กรุงปารีส, 16 กรกฎาคม 2564 /PRNewswire/ -- แนวร่วมปฏิบัติด้านขยะพลาสติกของประชาคมสินค้าอุปโภคบริโภค (CGF) ซึ่งมีวิสัยทัศน์ร่วมกันในการพัฒนาโลกที่ขยะพลาสติกจะไม่เล็ดรอดเข้าสู่ธรรมชาติ ไม่ว่าจะบนบกหรือในน้ำ ได้ประกาศขั้นตอนสำคัญล่าสุดของสมาชิกประชาคมในการพลิกโฉมความสัมพันธ์ของอุตสาหกรรมกับบรรจุภัณฑ์พลาสติกในวันนี้ สมาชิกทั้ง 42 รายของประชาคมได้เผยแพร่ "กฎทองด้านการออกแบบ" เจ็ดข้อที่เหลือ ซึ่งตามหลังการเปิดตัวกฎสองข้อแรกเมื่อเดือนธันวาคม 2020 สมาชิกประชาคมมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามกฎเหล่านี้ หลังจากได้ระบุและจัดลำดับความสำคัญของโอกาสในกลุ่มบรรจุภัณฑ์ที่สมาชิกสามารถสร้างผลกระทบที่ตรงจุดและมีคุณค่าได้
ประชาคม ซึ่งมีวิสัยทัศน์ของ มูลนิธิเอลเลน แม็กอาร์เธอร์สำหรับระบบเศรษฐกิจพลาสติกแบบใหม่ชี้นำ ที่ CGF ได้สนับสนุนเมื่อเดือนตุลาคม 2018 มุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนให้เกิดพัฒนาการสู่การสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน ระหว่างการเปิดตัวในช่วงปีที่แล้ว ประชาคมจึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ของพัฒนาการ ซึ่งอยู่ในด้านสำคัญๆ สี่ด้านด้วยกัน ได้แก่: การออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ การจัดทำกรอบโครงการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (EPR) ที่เหมาะสมที่สุด การส่งเสริมให้มีการรังสรรค์นวัตกรรมด้านการรีไซเคิล และการนำร่องโครงการใหม่ๆ ในตลาดขั้นสูงและตลาดที่กำลังเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มอัตราการรีไซเคิล
และเพื่อเป็นการผลักดันสิ่งที่มีความสำคัญอันดับแรก สมาชิกของแนวร่วมปฏิบัติก็ได้กำหนด "กฎทองคำสำหรับการออกแบบ"สองข้อแรกขึ้นมาสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์พลาสติก เพื่อเร่งรัดการบรรลุเป้าหมายของการใช้พลาสติกที่ดีขึ้นและน้อยลง พันธกรณีชุดนี้ที่มีกำหนดเวลา อิสระและโดยสมัครใจจะสร้างคุณค่าอย่างมีนัยสำคัญต่ออุตสาหกรรมและระบบในวงกว้าง และเป็นการสร้างแรงกระตุ้นที่จำเป็นในการเปลี่ยนแปลงการออกแบบเพิ่มเติม เพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในพันธกรณีระดับโลกด้านระบบเศรษฐกิจพลาสติกใหม่
กฎระเบียบด้านการออกแบบล่าสุดเน้นที่การกำจัดบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่จำเป็น ด้วยการลดช่องว่างเหนือผลิตภัณฑ์ในบรรจุภัณฑ์และห่อชั้นนอกพลาสติก รวมถึงการเพิ่มคุณค่าการรีไซเคิลพลาสติกประเภทต่างๆ ตลอดจนบรรจุภัณฑ์ PET โดยใช้เทคนิคเทอร์โมฟอร์ม บรรจุภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคที่ยืดหยุ่นและ HDPE และ PP ชนิดแข็งตัว นอกจากนี้ จะมีการพุ่งเป้าไปที่บรรจุภัณฑ์พลาสติกระหว่างธุรกิจด้วยกันด้วย โดยมีการขจัดบรรจุภัณฑ์ที่ไม่จำเป็นทั้งหมดที่ไม่ถึงมือผู้บริโภค กฎระเบียบนี้ยังครอบคลุมถึงการใช้ขั้นตอนการรีไซเคิลบนบรรจุภัณฑ์ที่ถูกต้องและชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคไม่ลืมที่จะแยกบรรจุภัณฑ์สำหรับโซลูชันที่หมดอายุอย่างเหมาะสม กฎสองข้อแรกในชุดนี้ ซึ่งเผยแพร่เมื่อเดือนธันวาคม 2020 มุ่งเน้นที่การเพิ่มคุณค่าของการรีไซเคิลขวด PET และการขจัดองค์ประกอบที่เป็นปัญหาออกจากบรรจุภัณฑ์ เช่น คาร์บอนแบล็ก PVC (พอลิไวนิลคลอไรด์) และ EPS (โฟม EPS) ซึ่งทำให้กระบวนการรีไซเคิลซับซ้อน
กฎทองด้านการออกแบบอิงจากแนวทางด้านการออกแบบของผู้เชี่ยวชาญที่ใช้กันโดยทั่วไป แนวทางด้านการออกแบบสำหรับผู้ค้าปลีก คำแนะนำของหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ ผลงานของ Plastics Pacts และกฎหมายเฉพาะประเทศ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญของบริษัทที่เป็นสมาชิก ที่เป็นส่วนหนึ่งของกระแสงานด้านการออกแบบ ได้นำมาปรับใช้ ขั้นตอนของกระแสงานทั้งหมดได้รับการสนับสนุนจากคณะผู้เชี่ยวชาญอิสระจากทั่วโลก ซึ่งได้ชี้แนะเกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำในกฎระเบียบ รวมถึงมีการกล่าวถึงข้อยกเว้น และเป็นการเสนอแนะโซลูชันทางเทคนิค
