omniture

นักโบราณคดีค้นพบหลักฐาน "สุนัขบ้าน" เก่าแก่ที่สุดในอาระเบีย ในเมืองอัลอูลา ซาอุดีอาระเบีย

Royal Commission for AlUla for Saudi Arabia
2021-03-25 20:20 221

- ผลวิจัยชี้กระดูกสุนัขที่พบในหลุมฝังศพทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของซาอุดีอาระเบีย มีอายุเก่าแก่ราว 4200-4000 ปีก่อนคริสตกาล

- จากการสำรวจพบว่ามนุษย์โบราณในภูมิภาคนี้มีความซับซ้อนมากกว่าที่คิด โดยตลอดระยะเวลาหลายร้อยปีมีการฝังศพในลักษณะอนุสรณ์สถาน ซึ่งตั้งใจให้มองเห็นชัดเจน

อัลอูลา, ซาอุดีอาระเบีย, 25 มีนาคม 2564 /PRNewswire/ -- ทีมนักโบราณคดีในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของซาอุดีอาระเบีย ค้นพบหลักฐานเก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับการเลี้ยงสุนัขบ้านของมนุษย์โบราณ

This burial site in a badlands area of AlUla in north-west Saudi Arabia is currently rare for Neolithic-Chalcolithic Arabia in being built above-ground and meant to be visually prominent.
This burial site in a badlands area of AlUla in north-west Saudi Arabia is currently rare for Neolithic-Chalcolithic Arabia in being built above-ground and meant to be visually prominent.

การค้นพบดังกล่าวเป็นผลสำเร็จของหนึ่งในหลายโครงการภายใต้การสำรวจและการขุดค้นทางโบราณคดีครั้งใหญ่ในภูมิภาค ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ Royal Commission for AlUla (RCU)

คณะนักวิจัยค้นพบกระดูกสุนัขในหลุมฝังศพซึ่งเป็นอนุสรณ์สถานที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในอาระเบีย โดยมีอายุใกล้เคียงกับหลุมฝังศพหลายแห่งที่ค้นพบในภูมิภาคเลอแวนต์ (Levant)

หลักฐานบ่งชี้ว่ามีการใช้หลุมฝังศพดังกล่าวเป็นครั้งแรกราว 4300 ปีก่อนคริสตกาล และใช้ในการฝังศพต่อเนื่องยาวนานอย่างน้อย 600 ปี ตั้งแต่ช่วงยุคหินใหม่ (Neolithic) ถึงยุคทองแดง (Chalcolithic) ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามนุษย์โบราณอาจมีความทรงจำร่วมกันเกี่ยวกับคน สถานที่ และความสัมพันธ์ระหว่างกัน

"สิ่งที่เราค้นพบจะเปลี่ยนมุมมองที่เรามีต่อยุคหินใหม่ในตะวันออกกลาง เพราะความทรงจำในลักษณะนี้ นั่นคือการที่มนุษย์โบราณรู้ว่าเครือญาติของตนเองถูกฝังไว้ที่ไหนต่อเนื่องยาวนานหลายร้อยปี เป็นสิ่งที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนในภูมิภาคนี้" Melissa Kennedy ผู้ช่วยผู้อำนวยการ Aerial Archaeology in the Kingdom of Saudi Arabia (AAKSAU) โปรเจคอัลอูลา กล่าว

"อัลอูลาคือจุดที่ทำให้เราเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของวิวัฒนาการของมนุษย์ทั่วตะวันออกกลาง" Hugh Thomas ผู้อำนวยการ AAKSAU กล่าว

นี่คือหลักฐานเกี่ยวกับสุนัขบ้านที่เก่าแก่ที่สุดในอาระเบีย โดยเก่าแก่กว่าที่เคยค้นพบก่อนหน้านี้ราว 1,000 ปี

ผลการค้นพบดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Field Archaeology

