ไทเป--3 มิ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
สถาบันวิจัยการออกแบบแห่งไต้หวัน (TDRI) สร้างความร่วมมือระหว่างประเทศกับไทย เป็นครั้งแรก เพื่อนำเสนอผลงานการออกแบบที่คว้ารางวัล Golden Pin Design Award ของไต้หวัน และรางวัล DEmark Award ของไทยจำนวน 45 ชิ้นภายใต้แนวคิดของการออกแบบเชิงหมุนเวียน ที่แสดงให้เห็นถึงพลังอันยั่งยืนแห่งการออกแบบของทั้งไต้หวันและไทย
TDRI ร่วมมือในระดับสากลกับไทยเป็นครั้งแรก เพื่อนำเสนอผลงานการออกแบบที่คว้ารางวัล Golden Pin Design Awards ของไต้หวัน และรางวัล DEmark Award ของไทย 45 ชิ้น
นิทรรศการและสัมมนาครั้งนี้หวังว่าจะสร้างแรงบันดาลให้ประชาชนใคร่ครวญข้อเท็จจริงที่โหดร้ายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ และตราบใดที่พวกเขาเริ่มเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในชีวิตประจำวันของตนเอง ทุก ๆ คนก็มีส่วนสนับสนุนพลังงานเชิงบวกให้กับความยั่งยืนของโลกใบนี้ได้
ในช่วงหลายปีมานี้ การเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ ทำให้ผู้คน ตระหนักได้ว่า ทรัพยากรของโลกกำลังร่อยหรอลงไป การออกแบบเชิงยั่งยืนจึงได้รับความสนใจจากภาครัฐและเอกชนทั่วโลก ทั้งในส่วนของกิจกรรมเชิงพาณิชย์ไปจนถึงการใช้ชีวิตประจำวัน ขณะที่ไทยซึ่งได้มีการส่งเสริมการออกแบบเชิงหมุนเวียนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาเป็นเวลานานแล้ว ก็มีความ เชี่ยวชาญในการใช้ประโยชน์จากวัสดุและทรัพยากรทางธรรมชาติ เพื่อนำมาสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเลิศในด้านการออกแบบอันยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่องและเปี่ยมไปด้วยความแปลกใหม่อันสนุกสนานออกมา พร้อมทั้งสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ให้กับชีวิตของผู้คน
ในปี 2020 มีผลงานของนักออกแบบไทยคว้ารางวัล Golden Pin Design Awards ซึ่งเป็นรางวัลที่มีชื่อเสียงและมีอิทธิพลมากที่สุดในวงการออกแบบของไต้หวัน ได้มากถึง 19 รางวัล ถือเป็นการแสดง ให้เห็นถึงพลังในการออกแบบอันน่าประทับใจของเหล่านักออกแบบไทย และเพื่อให้ผลงานการออกแบบที่ยั่งยืนจากไทยเป็นที่รู้จักของผู้คนมากขึ้น มิใช่เห็นเพียงแค่ในพิธีมอบรางวัล สถาบันวิจัยการออกแบบแห่งไต้หวัน (TDRI) จึงได้ร่วมมือกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) และสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2) ซึ่งประจำการอยู่ในไทเป เป็นครั้งแรก โดยรวบรวมผลงานของนักออกแบบไทยที่ได้รับรางวัล Golden Pin Design Awards ของไต้หวัน และรางวัล DEmark Awards ของไทยในปี 2020 จำนวนทั้งสิ้น 45 ชิ้นนำมาจัดนิทรรศการ "S.P.O.T. Sustainable Power of Thai-design" ระหว่างวันที่ 20 เมษายน -23 พฤษภาคม 2564 ณ พิพิธภัณฑ์ออกแบบไต้หวัน ซึ่งตั้งอยู่ในสวนวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ซงซาน (Songshan Creative Park)
งานนิทรรศการ "S.P.O.T. Sustainable Power of Thai-design" ได้เชิญทีมนักออกแบบของไต้หวัน คือ Dot Design ซึ่งมีประสบการณ์มากมายในการทำงานร่วมกับวงการออกแบบของไทย และให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบเชิงหมุนเวียน มาเป็นผู้ร่วมจัดนิทรรศการในครั้งนี้ภายใต้ธีม "สปอตไลท์" ซึ่งตอกย้ำการให้ความสำคัญกับงานออกแบบที่นำมาจัดแสดง นิทรรศการครั้งนี้ โดยเลือกใช้โทนสีหลักที่เกิดขึ้นจากการผสมสีทองของรางวัล Golden Pin Design Awards ของไต้หวันเข้ากับสีแดงของรางวัล Design Excellence Award (DEmark) ของไทย นอกจากนี้ โลโก้หลักของนิทรรศการครั้งนี้คือสัญลักษณ์ที่สื่อถึง "อินฟินิตี" อันหมายถึงจิตวิญญาณ แห่งความยั่งยืนของการหมุนเวียน และไฮไลท์สำคัญของนิทรรศการนี้ ได้แก่ เครื่องกำจัดกลิ่นที่ทำจากเมล็ดปาล์มเหลือทิ้ง กระเป๋าเป้ผ้าสักหลาดที่ทำจากขวด PET รีไซเคิล และบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากฝ้ายรีไซเคิลและเศษกระดาษจากโรงงาน ซึ่งต่างก็ได้รับแรงบันดาลใจ จากหลักการแห่งความยั่งยืน ผลงานเหล่านี้ยังแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ของ ผลิตภัณฑ์ในระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาคของไทยด้วย
นอกจากงานนิทรรศการแล้ว ยังมีการจัดสัมมนาด้านการออกแบบในช่วงระหว่างงานด้วย โดยในงาน สัมมนาได้เชิญนักออกแบบชาวไต้หวัน 3 ท่านคือ Lance Han, Shikai Tseng และ Hung Hao-chun รวมถึงนักออกแบบชาวไทย 3 ท่าน ได้แก่ คุณสิริวรรณ ชิวารักษ์, คุณจิรชัย ตั้งกิจงามวงศ์ และคุณทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ มาร่วมพูดคุยกันและแบ่งปันประสบการณ์ในหัวข้อเกี่ยวกับ "การออกแบบเชิงหมุนเวียน" "การออกแบบผลิตภัณฑ์" และ "การออกแบบพื้นที่"
โดยเหล่านักออกแบบได้เริ่มการสัมมนาด้วยการพูดคุยถึงประสบการณ์ในสาขาที่เกี่ยวข้อง พร้อมแบ่งปันผลงานการออกแบบที่ยั่งยืนจากไต้หวันและไทย ทำให้ผู้เข้าร่วมการสัมมนา ซึ่งต่างก็มีภูมิหลังด้านวัฒนธรรมและมีประสบการณ์ชีวิตที่แตกต่างกัน สามารถพูดคุยกันได้อย่างราบรื่น ถือเป็นการจุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจในเรื่องการออกแบบที่เป็นมิตรต่อการหมุนเวียน ให้แก่ผู้ที่เข้าร่วมรับฟังได้เป็นอย่างมาก
การจัดนิทรรศการและงานสัมมนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความเป็นจริง อันโหดร้ายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ โดยขอเพียงทุกคนเริ่มการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในชีวิตประจำวันของตนเอง ก็จะมีส่วนช่วยสนับสนุนและเป็นพลังบวกให้กับความยั่งยืนของโลกใบนี้