สมาชิกของแนวร่วมปฏิบัติจากทั่วโลก ซึ่งมีรายได้รวมกันมากกว่าหนึ่ง ล้านล้านยูโร และใช้พลาสติกคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 10 ของตลาดบรรจุภัณฑ์พลาสติกระดับโลก ได้ให้คำมั่นว่าจะนำกฎเหล่านี้มาใช้ทุกครั้งที่ทำได้ภายในปี ค.ศ. 2025 มีการขอให้สมาชิกดำเนินการเปลี่ยนแปลงด้านการออกแบบโดยสมัครใจภายในปี 2025 และรายงานความคืบหน้าเป็นประจำทุกปี ในรูปแบบขั้นตอนที่สอดคล้องกับพันธกรณีระดับโลกด้านระบบเศรษฐกิจพลาสติกใหม่ รายละเอียดของกฎเก้าข้อและสมาชิกที่ได้นำกฎไปใช้แล้วอยู่ในเว็บไซต์ของแนวร่วมปฏิบัติ
การดำเนินการเกี่ยวกับการออกแบบอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของผู้นำของแนวร่วมปฏิบัติ แนวร่วมปฏิบัติได้รับการสนับสนุนในระดับคณะกรรมการของ CGF โดย Alan Jope ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Unilever และ Galen Weston ประธานบริหารของ Loblaw Limited คณะกรรมการอำนวยการมีประธานสองคน ซึ่งก็คือ Barry Parkin ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อและความยั่งยืนของ Mars, Incorporated และ Robert Nicol รองประธานฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ของ Walmart Canada
Ron Delia ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Amcor ให้สัมภาษณ์ว่า "Amcor อ้าแขนรับกฎทองด้านการออกแบบ เพื่อเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้ร่วมกัน ที่จะช่วยเพิ่มอัตราการรีไซเคิลและลดปริมาณขยะที่หลุดรอดออกสู่สิ่งแวดล้อม กฎระเบียบเหล่านี้สอดรับกับความมุ่งมั่นของ Amcor อย่างเต็มที่ ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งหมดให้สามารถรีไซเคิลหรือใช้ซ้ำได้ภายในปี 2025 เราภูมิใจที่ผลิตภัณฑ์มากมายของเราปฏิบัติตามมาตรฐานชั้นนำของอุตสาหกรรมเหล่านี้อยู่แล้ว และเราก็ยังคงรังสรรค์โซลูชันบรรจุภัณฑ์อย่างมีความรับผิดชอบที่ลูกค้าของเราต้องการเพื่อพัฒนาเส้นทางด้านความยั่งยืน"
Galen Weston ประธานบริหารและประธานของ Loblaw Companies Limited ให้สัมภาษณ์ว่า "กฎทองด้านการออกแบบทำให้อุตสาหกรรมของเรามีความชัดเจนและโอกาสในการกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนและจัดการกับปัญหามลพิษที่เกิดจากพลาสติก เรามีหน้าที่ในการเป็นผู้นำ จับมือกันและดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงด้านการออกแบบหลักนี้กลายเป็นบรรทัดฐานของอุตสาหกรรมของเรา ระบบอัจฉริยะมากกว่าเริ่มต้นขึ้นจากตัวเลือกวัสดุที่อัจฉริยะยิ่งกว่า"
James Quincey ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท Coca-Cola ให้สัมภาษณ์ว่า "การที่บริษัท Coca-Cola ปฏิบัติตามกฎทองด้านการออกแบบของ CGF เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในหมู่ธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสียหลัก เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ไม่ว่าจะเป็นตัวอย่างในพื้นที่ของเรา อย่างเช่น ขวด rPET 100% ที่ไม่มีฉลากแบบใหม่ของเราสำหรับแบรนด์น้ำแร่ธรรมชาติ I LOHAS หรือเป้าหมายระดับโลก อย่างเช่น เป้าหมายในการลดขยะพลาสติกผลิตใหม่ ที่เราตั้งไว้ในต้นปีนี้ เราก็กำลังพัฒนา บรรจุภัณฑ์ของเราและสร้างโซลูชันเพื่อกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียน"
