omniture

"หัวเว่ย" นำเสนอ Intelligent Twins ใช้เป็นสถาปัตยกรรมอ้างอิงสำรวจความเป็นไปได้ในโลกดิจิทัล

-- หัวเว่ยนำเสนอโซลูชันและแนวทางปฏิบัติล่าสุดใน 5 สถานการณ์ที่ยกระดับอย่างชาญฉลาด
Huawei
2021-03-26 16:56 299

เซินเจิ้น, จีน--26 มี.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

 

ในการประชุม Industrial Digital Transformation Conference 2021 หัวเว่ยได้ย้ำถึงสถาปัตยกรรม Intelligent Twins เพื่อแสดงให้เห็นถึงโซลูชันและแนวปฏิบัติล่าสุดใน 5 แนวทางหลักของบริษัท ได้แก่ Highly Efficient Campus, Intelligent Cloud, Green Power, Hyper-converged Data Center, และ Time-delay Determined Network Solutions ซึ่งเป็นรากฐานสำหรับการสร้างโลกอัจฉริยะที่มอบการยกระดับอัจฉริยะสำหรับรัฐบาลและองค์กรต่าง ๆ

เมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา หัวเว่ยได้เปิดตัว Intelligent Twins ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมอ้างอิงแรกของอุตสาหกรรมที่มอบการยกระดับอัจฉริยะสำหรับรัฐบาลและองค์กรต่าง ๆ บริษัทใช้ประโยชน์จาก Intelligent Twins เพื่อทำงานร่วมกับลูกค้าและคู่ค้า โดยจัดหาโซลูชันตามสถานการณ์ที่ตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย โดยในปัจจุบันมีการนำโซลูชันไปใช้ในโครงการมากกว่า 600 โครงการแล้ว

David Wang กรรมการบริหารของหัวเว่ย ได้กล่าวในปาฐกถาพิเศษว่า "ด้วย Intelligent Twins ในฐานะสถาปัตยกรรมอ้างอิง เรากำลังให้บริการลูกค้าด้วยโซลูชันตามสถานการณ์ภายใต้กรอบการทำงานหลัก ๆ ได้แก่ Highly Efficient Campus, Intelligent Cloud, Green Power, Hyper-converged Data Center, และ Time-delay Determined Network คุณสมบัติเหล่านี้เมื่อนำมารวมกันจะได้คำว่า HEIGHT หรือแปลว่าความสูง ด้วยแนวคิดนี้ หัวเว่ยจะมอบผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่ดีที่สุดแก่องค์กรทั่วโลกเพื่อการนำโซลูชันอัจฉริยะมาใช้ และสำรวจความสูงใหม่แห่งโลกอัจฉริยะไปด้วยกัน"

1. Intelligent Cloud: ศูนย์กลางอัจฉริยะ ซึ่งได้แก่ "สมอง" และระบบการตัดสินใจของ Intelligent Twins โดยโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ถือเป็นหัวใจหลักของฮับอัจฉริยะ

HUAWEI CLOUD ผสานรวมปัญญาประดิษฐ์เข้ากับระบบสนับสนุนองค์กรแบบดั้งเดิมและกระบวนการบริการหลัก ในขณะเดียวกันยังทำหน้าที่เป็นแกนหลักสำหรับการยกระดับอัจฉริยะให้แก่รัฐบาลและองค์กรด้วยโซลูชันต่าง ๆ เช่น Multi-Cloud Container Platform (MCP), FusionInsight และแพลตฟอร์มการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์แบบครบวงจรอย่าง ModelArts สิ่งเหล่านี้ทำให้การพัฒนาและการจัดการเป็นไปโดยอัตโนมัติโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ตลอดทั้งวงจรชีวิตของแอปพลิเคชัน ช่วยให้พันธมิตรและนักพัฒนาคิดค้นแอปพลิเคชันอัจฉริยะได้อย่างรวดเร็ว

Jacqueline Shi รองประธานกลุ่มธุรกิจคลาวด์และ AI และประธานฝ่ายการตลาด ประจำกลุ่มธุรกิจคลาวด์และ AI ของหัวเว่ย กล่าวว่า "เราเชื่อมั่นในเศรษฐกิจดิจิทัลว่าระบบคลาวด์ไม่ได้เป็นเพียงแค่การจัดหาทรัพยากรอีกต่อไป แต่เป็นแพลตฟอร์มที่มีแอปพลิเคชันเป็นศูนย์กลางซึ่งจะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ยกระดับและบรรลุจุดแข็งหลักในการแข่งขันได้อย่างชาญฉลาดโดยใช้สถาปัตยกรรมอ้างอิง Intelligent Twins"

