omniture

RSPO เปิดประชุม 2021 Virtual Roundtable Conference เรียกร้องทุกภาคส่วนเพิ่มความยืดหยุ่นในอุตสาหกรรมสินค้าโภคภัณฑ์เกษตร

Roundtable On Sustainable Palm Oil
2021-11-25 14:17 232

ด้วยฉันทามติจากการประชุมสุดยอดว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือ COP26 ขององค์การสหประชาชาติ (UN) องค์กรต่าง ๆ อาทิ Airbus, CottonConnect, Earthworm Foundation, Tropical Forest Alliance และ World Resources Institute ได้ร่วมกันเรียกร้องให้ทุกภาคตลอดทั้งซัพพลายเชนร่วมมือกัน เพื่อสร้างอิทธิพลในเชิงบวกต่อผู้คนและโลกใบนี้ ในการประชุมโต๊ะกลมประจำปี 2564 ของ RSPO

กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย--25 พ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน Roundtable on Sustainable Palm Oil (RSPO) ได้จัดการประชุม 2021 Virtual Roundtable Conference ขึ้นภายใต้ธีม "ความยืดหยุ่นต่อสภาพอากาศ: สร้างหลักประกันถึงอนาคตน้ำมันปาล์มที่ยั่งยืน" การประชุมครั้งนี้ได้รวบรวมกูรูชั้นนำแห่งแวดวงสินค้าโภคภัณฑ์เกษตร ซึ่งได้มาแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับปัญหาที่มีความซับซ้อนมากที่สุดในอุตสาหกรรม ตั้งแต่ภาวะโลกร้อน ไปจนถึงประเด็นด้านความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและเศรษฐกิจ

Industry experts from Airbus, CottonConnect, Earthworm Foundation, Tropical Forest Alliance and World Resources Institute called for collaborative action across supply chains during RSPO’s 2021 roundtable conference.
Industry experts from Airbus, CottonConnect, Earthworm Foundation, Tropical Forest Alliance and World Resources Institute called for collaborative action across supply chains during RSPO’s 2021 roundtable conference.

ผู้ร่วมอภิปรายเปิดฉากด้วยการแลกเปลี่ยนมุมมองของตนเองที่มีต่อการประชุม COP26 โดยระบุว่า ที่ประชุม COP26 ให้ความสำคัญกับประเด็นการใช้งานผืนป่าและผืนดินอย่างเด่นชัด ซึ่งผู้นำจากกว่า 100 ประเทศได้ให้คำมั่นที่จะยุติการทำลายป่า พร้อมสงวนรักษาไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติให้ได้ภายในปี 2573 นอกจากนี้ ที่ประชุม COP26 ยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของโซลูชันต่าง ๆ อาทิ RSPO และโครงการริเริ่มอาสาสมัครอื่น ๆ ซึ่งมีอิทธิพลต่อสินค้าโภคภัณฑ์อย่างน้ำมันปาล์มโดยตรง เนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมักถูกมองเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการทำลายป่าและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ปกป้องสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงาน การวิเคราะห์อย่างเข้มข้นในประเด็นแรกคือการรับมือกับปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงานอันซับซ้อน โดยผู้ร่วมอภิปรายได้เน้นย้ำว่า ประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงานไม่สามารถแยกออกจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างเด็ดขาด และถือเป็นความท้าทายที่ยากเป็นอันดับต้น ๆ ในอุตสาหกรรมสินค้าโภคภัณฑ์เกษตร

ขณะเดียวกัน ผู้ร่วมอภิปรายยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของมาตรฐานในด้านต่าง ๆ อาทิ มาตรฐานของ RSPO "เพื่อใช้เป็นแนวทางที่เคารพต่อสิทธิมนุษยชนทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทาน" โดยคุณแจนฮาวี ไนดู จาก Earthworm Foundation กล่าวว่า "เรามุ่งเน้นไปที่การถ่ายทอดระเบียบวาระ วิสัยทัศน์ และความคาดหวังของ RSPO ตลอดจนมาตรฐานในลักษณะเดียวกันนี้ ให้กลายเป็นทรัพยากรและโซลูชันที่นำไปปฏิบัติได้จริง เนื่องจากผู้ที่จะรับนำเอาแนวทางเหล่านี้ไปใช้งานนั้นต้องการการกำหนดทิศทางที่ชัดเจน ตลอดจนระยะเวลา และการลงทุนต่าง ๆ เพื่อให้ปรับใช้แนวทางด้านแรงงานได้อย่างเหมาะสม"