Alan Jope ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Unilever กล่าวว่า "กฎทองด้านการออกแบบของ CGF เป็นช่วงเวลาชี้ชะตาของอุตสาหกรรมของเรา ขณะที่เราพยายามกระตุ้นให้เกิดการรีไซเคิลทั่วโลกและป้องกันมิให้ขยะพลาสติกเล็ดรอดออกไปสู่สิ่งแวดล้อม สมาชิกของเราได้รังสรรค์นวัตกรรมระดับโลกเพื่อรับประกันว่าผลิตภัณฑ์สามารถรีไซเคิลได้ แต่เราก็ต้องดำเนินการเพิ่มเติมอย่างรวดเร็วขึ้น มาตรฐานที่ใช้ร่วมกันเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ดีขึ้น เพิ่มการดำเนินการร่วมกันและเร่งรัดให้เกิดพัฒนาการสู่การสร้างแบบจำลองหมุนเวียน"
บริษัทสมาชิก 42 รายของแนวร่วมปฏิบัติด้านขยะพลาสติกได้แก่: ALDI SOUTH Group, Amcor, Barilla, Bel Group, Beijing Hualian Group, Carrefour, The Coca-Cola Company, Colgate-Palmolive, Danone, Dairy Farm, Essity, Ferrero, Grupo AlEn, Grupo Bimbo, GSK, Henkel, ICA, Jerónimo Martins, Johnson & Johnson Consumer Health, Kao Corporation, Land O'Lakes, Lenta, L'Oréal, Loblaw Companies Limited, Mars, Incorporated, McCain Foods, Merck Animal Health, Mondelēz International, Nestlé, NTUC Fairprice, PepsiCo, Procter & Gamble, Reckitt, Refresco, Rewe Group, Sainsbury's, SC Johnson, SIG Combibloc Group, Tetra Pak, Unilever PLC, Walgreens Boots Alliance และ Walmart
ข้อมูลเกี่ยวกับแนวร่วมปฏิบัติด้านขยะพลาสติกของประชาคมสินค้าอุปโภคบริโภค
แนวร่วมปฏิบัติด้านขยะพลาสติกของประชาคมสินค้าอุปโภคบริโภค ("CGF") ก่อตั้งในปี ค.ศ. 2020 โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาแนวทางพัฒนาและแปรรูปบรรจุภัณฑ์พลาสติกเชิงหมุนเวียนมากขึ้นในอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค การก่อตั้งแนวร่วมปฏิบัติได้ต่อยอดจากการสนับสนุนระบบเศรษฐกิจพลาสติกแบบใหม่ในปี 2018 ของมูลนิธิเอลเลน แม็กอาร์เธอร์ (Ellen MacArthur Foundation) ของ CGF ในฐานะกลุ่มผู้ค้าปลีกและผู้ผลิตนวัตกรรม ที่นำโดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารที่มุ่งมั่น 42 ราย วิสัยทัศน์ของแนวร่วมปฏิบัติในการเร่งการก้าวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจพลาสติกใหม่นี้ แสดงออกให้เห็นจากเป้าหมายหลักที่สมาชิกจะเดินหน้าใช้มาตรการที่สร้างผลกระทบผ่านความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายรายซึ่งจะช่วยให้ระบบหมุนเวียนเป็นบรรทัดฐานในอุตสาหกรรม โปรดเข้าไปที่ www.tcgfplasticwaste.com เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานของ CGF ในการลดขยะพลาสติก
ข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods Forum)
ประชาคมสินค้าอุปโภคบริโภค ("CGF") คือเครือข่ายอุตสาหกรรมระดับโลกที่มีความเสมอภาค ซึ่งผลักดันโดยสมาชิก เพื่อส่งเสริมการนำหลักปฏิบัติและมาตรฐานระดับโลกมาใช้เพื่อให้บริการแก่อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วโลก ประชาคมนี้ประกอบด้วยประธานเจ้าหน้าที่บริหารและคณะผู้บริหารระดับอาวุโสของผู้ค้าปลีก ผู้ผลิต ผู้จัดหาบริการ และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ราว 400 รายใน 70 ประเทศและสะท้อนให้เห็นุถึงความหลากหลายของอุตสาหกรรม ทั้งในแง่ภูมิศาสตร์ ขนาด หมวดหมู่ และรูปแบบของผลิตภัณฑ์ บริษัทสมาชิกมียอดขายรวม 3.5 ล้านล้านยูโร และว่าจ้างพนักงานเกือบ 10 ล้านคนโดยตรง โดยคาดการณ์ว่ามีตำแหน่งงานเกี่ยวข้องภายในห่วงโซ่คุณค่าอีก 90 ล้านตำแหน่ง ประชาคมนี้กำกับดูแลโดยคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยประธานเจ้าหน้าที่บริหารของผู้ผลิตและผู้ค้าปลีก 58 คน หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชม: www.theconsumergoodsforum.com.
Logo - https://mma.prnasia.com/media2/1279200/The_Consumer_Goods_Forum_Logo.jpg?p=medium600