2. Hyper-Converged Data Center: รากฐานของศูนย์รวมอัจฉริยะ

ศูนย์ข้อมูลแบบรวมระดับสูงที่มีการเก็บข้อมูลแบบ all-flash และเครือข่ายอีเทอร์เน็ตทั้งหมด จำเป็นต่อการสร้างพื้นที่จัดเก็บที่มีประสิทธิภาพและการส่งข้อมูลจำนวนมากโดยไม่ทำให้ข้อมูลหาย โซลูชัน Hyper-Converged Data Center ของหัวเว่ยประกอบด้วย OceanStor และ CloudFabric 3.0 และ DC OptiX 2.0

Kevin Hu ประธานสายผลิตภัณฑ์การสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ย กล่าวว่า "ข้อมูลคือสิ่งที่มีคุณค่าในศตวรรษที่ 21 หากคุณใช้ประโยชน์จากคุณค่าของข้อมูลได้อย่างเต็มที่แล้ว คุณจะริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ ได้มากขึ้นในการแข่งขันในอนาคต หัวเว่ยจะพัฒนาโซลูชันเครือข่ายศูนย์ข้อมูลแบบ Hyper-Converged อย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือที่ลึกซึ้งระหว่างหน่วยเก็บข้อมูลและเครือข่าย จะช่วยให้ลูกค้าสามารถสร้างศูนย์รวมอัจฉริยะที่มีประสิทธิภาพและเสริมสร้างการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลขององค์กร"

ดร. Peter Zhou ประธานสายผลิตภัณฑ์ไอทีประจำหัวเว่ย กล่าวว่า "OceanStor Dorado ของหัวเว่ยประกอบด้วยสถาปัตยกรรมที่เชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์แบบ สถาปัตยกรรมนี้ช่วยให้ระบบยังคงทำงานได้แม้ตัวควบคุมเจ็ดในแปดตัวจะล้มเหลวก็ตาม การทำงานร่วมกับโซลูชันการกู้คืนระบบแบบ active-active ทำให้ได้รับความน่าเชื่อถือ 99.99999% สำหรับข้อมูลที่มีความสำคัญต่อภารกิจ นอกจากนี้ ที่เก็บข้อมูลแบบ all-flash ของ OceanStor Dorado ยังช่วยสร้างศูนย์ข้อมูล all-flash ที่ประหยัดพลังงาน และเพื่อปลดปล่อยศักยภาพที่ไร้ขีดจำกัดของข้อมูลที่ไร้โครงสร้างจำนวนมหาศาลทั้งแบบ HPC / HPDA และ Big Data พื้นที่จัดเก็บข้อมูล OceanStor Pacific รุ่นใหม่ของหัวเว่ยได้มอบการขยายความจุสูงสุดได้ถึง 4096 โหนด มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 60% และความจุสูงกว่าผลิตภัณฑ์เดียวกันในอุตสาหกรรมถึง 2.6 เท่า รวมถึงมอบความสามารถด้านปริมาณงานแบบไฮบริดและความสามารถในการทำงานร่วมกันหลายโปรโตคอล"

หัวเว่ยยังเปิดตัว CloudFabric 3.0 Hyper-Converged Data Center Network Solution ประกอบด้วย CloudEngine และ iMaster NCE ที่เป็นส่วนประกอบหลัก โซลูชันนี้ถือเป็นโซลูชันแรกที่บรรลุความสามารถเครือข่ายขับเคลื่อนอัตโนมัติระดับ 3 ในอุตสาหกรรม การนำเสนอการใช้งานและการดำเนินงานอัจฉริยะที่ครอบคลุม ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานลงได้ถึง 30% โซลูชันนี้ยังสามารถสร้างเครือข่ายประมวลผลและพื้นที่จัดเก็บข้อมูลอีเทอร์เน็ตที่มีการสูญเสียเป็นศูนย์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลอย่างเต็มที่ 100%"

