การวิจัยเรื่อง "Menstrubation" แสดงให้เห็นถึงผลดีในการบรรเทาอาการปวดประจำเดือนหลังจากช่วยตัวเองเป็นประจำเพียงสามเดือนเท่านั้น
เบอร์ลิน, 2 มีนาคม 2564 /PRNewswire/ -- ประชากรครึ่งหนึ่งของโลก[1] มีประจำเดือนทุกเดือน และส่วนใหญ่จะรู้สึกเจ็บปวดเนื่องจากผลข้างเคียงต่าง ๆ แม้ว่าอาการเหล่านี้จะพบได้บ่อย แต่ก็แทบไม่มีการวิจัย ซึ่งต่างจากเรื่องอื่น ๆ มากมายที่เกี่ยวกับสุขภาพของผู้หญิง ช่องว่างระหว่างเพศด้านสุขภาพ (Gender Health Gap)[2] อธิบายถึงช่องว่างนี้ และแสดงให้เห็นว่าในอดีตผู้หญิงถูกละเลยในด้านการแพทย์และการวิจัย
ในเดือนพฤษภาคม 2020 Womanizer ได้เปิดเผยงานวิจัยเรื่อง Menstrubation (Menstruation + Masturbation) ซึ่งเป็นการวิจัยทางคลินิกครั้งแรกของโลก เพื่อศึกษาว่าการช่วยตัวเองจะสามารถบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้หรือไม่ ผู้เข้าร่วมงานวิจัยเป็นผู้ที่มีประจำเดือนรวมทั้งสิ้น 486 คน
ผลลัพธ์: ถูกต้อง การช่วยตัวเองช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้
เพราะเหตุใดผู้หญิงจึงมีอาการปวดประจำเดือน?
Johanna Rief หัวหน้าฝ่ายเสริมพลังทางเพศของ Womanizer อธิบายว่า: "ในช่วงที่มีประจำเดือน มดลูกจะบีบตัวเป็นพัก ๆ เพื่อขับเยื่อบุโพรงมดลูกที่ก่อตัวขึ้นเพื่อเตรียมสำหรับการตั้งครรภ์ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งทำให้เกิดอาการปวด การบีบตัวของมดลูกยังถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน ฮอร์โมนนี้เป็นตัวส่งสัญญาณความเจ็บปวด และยังเกี่ยวข้องกับอาการอักเสบ เช่น ยิ่งระดับฮอร์โมนพรอสตาแกลนดินสูงขึ้นเท่าไร อาการปวดประจำเดือนก็จะยิ่งรุนแรงขึ้นเท่านั้น
ร้อยละ 90 แนะนำให้ช่วยตัวเอง
จากคำถามที่ว่า ระหว่างการช่วยตัวเองกับการใช้ยา วิธีใดสามารถบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ดีกว่ากัน คำตอบคือ ทั้งสองวิธีมีสัดส่วนพอ ๆ กัน: ร้อยละ 43 เลือกใช้ยา ร้อยละ 42 เลือกการช่วยตัวเอง คำตอบที่พบบ่อยที่สุดจากร้อยละ 15 ที่เหลือคือ: ใช้หลายวิธีร่วมกันได้แก่[3] ความร้อน, สารสกัดจากกัญชง/กัญชา (CBD - น้ำมัน), การนอนหลับพักผ่อนและการออกกำลังกาย ร้อยละ 90 แนะนำให้ช่วยตัวเองเพื่อบรรเทาอาการปวด ร้อยละ 85 วางแผนที่จะช่วยตัวเองเป็นประจำ (รายใหม่) หลังจากการวิจัยครั้งนี้
ความรุนแรงและความถี่ของอาการปวดลดลงอย่างเห็นได้ชัด
