omniture

หัวเว่ย ยกระดับโซลูชั่นเครือข่าย IP อัจฉริยะเต็มรูปแบบ เพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนใหม่สำหรับการพลิกโฉมอุตสาหกรรมสู่ยุคดิจิทัล

Huawei
2020-09-29 14:06 398

เซี่ยงไฮ้, 29 ก.ย. 2020 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ -- ที่งาน HUAWEI CONNECT 2020 หัวเว่ยได้จัดการประชุมสุดยอดในหัวข้อ "เร่งการพลิกโฉมอุตสาหกรรมสู่ยุคดิจิทัลผ่านการเชื่อมต่ออัจฉริยะทุกสถานการณ์" (Accelerating Industry Digital Transformation Through All-Scenario Intelligent Connectivity) ซึ่งหัวเว่ยได้ประกาศที่งานประชุมนี้ว่า บริษัทได้อัปเกรดโซลูชั่นเครือข่าย IP อัจฉริยะเต็มรูปแบบ ทั้งการปรับโฉมสองแพลตฟอร์ม (ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์) การรังสรรค์สถาปัตยกรรม 3 ชั้นของเครือข่าย IP อัจฉริยะด้วย "ความจุขั้นสูง ประสบการณ์อัจฉริยะ และการขับเคลื่อนอัตโนมัติ" ตลอดจนการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรม "four-engines" การเคลื่อนไหวเชิงกลยุทธ์เหล่านี้ยืนยันถึงความมุ่งมั่นอย่างไม่ลดละของหัวเว่ยในการพัฒนาโซลูชั่นที่ปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์ร่วมกับพันธมิตรและลูกค้า เพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนใหม่สำหรับการพัฒนาระบบดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรม

เควิน หู ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์การสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ย ประกาศการอัปเกรดโซลูชั่นเครือข่าย IP อัจฉริยะเต็มรูปแบบของหัวเว่ย
เควิน หู ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์การสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ย ประกาศการอัปเกรดโซลูชั่นเครือข่าย IP อัจฉริยะเต็มรูปแบบของหัวเว่ย

เครือข่ายการสื่อสารข้อมูลมีวิวัฒนาการ โดยค่อยๆ พัฒนาจากเครือข่ายแบบ IPv4 สำหรับการโต้ตอบระหว่างคนกับเครื่องจักรในยุค IP ไปเป็นเครือข่าย MPLS (multiprotocol label switching) สำหรับการโต้ตอบระหว่างคนกับคนในยุค IP เต็มรูปแบบ จนกระทั่งกลายมาเป็นเครือข่ายในยุค IP อัจฉริยะดังเช่นปัจจุบัน

เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การพัฒนา "เครือข่าย IP อัจฉริยะ" หัวเว่ยจึงได้ประกาศการเคลื่อนไหวเชิงกลยุทธ์ที่งานประชุมสุดยอด ดังต่อไปนี้

1. ปรับโฉมสองแพลตฟอร์ม (ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์) เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเครือข่าย IP อัจฉริยะเต็มรูปแบบ

หัวเว่ยอัปเกรดแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์เต็มรูปแบบ ซึ่งโดดเด่นด้วยเอนจิ้นเร่งความเร็ว AI ที่ติดตั้งมาในตัว เพื่อยกระดับการประมวลผลข้อมูล และด้วยเหตุนี้จึงสามารถรองรับเครือข่าย IP อัจฉริยะได้อย่างเต็มรูปแบบ ขณะเดียวกัน เพื่อรองรับการเชื่อมต่อขนาดใหญ่กับทุกสิ่ง อุปกรณ์แบบแยกส่วนความจุมหาศาลจึงมาพร้อมกับพอร์ต 400GE ที่สามารถจัดการกับข้อมูลดิจิทัลมหาศาลได้ ขณะที่อุปกรณ์แบบคงที่ขนาดกะทัดรัดรองรับการเข้าถึงอย่างกว้างขวางตั้งแต่ 155 Mbit/s ไปจนถึง 400 Gbit/s โดยฟีเจอร์ฮาร์ดแวร์เช่นนี้จะปูทางสำหรับการสร้างแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์ IP ความเร็วสูงระดับอัลตราบรอดแบนด์ที่มีความชาญฉลาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับลูกค้า

ในส่วนของแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์นั้น ซอฟต์แวร์อุปกรณ์ IP ดั้งเดิมเป็นบริการแบบปิดที่เชื่องช้าและไม่ตอบสนอง ดังนั้น หัวเว่ยจึงปรับโฉมระบบปฏิบัติการเครือข่าย IP โดยใช้แพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ใหม่อย่าง YUNSHAN ซึ่งมีสถาปัตยกรรมแบบเปิดที่ว่องไวและอัจฉริยะ ทั้งยังเปิดทางสำหรับการประกอบที่ยืดหยุ่นโดยใช้ส่วนประกอบฟังก์ชั่นแบบแยกส่วนครอบคลุมทั่วทุกอุปกรณ์ ทำให้ส่งมอบได้สะดวกรวดเร็วตามความต้องการของลูกค้า YUNSHAN ประกอบด้วยอัลกอริทึม AI กว่า 20 อัลกอรึทึมที่ฝังเข้าไปในเครือข่าย IP อัจฉริยะ ยิ่งไปกว่านั้น แพลตฟอร์มยังมาพร้อมอินเทอร์เฟซการเขียนโปรแกรมแอปพลิเคชันแบบเปิด (APIs) มากกว่า 400 แบบ ซึ่งเชื่อมต่อกับ northbound NMSs ได้ง่าย จึงช่วยให้การจัดการและควบคุมอุปกรณ์เป็นไปอย่างยืดหยุ่น

