omniture

รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดตัวโครงการ "CULTURE GATE to JAPAN" เปิดประตูสู่วัฒนธรรมญี่ปุ่น

โครงการการสื่อสารทางวัฒนธรรมโดยสำนักงานวัฒนธรรมญี่ปุ่น
นิทรรศการมีเดียอาร์ตมุ่งเน้นการผสมผสานวัฒนธรรมดั้งเดิมญี่ปุ่นเข้ากับเทคโนโลยี จะจัดขึ้นที่ท่าอากาศยานฮาเนดะและในสถานที่จัดงานอีกแห่ง เริ่มตั้งแต่วันพุธที่ 19 มกราคม 2565
CULTURE GATE to JAPAN Initiative
2022-01-26 17:24 235

โตเกียว--26 ม.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

สำนักงานวัฒนธรรมภายใต้รัฐบาลญี่ปุ่นได้เปิดตัวโครงการส่งเสริมวัฒนธรรมเชิงนวัตกรรม ในชื่อว่า "CULTURE GATE to JAPAN" (ประตูวัฒนธรรมสู่ญี่ปุ่น) ที่ท่าอากาศยานฮาเนดะ (Haneda Airport) และที่สถานีเรือสำราญนานาชาติโตเกียว (Tokyo International Cruise Terminal) เป็นปีที่สองในวันที่ 19 มกราคม 2565 โครงการดังกล่าวเปิดโอกาสให้ศิลปินและผู้สร้างสรรค์ในสาขามีเดียอาร์ตสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่สื่อถึงหลากหลายด้านของวัฒนธรรมญี่ปุ่น และนำมาจัดแสดงในบริเวณท่าอากาศยานและสถานีเรือสำราญเพื่อสื่อสารเสน่ห์ของวัฒนธรรมญี่ปุ่น

คำบรรยายภาพ: นิทรรศการ CULTURE GATE to JAPAN เปิดประตูสู่วัฒนธรรมญี่ปุ่น
คำบรรยายภาพ: นิทรรศการ CULTURE GATE to JAPAN เปิดประตูสู่วัฒนธรรมญี่ปุ่น

จะมีการจัดแสดงผลงานศิลปะการจัดวางสองงานที่ท่าอากาศยานฮาเนดะ งานแรกได้แก่  "NEO-KAKEJIKU" ซึ่งผสมผสานภาพม้วนแขวนแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นเข้ากับเทคโนโลยีในการตีความแบบสมัยใหม่ ส่วนงานที่สองมีหัวข้อของงานคือ 'ดอกไม้ไฟ'

นอกจากนี้ สถานีเรือสำราญนานาชาติโตเกียวจะเป็นสถานที่จัดแสดง "+A+" (อ่านว่า "พลัสเอพลัส") นิทรรศการผลงานคลิปวิดีโอภายใต้หัวข้อทะเลและหัวใจมนุษย์ จัดโดย TAKEKAWA Junichi (ตัวแทนของบริษัท David Watts inc.) ซึ่งเป็นที่รู้จักจากผลงานในฐานะผู้อำนวยการฝ่ายการสร้างสรรค์ของ MUTEK.JP

[ภาพรวมของแต่ละนิทรรศการ]
<ท่าอากาศยานฮาเนดะ>
(1) ชื่อนิทรรศการ: "NEO-KAKEJIKU"
ที่ตั้ง: ท่าอากาศยานฮาเนดะ เทอร์มินัล 2, มาร์เก็ตเพลซชั้น 2
ระยะเวลาจัดแสดง: 19 มกราคม 2565 ถึง 21 มีนาคม 2565*
ลิงก์ YouTube: https://youtu.be/AT8JmxsPREQ

การบูรณาการและผสมผสานวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ได้สืบทอดต่อกันมาของญี่ปุ่นเข้ากับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า สามารถนำมาใช้แสดงถึงเสน่ห์ของวัฒนธรรมญี่ปุ่น เราจะจัดแสดงศิลปะการจัดวางต้อนรับ (Welcome Art) ที่ท่าอากาศยาน เพื่อเชื้อเชิญให้ผู้มาเยือนมาร่วมสัมผัสและดื่มด่ำกับการบรรจบกันของศิลปะญี่ปุ่นดั้งเดิมกับมีเดียอาร์ตร่วมสมัยหลากหลายรูปแบบ รวมถึงความบันเทิงสมัยใหม่ อย่างเช่นการ์ตูนมังงะและอนิเมชั่น รวมถึงศิลปะรูปแบบอื่น ๆ ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

ภาพม้วนแขวนคือรูปแบบของงานศิลป์ที่แสดงภาพวาดและอักษรวิจิตร โดยมักจะแขวนอยู่บนเวิ้งห้องและผนังเพื่อเป็นของตกแต่งหรือเพื่อการรับศิลปะ ในนิทรรศการนี้ เราได้เพิ่มเทคโนโลยีและการตีความแบบสมัยใหม่ในสื่อแบบดั้งเดิมดังกล่าวเพื่อสร้างการนำเสนอรูปแบบใหม่ ด้วยจอภาพในพื้นที่ตรงกลางเรียกว่า 'Honshi' ซึ่งโดยปกติแล้วมักจะตกแต่งด้วยรูปภาพหรืออักษรวิจิตร เพื่อเล่นคลิปวิดีโอที่สร้างสรรค์โดยศิลปินห้าคนที่ทำงานในด้านมีเดียอาร์ตร่วมสมัย

