โฮโนลูลู--8 กรกฎาคม 2564--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
Saildrone Surveyor ยานผิวน้ำอัตโนมัติไร้คนขับ เดินทางถึงฮาวายในวันนี้ (8 ก.ค.) หลังออกเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์จากซานฟรานซิสโกไปยังโฮโนลูลู
แม้ว่าการเดินทางข้ามมหาสมุทรจะไม่ใช่เรื่องใหม่ของยานผิวน้ำอัตโนมัติของ Saildrone แต่ Saildrone Surveyor คือยานพาหนะที่ใหญ่กว่า ใหม่กว่า และปรับมาให้เหมาะกับการทำแผนที่สำรวจมหาสมุทรลึก โดยในระหว่างการเดินทาง 28 วันนั้น Saildrone Surveyor เดินทางไกล 2,250 ไมล์ทะเล และทำแผนที่พื้นทะเลได้ 6,400 ตารางไมล์ทะเล
การใช้พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานหลักทำให้ Saildrone Surveyor เป็นยานพาหนะเพียงหนึ่งเดียวในโลกที่สามารถทนต่อปฏิบัติการทำแผนที่มหาสมุทรแบบไร้ลูกเรือในระยะยาวได้ ข้อมูลอันมีมูลค่าที่รวบรวมมาได้จะช่วยแก้ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อโลกของเรา ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลังงานหมุนเวียนนอกชายฝั่ง การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และความมั่นคงปลอดภัยทางทะเล
Saildrone Surveyor มีความยาว 72 ฟุต (22 เมตร) และหนัก 14 ตัน มีเครื่องมือบันทึกเสียงที่ซับซ้อนมากมายเหมือนอยู่บนเรือสำรวจขนาดใหญ่ที่มีลูกเรือ และเซ็นเซอร์ของ Surveyor สามารถทำการสำรวจห้วงน้ำเพื่อดูระบบนิเวศใต้น้ำและทำแผนที่พื้นทะเลด้วยความละเอียดสูงจนถึงระดับความลึก 23,000 ฟุต (7,000 เมตร)
ข้อมูลชนิดหลายรังสีจาก Saildrone Surveyor ได้รับการปรับเทียบและประเมินผลโดยทีมงานภายนอกจากมหาวิทยาลัยนิวแฮมป์เชียร์ (UNH) ซึ่งมีประสบการณ์การทำงานกับเรือสำรวจขนาดใหญ่ของรัฐบาล "ข้อมูลที่ได้จาก Surveyor มีคุณภาพสูงมาก และดีเทียบเท่ากับที่เราเคยได้จากเรือขนาดใหญ่" Larry Mayer ผู้อำนวยการศูนย์การทำแผนที่มหาสมุทรและชายฝั่ง (CCOM) ของ UNH กล่าว "เนื่องจากขับเคลื่อนด้วยพลังงานลมจากธรรมชาติ ทำให้มันเงียบมาก ช่วยให้การวัดด้วยเสียงทำได้อย่างแม่นยำมาก ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำแผนที่ในระดับความลึกขนาดนี้"
มหาสมุทรปกคลุมพื้นผิวโลกกว่า 70% แต่กว่า 80% ของมหาสมุทรยังคงไม่ได้รับการสำรวจและทำแผนที่ เหตุผลสำคัญคือค่าใช้จ่ายที่สูงในการสำรวจมหาสมุทรเพราะต้องใช้เรือขนาดใหญ่ ซึ่งเรือเหล่านี้อาจใช้เงินหลายร้อยล้านดอลลาร์ในการสร้าง และอีกหลายแสนดอลลาร์ต่อวันในการปฏิบัติงาน ในขณะที่ Saildrone Surveyor สามารถแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายในการสำรวจมหาสมุทร ด้วยการทำงานแบบเดียวกับเรือสำรวจ แต่ใช้ต้นทุนน้อยกว่ามากและปล่อยคาร์บอนต่ำ
"ความสำเร็จในการเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์นี้เป็นการปฏิวัติความสามารถของเราในการทำความเข้าใจโลกของเรา" Richard Jenkins ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Saildrone กล่าว "เราสามารถแก้ปัญหาของการทำปฏิบัติการทางทะเลด้วยยานพาหนะขนาดใหญ่ในระยะทางไกล ทำให้การสำรวจนอกชายฝั่งสามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้เรือขนาดใหญ่และลูกเรือ การเปลี่ยนแปลงนี้ช่วยให้ลูกค้าของเราประหยัดค่าใช้จ่ายมหาศาล สืบเนื่องจากความสำเร็จครั้งนี้ ผมยินดีนำเสนอเทคโนโลยี Saildrone Surveyor ในตลาดอื่น ๆ ที่ปกติต้องใช้เรือขนาดใหญ่ เช่น การรักษาความมั่นคงแห่งมาตุภูมิและกลาโหม นอกจากนี้ การใช้โซลูชันปล่อยคาร์บอนต่ำในภารกิจทางทะเลที่สำคัญก็มีความจำเป็นเช่นกัน"
หลังการเดินทางทดสอบที่ประสบความสำเร็จในครั้งนี้ บริษัท Saildrone, Inc. จากแคลิฟอร์เนีย จะผลิตฝูงยานผิวน้ำอัตโนมัติ Surveyors ที่อู่ต่อเรือในสหรัฐอเมริกา โดย Saildrone ตั้งเป้าว่าจะทำแผนที่มหาสมุทรทั่วโลกภายใน 10 ปีข้างหน้า
Saildrone คือธุรกิจขนาดเล็กในสหรัฐอเมริกา ซึ่งออกแบบ ผลิต และดำเนินการฝูงยานผิวน้ำอัตโนมัติไร้คนขับ (USV) ที่มีความสามารถและไว้วางใจได้ที่สุดในโลก โดย USV ของ Saildrone ปล่อยคาร์บอนต่ำเพราะใช้พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งยังมาพร้อมเซ็นเซอร์ขั้นสูงและเทคโนโลยี ML เพื่อส่งข้อมูลสำคัญและข้อมูลเชิงลึกจากมหาสมุทรทุกที่ทุกเวลาตลอดปี โซลูชันของบริษัทประกอบด้วยเทคโนโลยีติดตามสถานการณ์ทางทะเล ข้อมูลมหาสมุทร และการทำแผนที่มหาสมุทร โดยการดำเนินงานและบริการเก็บรวบรวมข้อมูลของ Saildrone จะมีการเข้ารหัสเพื่อความปลอดภัย
ดูรูปภาพและวิดีโอได้ที่ https://saildrone.mediavalet.com/portals/saildrone-surveyor-completes-ocean-crossing-san-francisco-hawaii
ติดต่อ
Susan Ryan
รองประธานฝ่ายการตลาด
โทร: (314) 914-5008
อีเมล: susan.ryan@saildrone.com
รูปภาพ - https://mma.prnasia.com/media2/1560420/saildrone_surveyor.jpg?p=medium600