- กว่า 70% ของผู้ตอบแบบสอบถามในแบบสำรวจปีนี้ระบุว่า ธุรกิจของพวกเขาได้รับผลกระทบด้านลบจากโรคระบาดโควิด-19
- 20% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า โรคระบาดส่งผลกระทบเชิงบวกต่อองค์กรของพวกเขาในภาพรวม
- 75% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า พวกเขามั่นใจที่จะบูรณาการสิ่งที่ได้เรียนรู้เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับองค์กรของพวกเขา
ลอนดอน, 30 มีนาคม 2564 /PRNewswire/ -- 1 ปีหลังโควิด-19 ถูกประกาศให้เป็นโรคระบาดทั่วโลก รายงาน Global Crisis Survey ฉบับที่ 2 ของ PwC มุ่งศึกษาไปที่การตอบสนองของชุมชนธุรกิจทั่วโลกต่อวิกฤตระดับโลกที่สร้างผลกระทบมากที่สุดในยุคของเรา โดยผู้นำธุรกิจกว่า 2,800 คนได้แชร์ข้อมูลและอินไซต์ ซึ่งเป็นตัวแทนขององค์กรทุกขนาด ใน 29 เซกเตอร์อุตสาหกรรมใน 73 ประเทศ
ผลสำรวจฉบับแรกที่เผยแพร่ไปเมื่อปี 2019 พบว่า 95% ของผู้ตอบแบบสอบถามคาดว่าจะเกิดวิกฤตภายใน 2 ปีข้างหน้า แต่ไม่ใช่โรคระบาด ซึ่งลดลงอย่างสิ้นเชิงจากภัยคุกคามที่ผู้นำภาคธุรกิจระบุว่าหวาดกลัว โดยปีที่แล้วได้ตอกย้ำว่าความท้าทายในการจัดการวิกฤตไม่ใช่เรื่องการทำนายอนาคต แต่เป็นการรับมือกับสิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้ ธุรกิจต่าง ๆ ต้องให้ความสำคัญกับการสร้างรากฐานความยืดหยุ่นเพื่อรับมือกับอะไรก็ตามที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้
กว่า 70% ของผู้ตอบแบบสอบถามปีนี้ระบุว่า ธุรกิจของพวกเขาได้รับผลกระทบเชิงลบจากโรคระบาด และ 20% ระบุว่าวิกฤตส่งผลกระทบด้านบวกต่อองค์กรของพวกเขาในภาพรวม โดยบริษัทเทคโนโลยีและเฮลธ์แคร์มีแนวโน้มได้ประโยชน์มากกว่า ขณะที่เซกเตอร์ท่องเที่ยวและบริการได้รับผลกระทบด้านลบมากที่สุด ขณะที่องค์กรที่เริ่มฟื้นตัวดีขึ้นต่างพึ่งพาทีมแก้ไขวิกฤตเฉพาะเพื่อตอบสนองต่อวิกฤต
"ในขณะที่องค์กรทั่วโลกประเมินการตอบสนองต่อโรคระบาด ข้อมูลและอินไซต์จากการสำรวจได้มอบโรดแมปที่น่าสนใจสำหรับใช้คิดทบทวนและเสริมสร้างความยืดหยุ่น" Kristin Rivera (Global Crisis Leader, PwC US) กล่าว "ท้ายที่สุดทุกสายตาต่างมองไปที่อนาคต การเรียนรู้วิธีตอบสนองวิกฤตของภาคธุรกิจคือก้าวสำคัญก้าวแรกสู่การสร้างรากฐานที่ถูกต้องสำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ การวางแผนรับมือวิกฤต โปรแกรมความยืดหยุ่น และการปกป้องและพิจารณาความต้องการทางกายภาพและอารมณ์ของพนักงาน ล้วนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญทั้งหมดในการเตรียมพร้อมสำหรับสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้"
รายงานสำรวจของ PwC พบว่า แม้ว่าองค์กรจะมีทีมแก้ไขวิกฤตที่ดี แต่พวกเขายังจำเป็นต้องมีโปรแกรมการจัดการวิกฤตที่รวดเร็ว เพื่อช่วยในการปรับใช้กับกระแสดิสรัปชันทุกรูปแบบ โดยปัจจุบันพบว่ามีองค์กรเพียง 35% ที่มีแผนตอบสนองวิกฤต 'ที่เกี่ยวข้องอย่างมาก' ซึ่งหมายความว่าองค์กรส่วนใหญ่ยังไม่ได้ออกแบบแผนให้เป็น 'ผู้ตอบสนองวิกฤต' ซึ่งเป็นจุดเด่นขององค์กรที่ยืดหยุ่น
