ตงกวน, จีน--25 ต.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
หัวเว่ยประกาศแผนการปรับปรุงการสนับสนุนนักพัฒนาด้วยการอัปเดตความสามารถของบริการ Huawei Mobile Services (HMS) ที่งาน Huawei Developer Conference 2021 (HDC 2021) ซึ่งเครื่องมือที่ได้รับการปรับปรุงใหม่นี้จะช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างประสบการณ์ผู้บริโภคที่ดีขึ้น ตลอดจนนำเสนอทางเลือกที่ดีกว่าเดิมและบริการที่แข่งขันได้ให้กับผู้ใช้
Zhang Ping'an ประธานฝ่าย Consumer Cloud Service, Huawei Consumer Business Group และซีอีโอของ Huawei Cloud BU กล่าวสุนทรพจน์หลักในหัวข้อ "Together to Build a New HMS Ecosystem" เขาแบ่งปันความคิดเห็นว่า ขณะนี้ มีนักพัฒนา 5.1 ล้านคนทั่วโลกที่ลงทะเบียนกับ HMS ซึ่งได้รวมแอปพลิเคชันกว่า 173,000 รายการเข้ากับ HMS Core ปัจจุบัน HMS มีผู้ใช้งานรายเดือนมากกว่า 580 ล้านราย โดยมีอุปกรณ์เชื่อมต่อมากกว่า 1 พันล้านเครื่อง นอกจากนี้ เขายังเปิดตัว HMS Core 6 รุ่นล่าสุดและการอัปเดตกลไกหลักทั้ง 5 รายการของ HMS เพื่อช่วยให้นักพัฒนาตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในด้านฟังก์ชันแอปอัจฉริยะ
"นวัตกรรมเป็นหัวใจหลักในการสร้างระบบนิเวศแห่งอนาคต และนักพัฒนาคือกุญแจสำคัญ หัวเว่ยหวังที่จะรวบรวมทั้งความสามารถที่เปิดกว้างและสร้างสรรค์ ตลอดจนความคิดที่ยอดเยี่ยมของนักพัฒนา เพื่อเร่งการเดินทางของเราไปสู่อนาคตที่ทุกสถานการณ์ล้วนเชื่อมต่อกันทั้งหมด" Zhang Ping'an กล่าว
ความสามารถของ HMS ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยความเร็วสูง โดยได้รับการสนับสนุนจากนักพัฒนาทั่วโลก
ในช่วงที่ AppGallery และ HUAWEI Music ให้บริการในต่างประเทศเป็นครั้งแรกในปี 2561 บริการ HMS มีนักพัฒนาที่ลงทะเบียนเพียง 560,000 รายทั่วโลก และต่อมาเมื่อ HMS Core 4 พร้อมให้ใช้งานในปี 2562 ในขณะที่หัวเว่ยประกาศแผนการสร้างระบบนิเวศบนมือถือทั่วโลก นักพัฒนา 1.3 ล้านคนก็ได้ร่วมมือกับ HMS และใช้ความสามารถหลัก 14 ประการ หลังจากนั้นในปี 2563 เฟรมเวิร์ก HMS Core 5 มีความสามารถประมาณ 56 รายการใน 7 หมวดหมู่ รวมถึงบริการกลไกหลัก 5 รายการสำหรับนักพัฒนาที่ลงทะเบียนแล้ว 2.3 ล้านคนทั่วโลก ปัจจุบัน ระบบนิเวศ HMS ยังคงมีตำแหน่งที่มั่นคงในฐานะระบบนิเวศมือถือที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก
AppGallery ได้เผยแพร่แอปพลิเคชันกว่า 3.322 แสนล้านรายการทั่วโลกให้กับผู้ใช้ปลายทางของหัวเว่ยจำนวน 730 ล้านคนในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 13% เมื่อเทียบเป็นรายปี ขณะที่การเผยแพร่ Quick Apps ยังมากกว่า 1.15 หมื่นล้าน เพิ่มขึ้น 188% เมื่อเทียบเป็นรายปี
ความสามารถข้ามแพลตฟอร์มของ HMS Core 6 ช่วยให้นักพัฒนาปรับปรุงแอปของตนได้
HMS Core 6 ได้ประกาศชุดเครื่องมือใหม่หลายชุดสำหรับนักพัฒนา เพื่อช่วยให้พวกเขาสร้างฟังก์ชันที่แข่งขันได้มากขึ้นสำหรับแอปของตนหลังจากเปิดตัวในเดือนกรกฎาคม โดย HMS Core 6 นั้นประกอบด้วยชุดเครื่องมือ 69 ชุดและ API 21,738 รายการ เมื่อเปรียบเทียบกับ HMS Core 5 แล้ว เวอร์ชันเปิดตัวล่าสุดนี้ประกอบด้วยความสามารถแบบเปิดข้ามระบบปฏิบัติการ 13 ระบบและ API ใหม่ 8,747 รายการ