ด้านคุณอลิสัน วาร์ด จาก CottonConnect ซึ่งมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันได้กล่าวเสริมว่า "การดูแลแรงงานอย่างเป็นธรรมต้องใช้เม็ดเงินลงทุนจำนวนมากในแต่ละขั้นของห่วงโซ่อุปทาน การแทรกแซงในท้องถิ่น และการมีส่วนร่วม โดยในภาคสิ่งทอนั้น แบรนด์และบริษัทต่าง ๆ จะต้องพบปะพูดคุยกับเกษตรกร บริษัทแปรรูป และผู้ปั่นด้าย เพื่อทำความเข้าใจถึงข้อกังวลของพวกเขา และลงทุนในทรัพยากรอย่างเพียงพอเพื่อจัดการกับปัญหาเหล่านี้" โดยเธอได้นำเสนอตัวอย่างของการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในชุมชนผู้ปลูกฝ้ายในอินเดียและปากีสถาน เพื่อสร้างหลักประกันว่าสุขภาพและความปลอดภัยของเหล่าเกษตรกรจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากการทำงานในภาคน้ำมันปาล์มนั่นเอง

การใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ผู้ร่วมอภิปรายได้พูดถึงความสำคัญของการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากเทคโนโลยีจะช่วยทำให้ห่วงโซ่อุปทานน้ำมันปาล์มมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเปิดทางให้ธุรกิจสามารถผลักดันการปฏิบัติงานในด้านความยั่งยืนได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ RSPO ถือเป็นองค์กรแนวหน้าที่มุ่งพัฒนาโซลูชันเพื่อเสริมสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแผนการรับรอง

ทางด้านคุณร็อด เทย์เลอร์ จากสถาบันทรัพยากรโลก (World Resources Institute: WRI) ได้ยกตัวอย่างของ GeoRSPO ซึ่งได้นำแผนที่สัมปทาน RSPO มารวมไว้ในแพลตฟอร์มของ Global Forest Watch โดยอธิบายว่า "Global Forest Watch จะป้อนข้อมูลเข้าไปยัง GeoRSPO โดยตรง ด้วยการรวมภาพถ่ายจากดาวเทียมและคลาวด์คอมพิวติ้งที่สะดวกต่อผู้ใช้งานเพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของการใช้ที่ดิน… วิธีนี้ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ บริหารจัดการความเสี่ยงจากการทำลายป่าไม้ในห่วงโซ่อุปทานของตนเอง พร้อมทั้งรวมแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงและการรายงานข้อมูลไว้ในระบบบเดียว"

เวนดี คาร์รารา จากแอร์บัส ให้ความเห็นว่า "เราใช้เวลา 20 ปีเพื่อวิจัยและพัฒนาเครื่องมือตรวจสอบยืนยันความถูกต้อง เพื่อสนับสนุนงานด้านการติดตามการใช้พื้นที่เพาะปลูก ยกระดับการแจ้งเตือนเมื่อพบการบุกรุกทำลายป่า และเชื่อมโยงเข้ากับข้อมูลห่วงโซ่อุปทาน ทั้งหมดนี้ช่วยให้มั่นใจถึงกระบวนการจัดหาน้ำมันปาล์มอย่างมีความรับผิดชอบ เรานำภาพถ่ายทางดาวเทียมมาวิเคราะห์โดยใช้พารามิเตอร์เชิงชีวฟิสิกส์ เพื่อสร้างแผนที่พื้นฐานสำหรับการตรวจติดตามผลในภาพใหญ่ พร้อมเจาะจงพื้นที่ได้อย่างแม่นยำ"

การส่งเสริมคุณภาพชีวิตในชนบท สำหรับการหารืออย่างเจาะลึกในประเด็นสุดท้ายนั้น ครอบคลุมแนวทางการเตรียมพร้อมรับมือด้านสภาพอากาศโดยอาศัยมาตรฐานการรับรองอย่าง RSPO ที่นอกจากจะก่อประโยชน์ต่อโลกแล้ว ยังเป็นการดีสำหรับผู้คนด้วย ซึ่งการเตรียมพร้อมดังกล่าวในภาคอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มที่ยั่งยืนนั้นจึงไม่ใช่แค่เรื่องจำเป็นในทางระบบนิเวศเท่านั้น แต่ยังเป็นการเสริมสร้างพลังทางสังคมด้วยการส่งเสริมศักยภาพของแรงงาน การสร้างงาน และยกระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 

