omniture

สถาบันราอูลวอลเลนเบิร์กว่าด้วยกฎหมายสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรม ดำเนินการเชิงรุกเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนจากความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม

Raoul Wallenberg Institute
2021-03-18 15:44 344

จาการ์ตา, อินโดนีเซีย--18 มี.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

สถาบันราอูลวอลเลนเบิร์กว่าด้วยกฎหมายสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรม (RWI) ขอเรียกร้องให้ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นหลังจากรายงานของสถาบัน RWI ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในสวีเดนพบว่า ปัญหาต่าง ๆ เช่น มลพิษทางอากาศและภัยพิบัติที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของผู้คนมากขึ้น

Prosperous and Green in the Anthropocene: The human right to a healthy environment in Southeast Asia
Prosperous and Green in the Anthropocene: The human right to a healthy environment in Southeast Asia

รายงานฉบับล่าสุดของ RWI ในหัวข้อ "Prosperous and Green in the Anthropocene: The human right to a healthy environment in Southeast Asia" พบว่า พบว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ

รายงานพบว่า 39% ของประชากรต้องใช้ชีวมวลของแข็ง เช่น ฟืน ถ่าน และเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อประกอบอาหารในครัวเรือน ซึ่งการใช้วัสดุดังกล่าวมากเกินไปส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3.8 ล้านคนต่อปีเนื่องจากมลพิษอากาศภายในอาคารที่เกิดจากการเผาไหม้ชีวมวลของแข็ง รวมทั้งมีอัตราการเกิดมะเร็งปอดในผู้หญิงเพิ่มมากขึ้นVictor Bernard ผู้แทนของ RWI กล่าวว่า "ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเผชิญกับความเสี่ยงในด้านภัยพิบัติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และด้านมลพิษ ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยรายงานของ RWI ได้มุ่งเน้นไปที่เรื่องที่ว่าความท้าทายทางสังคมและนิเวศวิทยานี้มีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมทางเพศได้อย่างไร และในรายงานยังได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการดำเนินการสำคัญของหลาย ๆ ประเทศเพื่อการตระหนักรู้ "สิทธิของการมีสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ" ว่ามีการดำเนินการอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ เพื่อเป็นพื้นฐานแห่งความร่วมมือกันในการดำเนินการเพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านี้"

ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังปรับใช้กรอบนโยบายใหม่ ซึ่งประกอบด้วยอากาศ น้ำ และสุขอนามัยที่สะอาด สภาพอากาศที่ปลอดภัย ระบบอาหารที่ยั่งยืน สภาพแวดล้อมที่ปลอดสารพิษ ระบบนิเวศที่ดีต่อสุขภาพ และความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่อประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยง

ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เริ่มดำเนินขั้นตอนสำคัญเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมทางเพศในการเผชิญกับอันตรายด้านสิ่งแวดล้อมบ้างแล้ว เช่น การนำมาตรการและระบบกฎหมายมาใช้เพื่อปกป้องสตรี เด็ก ชนพื้นเมือง และชุมชนผู้พิการ ซึ่งมีความเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนกลุ่มอื่น แต่อย่างไรก็ดี ก็ยังคงมีอีกหลายเรื่องที่ต้องดำเนินการให้สำเร็จต่อไป

นอกเหนือจากกรอบนโยบายเหล่านี้แล้ว รายงานของ RWI ซึ่งเขียนโดยนักกฎหมายและนักวิจัยด้านนโยบาย 11 คน ยังเรียกร้องให้มีมาตรการที่หลากหลายมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มการมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยตรงเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมผ่านการสนับสนุนทางออนไลน์และโซเชียลมีเดีย

สถาบัน RWI ขอเป็นตัวอย่างในเรื่องนี้ โดยในเวลานี้ กำลังมีการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ในด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงกฎหมายและสิทธิมนุษยชนของประเทศอินโดนีเซีย

แคมเปญนี้ได้ร่วมกับผู้ทรงอิทธิพลในภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็น Martin AnugrahHessel Steven และ Wilda Octaviana ซึ่งเชิญชวนให้คนรุ่นใหม่ปกป้องสิทธิมนุษยชนและเสริมสร้างความยั่งยืนผ่านการใช้ชีวิตประจำวัน

อ่านรายงานได้ที่นี่

สื่อมวลชนติดต่อ:

Yudha Pratama
อีเมล: yudha.pratama@rwi.lu.se
โทร: +6227092823

Victor Bernard
อีเมล: victor.bernard@rwi.lu.se
โทร: +6227092823

Source: Raoul Wallenberg Institute
Related Links:
Keywords: Environmental Products & Services Environmental Issues Environmental Policy
Related News