ชุดเครื่องมือ AV Pipeline Kit, 3D Modeling Kit, Video Editor Kit, Audio Editor Kit และ 5G Modem Kit เป็นส่วนหนึ่งในชุดเครื่องมือที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อเร็ว ๆ นี้สำหรับนักพัฒนา ซึ่งสนับสนุนนักพัฒนาในด้านสื่อ กราฟิก ปัญญาประดิษฐ์ (AI) การคุ้มครองลิขสิทธิ์ และโดเมนระบบ นอกจากนี้ หัวเว่ยยังพัฒนาบริการที่มีอยู่ เช่น Computer Graphics Kit และ Network Kit เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในด้านฟังก์ชันแอปอัจฉริยะและเสริมศักยภาพเพิ่มเติมให้กับพันธมิตร
สำหรับโดเมนสื่อ HMS Core 6 เปิดตัวความสามารถทั้งหมด 11 รายการ โดยเพิ่มความสามารถในการแก้ไขวิดีโอและเสียงใหม่ ขณะที่ Video Editor Kit เป็นชุดเครื่องมือแบบครบวงจรที่ผสานรวมเข้ากับแอปได้อย่างง่ายดาย มาพร้อมกับฟังก์ชันการแก้ไขวิดีโอที่หลากหลาย เช่น การนำเข้า/ส่งออกวิดีโอ การตัดต่อ การเรนเดอร์ และการจัดการทรัพยากรสื่อ ยิ่งไปกว่านั้น API ที่ทรงพลัง ใช้งานง่าย และเข้ากันได้ช่วยให้นักพัฒนาสร้างแอปตัดต่อวิดีโอสำหรับหลากหลายสถานการณ์ได้อย่างสะดวกสบาย ขณะเดียวกัน ชุดเครื่องมือ Audio Editor Kit มีความสามารถในการแก้ไขเสียงหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการแยกแหล่งเสียง เสียงรอบทิศทาง การเปลี่ยนเสียง การลดเสียงรบกวน และเอฟเฟกต์เสียง ซึ่งชุดเครื่องมือนี้จะทำหน้าที่เป็นโซลูชันแบบครบวงจรสำหรับนักพัฒนา ในการสร้างฟังก์ชันเกี่ยวกับเสียงในแอปของตนเองด้วยต้นทุนที่ต่ำลงอย่างง่ายดาย
สำหรับโดเมนกราฟิก HMS Core 6 ได้เพิ่มหรือปรับปรุงความสามารถแบบเปิด 7 รายการ โดยมี 3D Modeling Kit เป็นไฮไลท์ ชุดเครื่องมือที่ใช้ AI นี้รองรับการรวบรวมภาพถ่ายในคลิกเดียวและการสร้างแบบจำลองสามมิติอัตโนมัติ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแบบจำลองโดยใช้ประสบการณ์ระดับมืออาชีพเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ ชุดเครื่องมือ Computer Graphics Kit ยังเปิดตัวเทคนิคการเรนเดอร์แบบ "volumetric fog" ซึ่งฟีเจอร์กราฟิกใหม่นี้ใช้เทคโนโลยี Ray Tracing แบบเรียลไทม์ของ Scene Kit เพื่อทำให้การสะท้อนแบบไดนามิกของวัตถุในเกมมือถือมีความสมจริงมากขึ้น การติดตามแสงในสภาพแวดล้อมของ AR Engine รองรับแสงแวดล้อมแบบเรียลไทม์เพื่อปรับปรุงเอฟเฟกต์เงาหมอก ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับเกมสไตล์ไซเบอร์พังค์
สำหรับด้าน AI นั้น หัวเว่ยได้เปิดตัว SignPal Kit โดยชุดอุปกรณ์นี้จะแปลงข้อความเป็นท่าทางภาษามือและการแสดงออกทางสีหน้าแบบเรียลไทม์ด้วยความแม่นยำมากกว่า 90% ซึ่งมีประโยชน์ต่อผู้ที่สูญเสียการได้ยินและทำให้การสื่อสารไร้อุปสรรคสำหรับพวกเขา
ความสามารถเต็มรูปแบบของ HMS Core จะช่วยส่งเสริมให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอปที่มีคุณภาพด้วยโซลูชันอัจฉริยะ ตามบริบท และตามสถานการณ์ในอุปกรณ์อัจฉริยะหลากหลายประเภท รวมถึงสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต สมาร์ททีวี อุปกรณ์สวมใส่ และผลิตภัณฑ์เสียง ความสามารถแบบเปิดเหล่านี้ยังสามารถใช้เพื่อสร้างแอปที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Android, HarmonyOS และ iOS โดยใช้เฟรมเวิร์กการพัฒนาข้ามแพลตฟอร์ม เช่น React Native และ Cordova
การอัปเดตบริการกลไกหลักของ HMS ช่วยส่งเสริมฟังก์ชันของแอปอัจฉริยะ
หัวเว่ยได้ประกาศการอัปเดตใหม่สำหรับบริการกลไกของ HMS Core ผ่านบริการ aPaaS ของ Huawei Cloud เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้ใช้และนักพัฒนา และเพื่อผลักดันขอบเขตของฟังก์ชันแอปอัจฉริยะต่อไป
