omniture

Rockwell Automation เสริมสร้างความยืดหยุ่นของซัพพลายเชนท่ามกลางภาวะ VUCA

Rockwell Automation
2021-09-27 16:04 323

สิงคโปร์--27 ก.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

คุณ Chandramouli K.L. ที่ปรึกษาอาวุโสด้านอุตสาหกรรมของ Rockwell Automation นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้เล่นในห่วงโซ่อุปทานสามารถสร้างความยืดหยุ่นท่ามกลางภาวะที่เต็มไปด้วยความผันผวน (volatility), ความไม่แน่นอน (uncertainty), ความซับซ้อน (complexity) และความคลุมเครือ (ambuiguity) หรือ VUCA ทั้งนี้ Rockwell Automation Inc. (NYSE: ROK) เป็นผู้นำระดับโลกด้านระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรมและการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ความคิดเห็นต่อไปนี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว ไม่ได้สะท้อนถึงความคิดเห็นของ Rockwell Automation โดยรวมเสมอไป

ในขณะที่การระบาดรอบที่ 3 ของโควิด-19 กำลังดำเนินไปนั้น บรรดาผู้ผลิตไม่ว่าจะอยู่ในภูมิภาคใดหรือภาคส่วนใดก็ตาม ต่างประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ ชิ้นส่วนขั้นกลาง รวมถึงส่วนประกอบอื่น ๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางธุรกิจของลูกค้าปลายทาง นอกจากนี้ ปัญหาคอขวดในด้านการคมนาคมขนส่ง การโจมตีที่สร้างความเสียหายมหาศาลของแรนซัมแวร์ ตลอดจนการขาดแคลนแรงงาน ล้วนกระทบต่อระบบห่วงโซ่อุปทานทั่วทั้งโลก

เพื่อแก้ไขปัญหา VUCA ผู้เล่นในห่วงโซ่อุปทานสามารถนำแนวทาง 3 ประการที่สำคัญไปปรับใช้ ดังนี้

1. กระบวนการผลิตที่ยืดหยุ่นช่วยลดขั้นตอนในการตอบสนอง

ในช่วงที่โควิด-19 ระบาดนั้น มีความท้าทาย 3 ประการที่ผู้ผลิตมักเผชิญอยู่บ่อยครั้ง ได้แก่ ความต้องการของลูกค้า ความพร้อมของวัสดุ รวมถึงการสรรหาแรงงานและการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งมีแรงหนุนจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ดี ความท้าทายเหล่านี้ยังพบในภาคอุตสาหกรรมด้วย ในขณะที่ความต้องการปิโตรเลียม ไม้ เหล็ก และเซมิคอนดักเตอร์เกิดความผันผวนเนื่องจากการมาตรการล็อกดาวน์ทั่วโลก

การผสานการผลิตที่ยืดหยุ่นเข้ากับซัพพลายเออร์ที่ได้รับพัฒนามีความสำคัญต่อการแสวงหาโอกาสในภาคส่วนนี้ โดยซัพพลายเออร์ควรใช้ระบบการจัดการการปฏิบัติงานด้านการผลิต (MOM) ในระดับโลกระบบเดียว เพื่อแก้ไขปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ รูปแบบการทำงานที่ขาดความยืดหยุ่นก็ควรได้รับการออกแบบใหม่ โดยปรับปรุงการควบคุมและการตอบสนองที่เอื้อให้ผู้ผลิตสามารถเปลี่ยนรุ่นและผลิตภัณฑ์ได้รวดเร็ว เมื่อผสานการดำเนินงานต่าง ๆ เข้าด้วยกัน MOM ช่วยให้ผู้เล่นในอุตสาหกรรมสามารถรับมือความติดขัดได้มีประสิทธิภาพ โดยแจ้งให้ผู้เล่นเหล่านั้นทราบถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านการประกอบชิ้นส่วน ความต้องการด้านการฝึกอบรมในองค์กร รวมถึงปัญหาอื่น ๆ

การทำงานเชิงบูรณาการกับซัพพลายเออร์ให้มากขึ้นก็สำคัญเช่นกัน โดยร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและผู้รับเหมาเพื่อพัฒนาโมดูลที่ประกอบมาเสร็จแล้ว แทนการแกะจากกล่องแล้วมาประกอบ ตัวอย่างเช่น ลูกค้ารายหนึ่งของเราซึ่งเป็นผู้ผลิตของเล่นที่มีโรงงานอยู่ทั่วเอเชีย ได้ทำการออกแบบสินค้าใหม่โดยแชร์แบบจำลองและรูปทรงที่สร้างขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาช่วยออกแบบ (CAD) โดยส่งให้แบบเรียลไทม์ถึงนักออกแบบ วิศวกร ซัพพลายเออร์ และนักการตลาด พร้อมร่วมมือกับทีมฝ่ายบริหารเพื่อสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลให้สามารถทำงานร่วมกันได้ภายในทีม ทำให้สามารถลดเวลาในการจัดการข้อมูลและการทำธุรกรรมลดลงไปได้ 30% จึงช่วยร่นระยะเวลาที่ใช้ในกระบวนการ และลดต้นทุนลงได้