ผู้เข้าร่วมการวิจัยบันทึกความรุนแรงและความถี่ของอาการปวดในแต่ละเดือนโดยให้คะแนนแบบมาตรฐานเต็ม 10 คะแนน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าทั้งความรุนแรงและความถี่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงที่ทำการทดสอบ และที่น่าทึ่งยิ่งกว่านั้น: แม้แต่หลังจากเดือนที่ควบคุม ค่าที่ได้ก็ยังต่ำกว่าช่วงเริ่มต้นของการทดสอบเช่นกัน ความเข้มข้นโดยเฉลี่ยจากการสำรวจครั้งแรกคือ 6.7 คะแนน[4] หลังจากสิ้นสุดช่วงที่ทดสอบ ค่าที่ได้คือ 5.4 คะแนนเท่านั้น ซึ่งเท่ากับลดลง 1.3 คะแนน หลังจากเดือนที่ควบคุม ค่านี้คือ 5.9 ซึ่งยังคงต่ำกว่าค่าเริ่มต้น 0.8 คะแนน พบว่าผลที่ได้สำหรับความถี่ของอาการปวดประจำเดือนก็เป็นเช่นเดียวกัน โดยเฉลี่ยแล้วคะแนนพื้นฐานจะอยู่ที่ 7.4 [5] แต่หลังจากช่วงทดสอบ คะแนนได้ลดลง 2.8 เหลือ 4.6 คะแนน หลังจากเดือนที่ควบคุม คะแนนเท่ากับ 6.7 ซึ่งยังคงสอดคล้องกับคะแนนที่ลดลง 0.7
เหตุใดการช่วยตัวเองจึงบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้
Johanna Rief กล่าวว่า: "หลังจากถึงจุดสุดยอด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนหลายชนิดซึ่งรวมถึงโดปามีนที่ช่วยลดความเครียดและช่วยให้เกิดความสุข ส่งผลให้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ผ่อนคลายไปด้วย จึงช่วยบรรเทาความปวด นอกจากนี้ยังกระตุ้นการเผาผลาญอาหารและการไหลเวียนโลหิต ผลคือช่วยบรรเทาอาการปวด สุดท้าย ในระหว่างถึงจุดสุดยอด กล้ามเนื้อจะบีบและคลายตัว ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ ถึงแม้ว่ากระบวนการทางเคมีเหล่านี้จะเด่นชัดที่สุดในระหว่างและหลังถึงจุดสุดยอด แต่ก็ยังเกิดขึ้นได้ในขณะช่วยตัวเองเช่นกัน ในรูปแบบที่เข้มข้นน้อยกว่า"
ดูผลการวิจัยทั้งหมดและรายงานฉบับเต็มได้ที่ www.menstrubation.com
1. ผู้หญิงบางคนไม่มีประจำเดือน และผู้ที่มีประจำเดือนไม่จำเป็นต้องเป็นผู้หญิงเท่านั้น
2. Nicola Slawson "ผู้หญิงถูกละเลยมามากเกินพอแล้ว: วิทยาศาสตร์การแพทย์ประสบปัญหาเรื่องเพศหรือไม่?" The Guardian ธันวาคม 2019
Hamberg, Katarina อคติทางเพศในวงการแพทย์ Women's Health, พฤษภาคม 2008, หน้า 237-243
Verdonk, Petra et al. ตั้งแต่อคติทางเพศไปจนถึงการรับรู้เรื่องเพศในการศึกษาทางการแพทย์ Advances in Health Sciences Education, 14, 2009, หน้า 135-152
Nobelius, Ann-Maree และ Wainer, Jo เพศกับการแพทย์ แนวคิดสำหรับผู้ให้การศึกษาด้านการแพทย์ Monash University School of Rural Health, 2004
3. ร้อยละ 23 ของร้อยละ 15 ที่เหลือเห็นตรงกัน
4. ตั้งแต่ระดับคะแนน 1 (ไม่เข้มข้น) ไปจนถึง 10 (เข้มข้นมาก)
5. ตั้งแต่ระดับคะแนน 1 (ทุกสองเดือน) จนถึง 10 (หลายวันครั้ง)