ขณะที่คุณจัสติน อดัมส์ จาก Tropical Forest Alliance สนับสนุนการส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนควบคู่ไปกับการลงมือแก้ไขปัญหาด้านสภาพอากาศ เขากล่าวว่า "เราทราบดีถึงความสำคัญของมิติด้านสังคมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการแก้ปัญหาสภาพแวดล้อม แม้เป้าหมายด้านสภาพอากาศจะเป็นประเด็นสำคัญ แต่ก็ถือเป็นเพียงมิติที่ต้องปรับให้เหมาะสมเพียงมิติเดียว เราต้องผลักดันให้ผู้ประกอบการที่ใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมในภาคส่วนนี้ช่วยกันลงมือทำเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง" ขณะที่คุณร็อดได้เน้นย้ำว่า โซลูชันการแก้ปัญหาในภาพรวมนั้นอยู่ที่การนำทรัพยากร เช่น ที่ดิน มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีแนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืน การสร้างเสถียรภาพให้กับทรัพยากรที่มีอยู่ สร้างกำไรจากการเพาะปลูกให้งอกเงยมากยิ่งขึ้น ตลอดจนให้ผลตอบแทนเมื่อมีการร่วมมือที่ดี

แม้หนทางข้างหน้าจะมีความท้าทายรออยู่ก็ตาม แต่เราก็ได้เห็นการบูรณาการเพื่อไปสู่เป้าหมายด้านสภาพแวดล้อมและสังคมในระดับที่ลงลึกมากยิ่งขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในภาคอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ผู้ร่วมเสวนายังได้ทิ้งท้ายการประชุมในมุมมองบวก โดยระบุว่า องค์กรทั้งหลาย เช่น RSPO เป็นกำลังสำคัญในการผนึกความร่วมมือระหว่างชุมชนต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญเหล่านี้ คุณจัสตินกล่าวว่า "การแก้ปัญหาไม่ใช่แค่เพิ่มจำนวนการรับรองมาตรฐานการผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มที่ยั่งยืน (Certified Sustainable Palm Oil) เท่านั้น แต่ยังหมายถึงการสร้างระบบนิเวศน้ำมันปาล์มที่ยั่งยืนด้วย ทุกคนล้วนมีบทบาทที่จะช่วยให้เป้าหมายนี้สำเร็จลุล่วง"

เกี่ยวกับ RSPO:
Roundtable on Sustainable Palm Oil (RSPO) ก่อตั้งเมื่อปี 2547 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเติบโตและการใช้ผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมันยั่งยืนด้วยมาตรฐานระดับโลกที่น่าเชื่อถือและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย RSPO เป็นองค์กรสมาชิกระหว่างประเทศที่ไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งรวบรวมผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาคส่วนต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ผู้แปรรูปหรือผู้ค้าน้ำมันปาล์ม ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ผู้ค้าปลีก ธนาคารและนักลงทุน องค์กรเอ็นจีโอด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงองค์กรเอ็นจีโอด้านการพัฒนาและสังคม

การมีผู้เข้าร่วมจากหลายภาคส่วนสะท้อนถึงโครงสร้างของ RSPO ที่ให้ความสำคัญกับการกำกับดูแล โดยมีการจัดสรรผู้ดำรงตำแหน่งอย่างเป็นกลาง ทั้งในส่วนคณะกรรมการกลาง คณะกรรมการขับเคลื่อนด้านนโยบาย และคณะผู้ปฏิบัติงาน วิธีนี้ช่วยให้ RSPO นำหลักการของ "การประชุมโต๊ะกลม" ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผล โดยกระจายสิทธิ์อย่างเท่าเทียมกันให้กลุ่มผู้เกี่ยวข้องแต่ละกลุ่ม ขณะเดียวก็ส่งเสริมการทำงานร่วมกันกับกลุ่มผู้เกี่ยวข้องในฝ่ายตรงข้ามเพื่อตัดสินใจไปในทิศทางเดียวกัน และบรรลุวิสัยทัศน์ที่มีร่วมกันกับ RSPO ในการทำให้การผลิตน้ำมันปาล์มที่ยั่งยืนกลายเป็นบรรทัดฐาน

สมาคมแห่งนี้ตั้งอยู่ในเมืองซูริค สวิตเซอร์แลนด์ โดยมีสำนักเลขาธิการในกัวลาลัมเปอร์ และมีสำนักงานสาขาย่อยในจาการ์ตา (อินโดนีเซีย), ลอนดอน (สหราชอาณาจักร), ซูเทอร์เมร์ (เนเธอร์แลนด์), ปักกิ่ง (จีน) และโบโกตา (โคลอมเบีย)

รูปภาพ - https://mma.prnasia.com/media2/1695674/RT2021.jpg?p=medium600

โลโก้ - https://mma.prnasia.com/media2/1160778/RSPO_Logo.jpg?p=medium600

 

Source: Roundtable On Sustainable Palm Oil
Related Links:
Keywords: Agriculture Environmental Products & Services Corporate Social Responsibility Environmental Issues Not for profit Trade show news