2. การจัดการพนักงานที่อัจฉริยะกว่าเดิม

ผลกระทบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คือการขาดแคลนพนักงานอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ นายจ้างจำนวนมากยังเผชิญปัญหาพนักงานที่มีทักษะทางอุตสาหกรรมน้อยในจำนวนมากขึ้น มีพนักงานใหม่และไม่คุ้นชินกับหน้าที่มากขึ้น รวมถึงปัญหาในการจัดตารางเข้ากะที่มีค่าใช้จ่ายสูง

การเพิ่มขีดความสามารถแรงงานและเทคโนโลยีสนับสนุนแรงงานเข้ามามีบทบาทสำคัญมากกว่าที่เคย โดยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจความพร้อมและทักษะของพนักงานได้ดียิ่งขึ้น พร้อมสร้างแบบจำลองเพื่อกำหนดการจัดการทรัพยากรที่เหมาะสมสำหรับการใช้อุปกรณ์และกระบวนการที่ซับซ้อน ณ เวลาที่กำหนด สิ่งนี้ช่วยยกระดับการทำงาน รวมถึงประสิทธิภาพและความพึงพอใจของพนักงาน นอกจากนี้ หุ่นยนต์อัตโนมัติยังสามารถช่วยทำงานง่าย ๆ ที่ต้องทำด้วยตนเอง เพื่อให้พนักงานเข้าถึงเพื่อนร่วมงานจากตลาดต่าง ๆ เพื่อยกระดับการแบ่งปันความรู้และการฝึกอบรม ขณะเดียวกันก็รักษามาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมด้วย

3. การวิเคราะห์ช่วยรับมือปัญหาขาดแคลนวัสดุ

ปัญหา VUCA ที่เกี่ยวข้องกับความคลาดเคลื่อนของวัตถุดิบ เช่น การขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตรถยนต์ สามารถจัดการได้ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบของซอฟต์แวร์การจัดการวงจรผลิตภัณฑ์ (PLM) การควบคุมเชิงทำนายแบบจำลอง (MPC) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแม้แต่ฟังก์ชัน "วิศวกรรมความโกลาหล" ที่จำลองปัญหาในกระบวนการผลิต ก็ช่วยให้ผู้ผลิตปรับตัวได้มากขึ้น

PLM เป็นแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อน ซึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือนแกนหลักของการจัดการต่าง ๆ โดยผู้ใช้สามารถใช้ข้อกำหนดการผลิตดิจิทัล ฟังก์ชันการจัดการแรงงาน และการแสดงภาพชั้นสูง เพื่อเชื่อมต่อวงจรการผลิตและวงจรชีวิตอุปกรณ์ของตนเองเข้ากับระบบตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ควบคุมการเปลี่ยนแปลงได้

เครือข่ายซัพพลายที่รองรับกับอนาคต เพื่อส่งเสริมความยืดหยุ่นในระยะยาว

เมื่อการเปลี่ยนแปลงคือสิ่งเดียวที่แน่นอน ความรับผิดชอบจึงอยู่ที่ผู้เล่นในซัพพลายเชนในการเปลี่ยนสู่ดิจิทัล เพื่อรับมือกับ VUCA และเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบอื่น ๆ การสร้างความคล่องตัว ความยืดหยุ่น และความยั่งยืนที่มากกว่าเดิมเข้าในกระบวนการซัพพลายเชน ช่วยเร่งการเข้าถึงข้อมูลที่จัดการได้ ช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ ตอบสนองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อเกิดปัญหา

เกี่ยวกับ Rockwell Automation
Rockwell Automation, Inc. (NYSE: ROK) คือผู้นำระดับโลกด้านระบบอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรมและการเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัล เราเชื่อมโยงจินตนาการของผู้คนเข้ากับศักยภาพของเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มพูนความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เท่าที่มนุษย์จะทำได้ ซึ่งจะทำให้โลกใบนี้มีความอุดมสมบูรณ์และยั่งยืนยิ่งขึ้น Rockwell Automation ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในมิลวอกี รัฐวิสคอนซิน มีพนักงานราว 23,000 คนที่คอยแก้ปัญหาให้กับลูกค้าในกว่า 100 ประเทศอย่างทุ่มเท เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการที่เราใช้เพื่อสร้างองค์กรที่เชื่อมต่อถึงกันทั้งหมดให้เกิดขึ้นจริงกับองค์กรในกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ที่ www.rockwellautomation.com 

Source: Rockwell Automation
Related Stocks:
NYSE:ROK
Keywords: Auto Computer/Electronics Semiconductors Transportation