ่งตรงข้ามกับการปล่อยให้โลกร้อนขึ้น 2 องศาเซลเซียส

รายงานยังเน้นย้ำว่า หากต้องการจำกัดไม่ให้โลกร้อนขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เราจำเป็นต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่าง "รวดเร็วและกินวงกว้าง" ทั้งในด้านที่ดิน พลังงาน อุตสาหกรรม และเมือง โดยมนุษย์ต้องปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิลดลงราว 45% ภายในปี 2573 เมื่อเทียบกับปี 2553 และจะต้องปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593

การยกระดับการใช้พลังงานสะอาด การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและพลังงาน รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เป็นพื้นฐานสำคัญในการตอบสนองต่อวิกฤตพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

พลิกวิกฤตเป็นโอกาส

หัวเว่ย และ เป่าเฟิง กรุ๊ป ต่างใช้แนวทางเชิงรุกในการจัดการปัญหาต่าง ๆ เช่น การขาดแคลนพลังงาน มลพิษ และการทำลายสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเชื่อมั่นในพลังของเทคโนโลยี ดังนั้น พันธมิตรทั้งสองรายจึงลงมือตอบสนองเสียงเรียกร้องจากทั่วโลกที่ต้องการระบบพลังงานที่สะอาดและมีประสิทธิภาพ

ในอดีต เขตใหม่ปินเหอซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำฮวงโหในเขตปกครองตนเองหนิงเซียะ มีระบบนิเวศอันเลวร้ายเพราะมีทะเลทรายขนาดใหญ่

ในปี 2557 บริษัท เป่าเฟิง กรุ๊ป ได้เริ่มปรับปรุงพื้นที่ทะลทรายขนาด 107 ตารางกิโลเมตร ด้วยการปลูกต้นอัลฟัลฟาเพื่อปรับปรุงดิน จากนั้นบริษัทได้เริ่มปลูกโกจิเบอร์รี่ ซึ่งเป็นเกษตรกรรมที่มีประวัติยาวนานถึง 1,000 ปีในหนิงเซียะ โดยการปลูกโกจิเบอร์รี่ได้ช่วยฟื้นฟูทะเลทรายอันแห้งแล้งให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง

เพื่อใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากทรัพยากรดินที่ธรรมชาติให้มา หัวเว่ยได้สนับสนุนเป่าเฟิง กรุ๊ป ในการสร้างระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เหนือพื้นที่ปลูกโกจิเบอร์รี่

พื้นที่ปลูกโกจิเบอร์รี่และระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อัจฉริยะผสานกันอย่างลงตัว โดยประกอบด้วยชั้นดินที่อุดมไปด้วย "ทับทิมกินได้" ปกคลุมด้วยทะเลแผงเซลล์แสงอาทิตย์สีคราม นับเป็นการใช้ที่ดินแบบผสมผสานรูปแบบใหม่ระหว่างสองอุตสาหกรรมที่เติมเต็มซึ่งกันและกัน นั่นคือ เกษตรกรรมและพลังงานแสงอาทิตย์ อันเป็นแม่แบบที่นำไปสู่การพลิกโฉมการปลูกโกจิเบอร์รี่และการผลิตพลังงานใหม่ในหนิงเซียะ

พลังงานแสงอาทิตย์อัจฉริยะมอบชีวิตใหม่ให้ทะเลทรายในจีน
พลังงานแสงอาทิตย์อัจฉริยะมอบชีวิตใหม่ให้ทะเลทรายในจีน

ใต้ดวงตะวัน ทะเลทรายกลายเป็นโอเอซิส

ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 1 GWp จะครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 20 ตารางกิโลเมตร ขณะที่โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 640 MW ก็สร้างเสร็จและเชื่อมกับโครงข่ายไฟฟ้าแล้ว ก่อเกิดเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่มีระบบติดตามดวงอาทิตย์อัจฉริยะ

พนักงานกำลังขนย้ายโกจิเบอร์รี่ในโซลาร์ฟาร์ม
พนักงานกำลังขนย้ายโกจิเบอร์รี่ในโซลาร์ฟาร์ม

โซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์อัจฉริยะของหัวเว่ยใช้เทคโนโลยีติดตามดวงอาทิตย์อัตโนมัติแบบแกนเดี่ยวแนวนอน ทำให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์สามารถติดตามดวงอาทิตย์ได้เหมือนดอกทานตะวัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าอย่างมากเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วไป

สถิติจนถึงปัจจุบัน

การติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ช่วยลดการระเหยของความชื้นในดินอย่างมีประสิทธิภาพราว 30%-40%

พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น 85% ซึ่งช่วยปรับปรุงสภาพอากาศในพื้นที่อย่างมีนัยสำคัญ

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เป่าเฟิงผลิตไฟฟ้าได้ 3.875 พันล้าน kWh (*นับตั้งแต่เชื่อมกับโครงข่ายไฟฟ้าจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2563) และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1.841 พันล้านกิโลกรัม ซึ่งเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 80 ล้านต้น

พนักงานของฟาร์มเป่าเฟิง
พนักงานของฟาร์มเป่าเฟิง

ลดการปล่อยก๊าซได้มหาศาลในแต่ละปี

พนักงานของฟาร์มเป่าเฟิง
พนักงานของฟาร์มเป่าเฟิง

เมื่อโครงการแล้วเสร็จ คาดว่าจะช่วยลดการใช้ถ่านหิน 557,600 ตัน ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 1.695 ล้านตัน ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 51,000 ตัน ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ 26,000 ตัน และฝุ่น 462,000 ตันต่อปี อันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถด้านสิ่งแวดล้อมราว 2.23 ล้านตันต่อปี เพื่อรองรับการเติบโตของภาคพลังงานในหนิงเซียะในอนาคต

แม้ว่าดวงอาทิตย์ยังคงแผ่ความร้อนสู่ผืนดิน แต่ทะเลทรายแห้งแล้งสุดลูกหูลูกตาแห่งนี้ค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นมหาสมุทรทางเศรษฐกิจ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งอนาคตและความหวัง ซึ่งต้องขอบคุณเวลาและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

หัวเว่ยและเป่าเฟิงเป็นผู้พลิกโฉมการปลูกโกจิเบอร์รี่และการผลิตพลังงานใหม่ในหนิงเซียะ ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี อุตสาหกรรม ธุรกิจ และโมเดลใหม่อย่างรวดเร็ว โดยโมเดลการใช้ที่ดินแบบผสมผสานระหว่างเกษตรกรรมกับการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ ไม่เพียงนำวิถีชีวิตใหม่มาสู่หนิงเซียะเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างระบบนิเวศใหม่ที่มนุษย์และธรรมชาติอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน พร้อมเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับโลกของเรา

พนักงานของฟาร์มเป่าเฟิง กล่าวว่า "เมื่อมาถึงที่นี่ครั้งแรก ผมต้องการช่วยเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่นี่เท่านั้น แต่ไม่ได้คาดหวังว่าจะมีการปลูกโกจิเบอร์รี่ควบคู่กับการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งมีประโยชน์ต่อเกษตรกรในพื้นที่ด้วย"

ชาวบ้านในหนิงเซียะ กล่าวว่า "พื้นที่นี้เคยแห้งแล้ง แต่หลังจากที่เราปลูกโกจิเบอร์รี่และติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ เราก็มีงานทำตลอดทั้งปีและมีชีวิตดีขึ้นมาก" 

เติมพลังให้โลกด้วยแสงอาทิตย์

โซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์อัจฉริยะของหัวเว่ยใช้เทคโนโลยีเพื่อปกคลุมทะเลทรายด้วยความเขียวขจีและมอบชีวิตใหม่ให้กับหนิงเซียะ ทั้งนี้ หัวเว่ยและเป่าเฟิงจะเดินหน้าใช้โมเดลเกษตรกรรม-พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อผลิตพลังงานสะอาดและปรับปรุงสภาพอากาศในพื้นที่ทะเลทรายต่อไป

พลังงานแสงอาทิตย์อัจฉริยะมอบชีวิตใหม่ให้ทะเลทรายในจีน
พลังงานแสงอาทิตย์อัจฉริยะมอบชีวิตใหม่ให้ทะเลทรายในจีน

หัวเว่ยมุ่งหวังที่จะร่วมมือกับพันธมิตรทั่วโลก รวมถึงมีบทบาทเชิงรุกในการลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลและเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อนำพามนุษยชาติก้าวไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นการประหยัดทรัพยากร เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และปล่อยคาร์บอนต่ำ เราจะเดินหน้าใช้ประโยชน์จากพลังของเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติใหม่ ๆ ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปกป้องโลกซึ่งเป็นบ้านของเรา

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์อัจฉริยะของหัวเว่ย: https://solar.huawei.com/

รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20200903/2906156-1-a?lang=0
รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20200903/2906156-1-b?lang=0
รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20200903/2906156-1-c?lang=0
รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20200903/2906156-1-d?lang=0
รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20200903/2906156-1-e?lang=0

Source: Huawei
Related Links:
Keywords: Agriculture Alternative Energies Environmental Products & Services Oil/Energy Utilities