2. อัปเกรดสถาปัตยกรรม 3 ชั้นของเครือข่าย IP อัจฉริยะด้วยความจุขั้นสุดยอด ประสบการณ์อัจฉริยะ และการขับเคลื่อนอัตโนมัติ

หัวเว่ยนำ AI มากำหนดนิยามใหม่ของสถาปัตยกรรมเครือข่าย IP อัจฉริยะ 3 ชั้น และอัปเกรดเป็นพอร์ต 400GE เพื่อรองรับการส่งอัลตร้าบรอดแบนด์แบบไร้สิ่งกีดขวางและการแบ่งส่วนเครือข่าย ส่งผลให้มีความจุสูงมากซึ่งเป็นการรับประกันคุณภาพแบนด์วิดท์ของเครือข่าย

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังอัปเกรด Intent Engine โดยใช้ AI เพื่อระบุจุดประสงค์เครือข่ายบริการ ปรับใช้ทรัพยากรเครือข่ายแบบเรียลไทม์ และปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านบริการอย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้ทำให้เครือข่ายสามารถสร้างประสบการณ์อัจฉริยะซึ่งเป็นการรับประกันว่าผู้ใช้จะได้รับประสบการณ์ตามที่กำหนดไว้

Intelligence Engine ได้รับการอัปเกรดโดยใช้กราฟความรู้เพื่อติดตั้งอัตโนมัติและปรับบริการต่างๆ ในระดับเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันก็ช่วยแก้ปัญหาเครือข่ายแบบอัตโนมัติ ซึ่งความสามารถในการขับเคลื่อนอัตโนมัติเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้าน O&M 

3. สร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นเครือข่าย IP อัจฉริยะแบบ "four-engine"

หัวเว่ยได้อัปเกรด iMaster NCE ซึ่งทำหน้าที่เป็นสมองของเครือข่าย IP อัจฉริยะ โดยมอบขีดความสามารถทางเทคโนโลยีแบบเปิดและตั้งโปรแกรมได้ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการปรับแต่ง นำข้อมูลการวิเคราะห์บิ๊กดาต้าไปใช้งานตามที่ต้องการ ทำนายข้อบกพร่อง ตลอดจนเพิ่ม southbound APIs เพื่อให้รองรับบริการของเวนเดอร์ที่หลากหลาย นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้อัปเกรดโซลูชั่น CloudCampus, CloudFabric, CloudWAN และ HiSec จากเวอร์ชั่น 1.0 เป็น 2.0 โดยใช้เอนจิ้นทั้งสี่ ได้แก่ AirEngine, CloudEngine, NetEngine และ HiSecEngine ซึ่งโซลูชันใหม่เหล่านี้ช่วยสร้างเครือข่าย IP อัจฉริยะและมีความเร็วสูงระดับอัลตร้าบรอดแบนด์ได้มากขึ้น

4. เครือข่าย IP อัจฉริยะผ่านการตรวจสอบหลายครั้งและในหลายอุตสาหกรรม ซึ่งสร้างคุณค่าใหม่ร่วมกัน

IP อัจฉริยะถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ "Intelligent IP @ Government" ซึ่งทำให้เกิดบริการภาครัฐแบบครบวงจรและการบริหารจัดการเมืองแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว ซึ่งช่วยปรับปรุงอัตราการจัดการคำร้องขอในระบบออนไลน์และเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลข้อมูล ส่วน "Intelligent IP @ Finance" ช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการเงินเข้าสู่ยุคธนาคาร 4.0 ด้วยการเปิดใช้บริการบนคลาวด์แบบรายวันและลดเวลาการทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศลง 87% ขณะที่ "Intelligent IP @ Education" ช่วยเร่งการสร้างเครือข่าย และนำไปสู่การบรรจบกันของเครือข่ายที่หลากหลาย ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานแบบอัจฉริยะ ซึ่งช่วยเร่งการสร้างประเทศที่อุดมด้วยบุคลากรเปี่ยมความสามารถ ด้าน "Intelligent IP @ Airport" จะสร้างระบบ ID เดียวสำหรับการเดินทาง และสร้างแผนที่เดียวสำหรับปฏิบัติการต่างๆ ด้วยการตรวจจับภัยคุกคามที่อัตราความแม่นยำ 96% โดยสามารถจัดการกับความเสี่ยงภายในไม่กี่วินาทีและพบข้อผิดพลาดได้อย่างมั่นใจในอัตรา 85%

"เครือข่าย IP อัจฉริยะช่วยให้การไหลและรวมของข้อมูลดีขึ้น สร้างพลังขับเคลื่อนใหม่สำหรับการเชื่อมต่อกับทุกๆ สิ่ง หัวเว่ยจะเดินหน้าสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง และใช้เครือข่าย IP อัจฉริยะกับทุกอุตสาหกรรม รวมทั้งพัฒนาโซลูชั่นสำหรับทุกสถานการณ์ เพื่อช่วยองค์กรทุกขนาดประสบความสำเร็จทางธุรกิจ" เควิน หู ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์การสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ย กล่าว "ในอนาคต หัวเว่ยจะทำงานร่วมกับพันธมิตรจากทุกอุตสาหกรรมให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ การเงิน การศึกษา บริการสุขภาพ และการขนส่ง เพื่อสร้างระบบนิเวศใหม่สำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และสร้างคุณค่าใหม่ร่วมกัน" 

รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20200928/2930222-1?lang=0

Source: Huawei
Related Links:
Keywords: Computer Hardware Computer Networks Computer Software Computer/Electronics Internet Technology Telecommunications Telecommunications Equipment Trade show news
Related News