ทีมงานที่ประกอบด้วยสมาชิกชาวซาอุดีอาระเบียและชาวต่างชาติให้ความสำคัญกับหลุมฝังศพเหนือพื้นดินสองจุดที่คาดว่าสร้างขึ้นในช่วง 5000-4000 ปีก่อนคริสตกาล และตั้งอยู่ห่างกัน 130 กิโลเมตร โดยแห่งหนึ่งตั้งอยู่ในที่สูงแถบภูเขาไฟ และอีกแห่งหนึ่งตั้งอยู่ในที่รกร้างแห้งแล้ง โดยทั้งสองจุดอยู่เหนือพื้นดิน ซึ่งค่อนข้างแปลกเมื่อพิจารณาจากประวัติศาสตร์อาระเบียในยุคนั้น และมีการจัดวางให้มองเห็นชัดเจนที่สุด

ทีมวิจัยค้นพบหลุมฝังศพด้วยภาพจากดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศจากเฮลิคอปเตอร์ จากนั้นการขุดค้นได้เริ่มขึ้นในช่วงปลายปี 2018

หลุมฝังศพที่ตั้งอยู่ในที่สูงแถบภูเขาไฟเป็นจุดที่ค้นพบกระดูก 26 ชิ้นของสุนัขตัวหนึ่ง พร้อมกับกระดูกของมนุษย์ 11 คน โดยเป็นผู้ใหญ่ 6 คน วัยรุ่น 1 คน และเด็ก 4 คน

กระดูกของสุนัขพบร่องรอยของโรคข้ออักเสบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสุนัขตัวนี้อยู่กับมนุษย์จนมีอายุค่อนข้างมากหรืออายุมาก

หลังจากรวบรวมกระดูกทั้งหมด ทีมงานต้องพิสูจน์ว่ากระดูกเหล่านี้มาจากสุนัข ไม่ได้มาจากสัตว์ชนิดอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน อย่างเช่นหมาป่าทะเลทราย

Laura Strolin นักสัตววิทยาโบราณคดีของทีม สามารถพิสูจน์ได้ว่ากระดูกเหล่านี้เป็นของสุนัขจริง ๆ ด้วยการวิเคราะห์กระดูกจากขาหน้าซ้าย โดยความกว้างของกระดูกชิ้นนี้อยู่ที่ 21.0 มิลลิเมตร หรือเท่า ๆ กับของสุนัขโบราณตัวอื่น ๆ ที่พบในตะวันออกกลาง ขณะที่กระดูกส่วนดังกล่าวของหมาป่าในยุคเดียวกันและสถานที่เดียวกัน มีความกว้างราว 24.7 ถึง 26 มิลลิเมตร

กระดูกสุนัขดังกล่าวมีอายุเก่าแก่ราว 4200-4000 ปีก่อนคริสตกาล

นอกจากนั้นยังมีการค้นพบงานศิลปะบนหิน ซึ่งบ่งชี้ว่ามนุษย์ยุคหินใหม่ใช้สุนัขในการล่าแพะภูเขา (ibex) ลาป่า (wild ass) และสัตว์อื่น ๆ

การขุดค้นทำให้พบสิ่งประดิษฐ์ที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง โดยบริเวณที่สูงแถบภูเขาไฟมีการค้นพบจี้เปลือกหอยมุกรูปทรงใบไม้ ส่วนบริเวณที่รกร้างแห้งแล้งมีการค้นพบลูกปัดหินคาร์เนเลียน

คณะนักวิจัยคาดว่าจะค้นพบหลายสิ่งหลายอย่างในอนาคต อันเป็นผลมาจากการสำรวจครั้งใหญ่ทั้งทางอากาศและภาคพื้นดิน รวมถึงการขุดค้นหลายจุดในเมืองอัลอูลาโดยฝีมือของ AAKSAU และทีมอื่น ๆ ซึ่งปฏิบัติงานภายใต้การสนับสุนนของ Royal Commission for AlUla (RCU) โดยทีม AAKSAU นำโดยคณะนักวิจัยจาก University of Western Australia ในเมืองเพิร์ท ประเทศออสเตรเลีย

คณะนักวิจัยกล่าวว่า เมืองอัลอูลาตั้งอยู่ในภูมิภาคที่มีมรดกทางโบราณคดีมากมายซึ่งมีคุณค่าในระดับโลก แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองอัลอูลายังไม่ได้รับการสำรวจ