จากข้อมูลการสำรวจ PwC ได้รวบรวม 3 วิธีที่บริษัทนำไปใช้เตรียมตัวรับมือวิกฤตให้ดียิ่งขึ้นได้ ดังนี้
- ออกแบบแผนกลยุทธ์ตอบสนองวิกฤตที่ใช้ได้รวดเร็ว สร้างเสถียรภาพในการดำเนินธุรกิจ และตอบสนองต่อแรงกระเพื่อมจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- กำหนดโครงสร้างที่ไม่เป็นทางการมากขึ้น โปรแกรมแบบบูรณาการเป็นสิ่งสำคัญต่อการตอบสนองวิกฤตให้ประสบความสำเร็จ และเพื่อสร้างความยืดหยุ่นในช่วง 'ภาวะปกติ'
- ให้ความสำคัญและสร้างความยืดหยุ่นระดับองค์กร ไม่เพียงแต่เพื่อความสำเร็จเท่านั้น แต่เพื่อความอยู่รอดด้วย
องค์กรในตำแหน่งที่ดีขึ้นในปัจจุบันมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะบอกว่า พวกเขาได้ให้ความสนใจอย่างมากกับความยืดหยุ่นขององค์กร และได้วางแผนไว้แล้วว่าจะตอบสนองต่อการหยุดชะงักของธุรกิจอย่างไร โดยองค์กร 7 จาก 10 แห่งกำลังวางแผนที่จะเพิ่มการลงทุนเพื่อสร้างความยืดหยุ่น ซึ่งในบรรดาผู้นำที่มีความเสี่ยง ตัวเลขนั้นสูงขึ้นแตะระดับ 9 ใน 10
"การสร้างความยืดหยุ่นใน DNA ขององค์กรจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสิ่งนี้ได้รับการจัดอันดับไว้ต้น ๆ" David Stainback (Crisis Leader, PwC US) กล่าว "การสร้างความยืดหยุ่นเป็นพื้นฐานในการที่องค์กรจะสามารถเผชิญกับผลกระทบและสร้างโอกาสใหม่ ๆ ได้"
ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามมองว่า ปี 2021 มีแนวโน้มที่เป็นบวก โดยรายงาน Annual Global CEO Survey ฉบับที่ 24 ของ PwC ที่เผยแพร่เมื่อต้นเดือนนี้ พบว่าซีอีโอมากถึง 76% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงเป็นสถิติ เชื่อว่าเศรษฐกิจทั่วโลกจะกระเตื้องขึ้นในปี 2021
มุมมองที่เป็นบวกดังกล่าวสอดคล้องกับข้อมูล Global Crisis Survey 2021 ของ PwC ซึ่งมีบริษัท 3 ใน 4 เชื่อมั่นว่าพวกเขาสามารถประสบความสำเร็จในการบูรณาการสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวิกฤต และเสริมสร้างความยืดหยุ่นในองค์กรได้
ดาวน์โหลดรายงานได้ที่ www.pwc.com/crisis-resilience โดยรับฟังข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Global Crisis Survey 2021 และแนวทางสร้างความยืดหยุ่นได้จากซีรีส์พอดแคสต์ Emerge stronger through disruption ตอนใหม่ล่าสุด
เกี่ยวกับ PwC
PwC มุ่งมั่นสร้างความไว้วางใจในสังคมและแก้ปัญหาที่สำคัญ เราคือเครือข่ายบริษัทที่ดำเนินธุรกิจใน 155 ประเทศ และมีบุคลากรกว่า 284,000 คนที่ทุ่มเทให้บริการรับประกัน ให้คำปรึกษา และให้บริการด้านภาษีที่มีคุณภาพ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมและแสดงความคิดเห็นได้ที่ www.pwc.com
PwC หมายถึงเครือข่ายบริษัท PwC และ/หรือ บริษัทสมาชิกหนึ่งบริษัทหรือหลายบริษัท โดยแต่ละบริษัทเป็นนิติบุคคลที่แยกกันชัดเจน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.pwc.com/structure
© 2021 PwC สงวนลิขสิทธิ์
โลโก้ - https://mma.prnasia.com/media2/1121790/PWC_Logo.jpg?p=medium600