โซลูชัน DC OptiX 2.0 ของหัวเว่ย เปิดโอกาสให้ศูนย์ข้อมูลต่าง ๆ เชื่อมต่อถึงกันได้อย่างเรียบง่ายและชาญฉลาดในลักษณะ all-optical ที่มีบรอดแบนด์สูง โซลูชันนี้ยังประสบความสำเร็จในการนำไปปรับใช้ที่ Converge ซึ่งเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตของฟิลิปปินส์ด้วย โดย Ronald Brusola ซีทีโอของ Converge กล่าวว่า "การร่วมมือกับหัวเว่ยทำให้เราตระหนักถึงความเป็นผู้นำของหัวเว่ยในด้าน DCI ด้วยโซลูชัน Huawei DC OptiX 2.0 เรามั่นใจและเชื่อมั่นว่า Converge จะเติบโตมากขึ้นในสาขา IDC เพื่อให้บริการที่ตลาดฟิลิปปินส์สมควรได้จริง ๆ"

3. การเชื่อมต่ออัจฉริยะคือองค์ประกอบหลักของ Intelligent Twins เชื่อมต่อศูนย์รวมอัจฉริยะและการโต้ตอบอัจฉริยะเข้าด้วยกัน

เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายสำหรับสถานการณ์การเชื่อมต่อต่าง ๆ หัวเว่ยได้พัฒนานวัตกรรมมากมายสำหรับแพลตฟอร์มเทคโนโลยีใยแก้วนำแสงและ IP เพื่อสร้างเครือข่ายที่กำหนดได้เองในลักษณะหน่วงเวลา

Richard Jin ประธานสายผลิตภัณฑ์เครือข่ายการส่งและการเข้าถึงประจำหัวเว่ย เปิดเผยว่า โลกกำลังอยู่ในยุคของการเติบโตของข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ข้อมูลจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อเคลื่อนไหวได้ การเชื่อมต่อที่ชาญฉลาดรวมกับประสบการณ์ที่กำหนดได้ จะมอบแบนด์วิดท์ที่สูงและช่องส่งข้อมูลที่มีความหน่วงเวลาต่ำเพื่อสร้างการไหลของข้อมูลและเป็นเส้นเลือดหลักของความชาญฉลาดแห่งอุตสาหกรรม

การแยกส่วนเครือข่ายเชิงแสงด้วยเทคโนโลยี Liquid OTN ถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในเครือข่ายแบบกำหนดเองได้ต่อจาก SDH เทคโนโลยี Liquid OTN ที่ว่านี้มีจุดแข็งอยู่ที่การแยกสายส่งข้อมูล SDH และมาพร้อมกับ 2 นวัตกรรมสำคัญด้วยกัน ได้แก่ การลดความซับซ้อนของโปรโตคอลและการบรรจบกันของสถาปัตยกรรม ช่วยให้ Liquid OTN ลดเวลาแฝงได้ถึง 30%

ส่วนที่แบ่งออกมานี้ยังปรับขนาดได้ตามต้องการแบบเรียลไทม์ ตั้งแต่ 2 Mbit/s ไปจนถึง 100 Gbit/s โซลูชันนี้รับประกันประสบการณ์การให้บริการและตอบสนองความต้องการที่มีมายาวนานในแง่ของการเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัลของอุตสาหกรรม ทำให้เป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับการยกระดับเครือข่าย SDH ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่นกริดไฟฟ้าและการคมนาคม

ในด้าน IP อัจฉริยะ หัวเว่ยได้สร้างนวัตกรรมทางเทคนิคบนพื้นฐานของ SRv6 และเปิดตัวโซลูชันเครือข่ายคลาวด์อัจฉริยะ CloudWAN 3.0 โดยธนาคารการเกษตรแห่งประเทศจีนและหัวเว่ยได้ร่วมมือกันในด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี SRv6 ชั้นนำ เพื่อให้ได้ซึ่งประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการเชื่อมต่อแบบมัลติคลาวด์

4. Highly Efficient Campus: หน่วยพื้นฐานของโลกอัจฉริยะ

สำนักงานใหญ่ของหัวเว่ยในย่านปันเตี้ยนของเซินเจิ้น มีการเข้าถึงแบบไร้สายบนคลาวด์อัจฉริยะ และการส่งข้อมูลแบบ all-optical โดยพนักงานใช้ Wi-Fi 6 ทำงานและเชื่อมต่อถึงกันได้ทุกที่ทุกเวลา พนักงานสามารถเข้าถึง WeLink รองรับการฉายภาพจากโทรศัพท์มือถือและการแปลแบบเรียลไทม์ เทคโนโลยี 5G ยังรองรับการส่งวิดีโอ 4K แบบเรียลไทม์โดย UAV ซึ่งหมายความว่า บุคลากรสามารถตรวจอาคารได้แบบเรียลไทม์ สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย

Bob Chen ประธานฝ่ายการตลาดและการขายทางเทคนิคประจำธุรกิจเครือข่ายองค์กรของ Huawei Enterprise BG เชื่อว่า แคมปัสจะเป็น "เซลล์" ที่มีดีเอ็นเอทั้งหมดที่จำเป็นสำหรับโลกอัจฉริยะในอนาคต ที่ซึ่งเราจะได้เห็นกรณีการใช้งานในแคมปัสเหล่านี้มากขึ้น นับจากนี้ หัวเว่ยจะยังคงพัฒนาโซลูชันเฉพาะสถานการณ์ใหม่ ๆ สำหรับแคมปัสแห่งอื่น ๆ ผ่านประสบการณ์และความรู้ด้านเทคโนโลยีที่สั่งสมมานานกว่า 30 ปี การดำเนินการดังกล่าวจะทำให้โซลูชันของหัวเว่ยสามารถเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของสำนักงานหลายแห่ง และทำให้มีนวัตกรรมบริการมากขึ้น พร้อมศักยภาพในการสร้างแคมปัสที่ไร้ขอบเขต ไม่ต้องรอ และปลอดภัยไร้กังวล

ตัวอย่างเช่น โซลูชันเครือข่ายอุตสาหกรรมแบบ all-optical ของหัวเว่ย จะลดจำนวนโหนดกันระเบิดในเหมืองถ่านหินลง 40% ทำให้สามารถระบุตำแหน่งความผิดพลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ 0.5 ม. และทำให้พื้นที่เหมืองทำงานได้อย่างปลอดภัย

หัวเว่ยยังเปิดตัวโซลูชัน CloudCampus 3.0 ในการประชุมครั้งนี้อีกด้วย

5. Green Power: มอบพลังงานสีเขียว ประหยัดพลังงาน และลดการปล่อยมลพิษด้วยการสร้าง Intelligent Twins

Zhou Taoyuan ประธานสายผลิตภัณฑ์พลังงานดิจิทัลของหัวเว่ย กล่าวว่า "หลายปีที่ผ่านมา Huawei Digital Power ได้สร้างสรรค์นวัตกรรมที่น่าตื่นเต้นมากมาย โดยการรวมอิเล็กทรอนิกส์พลังงานและเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าด้วยกัน การใช้บิตเพื่อจัดการวัตต์ทำให้เราบรรลุการผลิตพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างโลกอัจฉริยะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น"

ในเขตใหม่ปิ่นเหอ ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเหลืองในเมืองเปาเฟิง มณฑลหนิงเซี่ย ประเทศจีน หัวเว่ยกำลังสร้างสถานีไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์กำลังการผลิต 640 เมกะวัตต์ รวมไว้ซึ่งเทคโนโลยีติดตามแสงอาทิตย์อัตโนมัติแกนเดี่ยวแบบแบนชั้นนำระดับโลก ทำให้แผงพลังงานแสงอาทิตย์เคลื่อนที่ตามแสงเช่นเดียวกับดอกทานตะวัน และเพิ่มการผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 20% เมื่อเทียบกับสถานีไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบดั้งเดิม โดยมีการใช้แผงโซลาร์เซลล์ปลูกเก๋ากี้ด้วยวิธีอินทรีย์คุณภาพสูงกว่า 400 ตารางกิโลเมตร เพื่อควบคุมพื้นที่รกร้างของทะเลทรายขนาด 650 ตารางกิโลเมตร

ตั้งแต่วันที่ 24-26 มีนาคม หัวเว่ยจัดการประชุม Industrial Digital Transformation Conference 2021 ทางออนไลน์ เพื่อสำรวจพลังของโลกดิจิทัลที่ยืดหยุ่นและสร้างสรรค์ใน 3 มุมมองด้วยกัน ได้แก่ ธุรกิจ เทคโนโลยี และระบบนิเวศ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://e.huawei.com/en/events/industry-digital-transformation/2021

Source: Huawei
Related Links:
Keywords: Computer Hardware Computer Networks Computer Software Computer/Electronics Internet Technology Telecommunications Telecommunications Equipment
Related News