"บทความนี้ซึ่งกล่าวถึงการทำงานของ RCU ในเมืองอัลอูลาได้สร้างมาตรฐานใหม่ให้กับวงการ หลังจากนี้ยังมีหลายสิ่งหลายอย่างให้ค้นพบ เพราะเรากำลังขุดลึกลงไปและขยายวงกว้างขึ้น" Rebecca Foote ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยมรดกทางวัฒนธรรมและโบราณคดีของ RCU กล่าว

สำหรับแง่มุมอื่น ๆ ของการขุดค้นทางโบราณคดีครั้งยิ่งใหญ่นี้จะได้รับการนำเสนอผ่านสารคดี Architects of Ancient Arabia ทางช่อง Discovery Channel ซึ่งจะออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 31 มีนาคม

ความพยายามทั้งหมดนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ Royal Commission for AlUla ในการเชิดชูประวัติศาสตร์และมรดกของประเทศ รวมทั้งเปลี่ยนเมืองอัลอูลาให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิตขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของวิสัยทัศน์ Saudi Vision 2030

เกี่ยวกับอัลอูลา

อัลอูลา อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของซาอุดีอาระเบีย ห่างจากกรุงริยาด 1,100 กิโลเมตร รุ่มรวยด้วยมรดกของมนุษย์และธรรมชาติอันแสนมหัศจรรย์ พื้นที่อันกว้างขวาง 22,561 ตารางกิโลเมตร มีทั้งหุบเขาอันเขียวชอุ่ม ภูเขาหินทรายตั้งตระหง่าน และแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมอายุเก่าแก่หลายพันปี

สถานที่ที่โด่งดังและเป็นที่รู้จักมากที่สุดในอัลอูลาคือเมืองโบราณเฮกรา (Hegra) แหล่งมรดกโลกแห่งแรกของซาอุดีอาระเบียที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโก เมืองโบราณแห่งนี้มีพื้นที่ 52 เฮกตาร์ และเคยเป็นเมืองสำคัญทางตอนใต้ของราชอาณาจักรแนบาเทีย โดยมีสุสานเกือบ 100 แห่งที่ยังอยู่ในสภาพดีและมีการตกแต่งผนังภายนอกอย่างวิจิตรงดงามด้วยการขุดภูเขาหินทราย ผลวิจัยบ่งชี้ว่าเฮกราคือดินแดนใต้สุดของอาณาจักรโรมัน หลังจากเอาชนะราชอาณาจักรแนบาเทียในคริสตศักราช 106

นอกจากเมืองโบราณเฮกราแล้ว อัลอูลายังมีสถานที่ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่น่าสนใจอีกมากมาย เช่น เมืองโบราณดาดัน (Dadan) เมืองหลวงของราชอาณาจักรดาดัน ซึ่งถือว่าเป็นเมืองที่เจริญที่สุดในคาบสมุทรอาหรับในช่วง 1000 ปีก่อนคริสตกาล รวมถึงการจารึกและงานศิลปะบนหินหลายพันชิ้น และสถานีรถไฟฮิญาซ

เกี่ยวกับ Royal Commission for AlUla

Royal Commission for AlUla (RCU) ก่อตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาในเดือนกรกฎาคมปี 2017 เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาเมืองอัลอูลาในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีความสำคัญในเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติ แผนการระยะยาวของ RCU คือการพัฒนาเศรษฐกิจและเมืองด้วยความรวดเร็ว รับผิดชอบ และยั่งยืน พร้อมกับอนุรักษ์มรดกทางประวัติศาสตร์และธรรมชาติในพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมให้เมืองอัลอูลาเป็นจุดหมายปลายทางการอยู่อาศัย ทำงาน และท่องเที่ยว เป้าหมายเหล่านี้ก่อให้เกิดโครงการมากมายทั้งในด้านโบราณคดี การท่องเที่ยว วัฒนธรรม การศึกษา และศิลปะ ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการตอบสนองต่อความหลากหลายทางเศรษฐกิจ การสร้างพลังให้กับชุมชน และการอนุรักษ์มรดกตกทอดตามวิสัยทัศน์ Vision 2030 ของซาอุดีอาระเบีย

