ปักกิ่ง--28 พ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
โครงการอนุรักษ์น้ำเขื่อนตูเจียงเอี้ยน ซึ่งตั้งอยู่ในมณฑลเสฉวนทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีบทบาทสำคัญในการควบคุมน้ำท่วมและการชลประทานบริเวณที่ราบเฉิงตูในช่วงเวลากว่า 2,000 ปีที่ผ่านมา
ในฐานะที่เป็นโครงการน้ำที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เขื่อนตูเจียงเอี้ยนเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของภูมิปัญญาจีนสมัยโบราณที่แสวงหาความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ
ฉีหมินเหยาซู่ ตำราสารานุกรมการเกษตรแห่งศตวรรษที่ 6 ของจีน ระบุไว้ว่า "จงปฏิบัติตามฤดูกาลและผืนดิน แล้วท่านจะได้รับผลตอบแทนมากขึ้นโดยด้วยการกระทำที่น้อยลง"
คำสอนโบราณนี้ยังคงมีอิทธิพลต่อจีนสมัยใหม่ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในด้านการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ
ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน ได้อ้างคำสอนนี้ในการประชุมเรื่องการปกป้องสิ่งแวดล้อมเมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยระบุว่าแนวคิดดังกล่าวได้เน้นถึงความสำคัญของการรวมสวรรค์ โลก และมนุษย์ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เชื่อมต่อระบบนิเวศกับอารยธรรมมนุษย์และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ
"ความรุ่งเรืองหรือเสื่อมถอยของอารยธรรมขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์กับธรรมชาติ" เขากล่าวเสริม
ตำราฉีหมินเหยาซู่ เรียบเรียงโดยเจีย ซีสีแห่งราชวงศ์เว่ยเหนือ (386-534)
หยาง ยู ศาสตราจารย์ด้านวรรณคดีจีนโบราณแห่ง Central South University อธิบายว่า "เจียใช้ตัวอย่างของการทำฟาร์มธัญพืชเพื่อสาธิตให้เห็นถึงวิธีการ 'ปฏิบัติตามฤดูกาลและผืนดิน' โดยเฉพาะ"
"ตัวอย่างเช่น ความอุดมสมบูรณ์จะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ หากพื้นที่เพาะปลูกมีความอุดมสมบูรณ์อย่างยิ่ง การเริ่มปลูกช้าก็อาจให้ผลผลิตได้มากกว่า ขณะที่ในพื้นที่ที่ค่อนข้างแห้งแล้ง การเริ่มหว่านเมล็ดเร็วกลับมีความสำคัญ เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการได้ผลผลิตน้อยหากพลาดฤดูการเกษตร"
คุณยูตั้งข้อสังเกตว่า ภูมิปัญญาทางปรัชญาของเจียไม่เพียงแต่ใช้กับการเกษตรเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้กับความเป็นจริงในทุกแง่มุมของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติได้
พัฒนาจีนให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันจีนกำลังสร้างโครงการริเริ่มต่าง ๆ เพื่อทำให้ประเทศและโลกเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ตามแผนห้าปีฉบับที่ 14 (2564-2568) ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและเป้าหมายระยะยาวปี 2578 ส่วนสำคัญของความทันสมัยของจีนคือการบรรลุความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ
ในแผนดังกล่าว จีนได้ให้คำมั่นว่าจะลดการใช้พลังงานต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ลง 13.5% และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยของ GDP ลง 18%
เมื่อเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา จีนยังประกาศว่าจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดภายในปี 2573 และจะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2603
"การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญนี้ เกิดขึ้นจากความรู้สึกรับผิดชอบของเราในการสร้างชุมชนที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมนุษยชาติ และความต้องการของเราในการพัฒนาอย่างยั่งยืน" ประธานาธิบดีสีกล่าวในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำด้านสภาพภูมิอากาศเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา
ในขณะที่โลกกำลังเผชิญกับความท้าทายอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่อง ประธานาธิบดีสีได้เรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศร่วมกันทำในสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าว
เขากล่าวว่า โลกต้องยึดมั่นในความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ, การพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, การกำกับดูแลที่เป็นระบบ, แนวทางที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง, ความเป็นพหุภาคี และหลักการของความรับผิดชอบร่วมกันในด้านที่แตกต่างกันไป
เพื่อยกระดับความพยายามระดับโลกเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ จีนจะจัดการประชุมภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพครั้งที่ 15 ในเดือนตุลาคม 2564