Zhang Ping'an กล่าวเสริมว่า "เป้าหมายของเราคือการอัปเดตกลไกหลักเหล่านี้เป็นบริการคลาวด์เพื่อให้บริการนักพัฒนาทั่วโลกได้ดียิ่งขึ้น"
สำหรับ Petal Search และ Petal Maps Platform จะได้รับการอัปเดตในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า และจะพร้อมใช้งานสำหรับนักพัฒนาในรูปแบบบริการคลาวด์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการจัดหาเครื่องมือที่ล้ำสมัยที่สุดให้กับนักพัฒนา
หัวเว่ยได้นำการอัปเดตอันทันสมัยมาสู่เครื่องมือ Petal Search ที่เป็นที่ชื่นชอบ โดย Petal Search 2.0 จะเป็นเสิร์ชเอ็นจิ้น AI แบบหลายโหมดรุ่นต่อไป ซึ่งนำเสนอประสบการณ์การค้นหาที่ล้ำสมัยในอุตสาหกรรมต่าง ๆ กว่า 20 แห่ง รวมถึงข่าวสาร วิดีโอ ช้อปปิง เที่ยวบิน ธุรกิจในท้องถิ่น และอื่น ๆ โดย Petal Search ให้บริการใน 170 ประเทศทั่วโลก และรองรับมากกว่า 70 ภาษา
หัวเว่ยได้เปิดความสามารถของ Petal Search อย่างเต็มที่ผ่าน SDK ฝั่งอุปกรณ์และ API ฝั่งคลาวด์ ด้วยการให้บริการแบบ Search as a Service ซึ่งทำให้พันธมิตรในระบบนิเวศสามารถมอบประสบการณ์การค้นหาแอปมือถือที่ดีที่สุดได้อย่างรวดเร็ว Petal Search ช่วยให้พันธมิตรสามารถเผยแพร่เนื้อหาไปยังผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านแพลตฟอร์มการจัดการ UniBox ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของหัวเว่ย และมีการค้นหาเฉลี่ย 8 พันล้านครั้งต่อวัน
ขณะเดียวกัน Petal Maps เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของเทคโนโลยีของหัวเว่ยที่ช่วยให้นักพัฒนาตอบสนองมาตรฐานระดับสูงของผู้ใช้หัวเว่ย ซึ่งการประชุม HDC 2021 ครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงแนวทางที่ Petal Maps รวบรวมข้อมูลจุดสนใจ (POI) มากกว่า 260 ล้านรายการ (เพิ่มขึ้นจาก 180 ล้านรายการ) และตำแหน่งที่อยู่ 690 ล้านแห่ง (เพิ่มขึ้นจาก 470 ล้านแห่ง) ซึ่งช่วยให้นักพัฒนาปฏิบัติตามข้อกำหนดการวางตำแหน่งในสถานการณ์ใหม่ Petal Maps ได้รับรางวัล Red Dot Design Award สำหรับประสบการณ์เชิงโต้ตอบ ปัจจุบัน Petal Maps ให้บริการในกว่า 140 ประเทศและภูมิภาค และมีผู้ใช้งานสะสมประมาณ 10 ล้านคน
การพัฒนา Petal Maps จะทำให้แพลตฟอร์มนี้มีความสามารถมากยิ่งขึ้น รวมถึงการวางตำแหน่งที่มีความแม่นยำสูง การแสดงแผนที่ภูมิประเทศ ประสบการณ์เชิงโต้ตอบแผนที่ที่หลากหลาย การค้นหาข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำระดับเลนคุณภาพสูง และ Map Studio นอกจากนั้นแล้ว Petal Maps Platform ยังรวม flyTo ไว้ในการแสดงแผนที่เพื่อสร้างแพลตฟอร์มที่ดียิ่งขึ้นสำหรับนักพัฒนา โดยนักพัฒนาจะสามารถปรับแต่งแผนที่ของตนได้เพื่อให้ผู้ใช้เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การค้นหาที่สมจริงและลึกล้ำยิ่งขึ้น ขณะนี้ Map Studio พร้อมให้บริการแล้วสำหรับนักพัฒนาในต่างประเทศเพื่อให้สามารถปรับแต่งแผนที่ด้วยเทมเพลตที่กำหนดเองและเครื่องมือแก้ไขสไตล์ และแพลตฟอร์มนี้ยังประกอบด้วยฟีเจอร์ความเป็นส่วนตัวรูปแบบใหม่ที่ได้รับการปรับปรุง ซึ่งหัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะปกป้องข้อมูลของผู้ใช้
งาน HDC 2021 ในปีนี้ทำให้หัวเว่ยมีโอกาสสร้างพันธสัญญากับเหล่านักพัฒนาอีกครั้ง โดยแสดงให้เห็นถึงการปรับปรุงแก้ไขที่สามารถทำได้ เพื่อให้แน่ใจว่าบริการของหัวเว่ยยังคงล้ำสมัยและน่าตื่นเต้น