โครงการพัฒนาอื่น ๆ ของ RCU

ตลอดสามปีที่ผ่านมา RCU ได้ดำเนินโครงการพัฒนาหลายโครงการร่วมกับพันธมิตรจากทั่วโลก เช่น การเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของสนามบินอัลอูลา 300% และการสร้างมารายา (Maraya) ซึ่งเป็นอาคารกระจกขนาดใหญ่ที่สุดในโลกและอาคารอเนกประสงค์ระดับรางวัลขนาด 500 ที่นั่ง ซึ่งสามารถรองรับการประชุมและการจัดกิจกรรมบันเทิงต่าง ๆ โดยได้จัดอีเวนต์ระดับโลกมาแล้ว เช่น การประชุม Hegra Conference of Nobel Laureates และเทศกาลวัฒนธรรม Winter at Tantora โดยได้ต้อนรับศิลปินดังอย่าง Andrea Bocelli และ Lang Lang นอกจากนั้นยังมีโครงการพัฒนารีสอร์ทหรูร่วมกับ Accor, Habitas, Aman และ Jean Nouvel 

รูปภาพ - https://mma.prnasia.com/media2/1473491/image_1_1.jpg?p=medium600 
รูปภาพ - https://mma.prnasia.com/media2/1473492/image_2_1.jpg?p=medium600 
รูปภาพ - https://mma.prnasia.com/media2/1473493/image_3_1.jpg?p=medium600 
รูปภาพ - https://mma.prnasia.com/media2/1473494/image_4_1.jpg?p=medium600 
รูปภาพ - https://mma.prnasia.com/media2/1473495/image_5_1.jpg?p=medium600

 

Twenty-six fragments of a dog’s bones were found at a burial site in the basalt volcanic uplands of AlUla in north-west Saudi Arabia, along with bones from 11 humans. Dated at circa 4200 to 4000 BCE, this is the earliest known domesticated dog in Arabia.
Twenty-six fragments of a dog’s bones were found at a burial site in the basalt volcanic uplands of AlUla in north-west Saudi Arabia, along with bones from 11 humans. Dated at circa 4200 to 4000 BCE, this is the earliest known domesticated dog in Arabia.

 

An AlUla rock art panel shows two dogs hunting an ibex, surrounded by cattle. The weathering patterns and superimpositions visible on this panel indicate a late Neolithic age for the engravings, within the date range of the burials at the recently excavated burial sites.
An AlUla rock art panel shows two dogs hunting an ibex, surrounded by cattle. The weathering patterns and superimpositions visible on this panel indicate a late Neolithic age for the engravings, within the date range of the burials at the recently excavated burial sites.

 

An AlUla rock art panel shows two dogs hunting an ibex, surrounded by cattle. The weathering patterns and superimpositions visible on this panel indicate a late Neolithic age for the engravings, within the date range of the burials at the recently excavated burial sites.
An AlUla rock art panel shows two dogs hunting an ibex, surrounded by cattle. The weathering patterns and superimpositions visible on this panel indicate a late Neolithic age for the engravings, within the date range of the burials at the recently excavated burial sites.

 

This mother-of-pearl pendant, found at a Neolithic-Chalcolithic burial site in the basalt volcanic uplands of AlUla in north-west Saudi Arabia, is leaf-shaped with a single pierced hole and incised decoration. As yet, no direct parallels of that era have been identified for the pendant in north-west Arabia.
This mother-of-pearl pendant, found at a Neolithic-Chalcolithic burial site in the basalt volcanic uplands of AlUla in north-west Saudi Arabia, is leaf-shaped with a single pierced hole and incised decoration. As yet, no direct parallels of that era have been identified for the pendant in north-west Arabia.

 

 

 

 

 

Source: Royal Commission for AlUla for Saudi Arabia
Keywords: Art Entertainment Sports Animals/Pets Outdoors/Camping/Hiking
Related News