ในจอที่เลียนแบบภาพม้วนแขวน ศิลปินและผู้สร้างสรรค์จะนำเสนอวัฒนธรรมและเสน่ห์ของญี่ปุ่นโดยใช้มุมมองและวิธีใหม่ๆเพื่อทักทายและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้มาเยือนที่ท่าอากาศยาน

ผลงานทรัพยากรทางวัฒนธรรมและศิลปินผู้ร่วมสร้างสรรค์:
- Maneki-neko (Lucky cat - แมวกวักนำโชค) โดย AC-bu
- Ink wash painting (ภาพวาดน้ำหมึก) โดย Creative Label nor
- The Tale of the Bamboo Cutter (นิทานเรื่องคนตัดไผ่) โดย MIYAZAKI Natsujikei
- Washi paper (Japanese paper - กระดาษญี่ปุ่น) โดย Nyamyam
- Kaitai Shinsho (New Text on Anatomy - สาส์นใหม่ว่าด้วยกายวิภาค) โดย YOSHIGAI Nao

(2) ชื่อนิทรรศการ: "Transcending Prayers" (ผู้สวดภาวนาที่ข้ามผ่าน)
ที่ตั้ง: ท่าอากาศยานฮาเนดะ เทอร์มินัล 2, มาร์เก็ตเพลซชั้น 2
ระยะเวลาจัดแสดง: ตั้งแต่ 19 มกราคม 2565 และจะมีการกำหนดวันสิ้นสุดภายหลัง

คำบรรยายภาพ: ชื่อนิทรรศการ: "Transcending Prayers" (ผู้สวดภาวนาที่ข้ามผ่าน)
คำบรรยายภาพ: ชื่อนิทรรศการ: "Transcending Prayers" (ผู้สวดภาวนาที่ข้ามผ่าน)

"Hanabi/Fireworks" หรือดอกไม้ไฟเป็นการแสดงอันน่าตื่นตาที่มีอยู่ในหลายที่ทั่วโลก และได้มีวิวัฒนาการที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครในญี่ปุ่น ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ดอกไม้ไฟในญี่ปุ่นได้วิวัฒนาการไปพร้อมกับวัฒนธรรมท้องถิ่นในหลายภูมิภาคทั่วประเทศและได้กลายเป็นสิ่งสำคัญทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่น ศิลปิน SHIMADA Sayaka ใช้ "ดอกไม้ไฟ" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นที่รู้จักในทั่วโลกแต่ก็มีความเป็นท้องถิ่นญี่ปุ่นนี้ ในการสำรวจวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่ซับซ้อนซึ่งเต็มไปด้วยการมีอยู่ร่วมกันของแนวคิดต่าง ๆ ทั้งประวัติศาสตร์ ปรัชญา และสุนทรียศาสตร์

ในประวัติศาสตร์ การแสดงดอกไม้ไฟเป็นที่ทราบกันว่ามีสองความหมายที่ขัดแย้งกันอยู่ คือทั้งสื่อถึงความเป็น "เทศกาล" และ "พิธีไว้อาลัยรำลึกถึง/การส่งดวงวิญญาณสู่สุขติ" โดยเป็นที่แพร่หลายในทั้งสองความหมาย สำหรับผลงานชิ้นนี้ SHIMADA เน้นย้ำความเป็นทวิลักษณ์ดังกล่าวนี้ของเทศกาลดอกไม้ไฟ ด้วยการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเวลาและเชิงภูมิศาสตร์ของดอกไม้ไฟทั้งหมดที่ถูกยกเลิกในญี่ปุ่นเนื่องจากวิกฤตโควิด-19 ตลอดทั้งปี 2563 แล้วสร้างสรรค์ดอกไม้ไฟของจริงที่แสดงถึงโลกคู่ขนานที่ควรจะเกิดขึ้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงงานเทศกาลที่สูญเสียไป รูปแบบของนิทรรศการนี้เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละขั้น โดยเริ่มจากผลงานวิดีโอของกระบวนการผลิตและการจำลองภาพข้อมูล ก่อนที่จะนำเสนอในรูปแบบของงานศิลปะการจัดวางที่ประกอบด้วยกระบอกที่ใช้แล้วจากการจุดดอกไม้ไฟจริง ๆ และคลิปวิดีโอเหตุการณ์ที่ได้ถ่ายไว้

นอกจากจะเป็นศิลปินแล้ว SHIMADA ยังเป็นนักออกแบบดอกไม้ไฟที่ได้รับรางวัล ในการนี้ SHIMADA ได้จินตนาการการสร้างโลกที่แสดงด้านที่ขัดแย้งกันของดอกไม้ไฟด้วยการศึกษาภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

ผลงานทรัพยากรทางวัฒนธรรมและศิลปินผู้ร่วมสร้างสรรค์:
Fireworks (ดอกไม้ไฟ) โดย SHIMADA Sayaka

นอกจากนี้ยังจะมีการเปิดภาพงานศิลปะของปีที่แล้วในหน้าจอมอนิเตอร์และแผงหน้าจอที่บริเวณ FLIGHT DECK TOKYO ที่ชั้น 5 ของท่าอากาศยานฮาเนดะ เทอร์มินัล 2 จนถึงวันที่ 21 มีนาคม 2565*

*โปรดทราบว่ามีความเป็นไปได้ที่นิทรรศการอาจต้องย้ายสถานที่จัดหรือถูกระงับเนื่องจากสถานการณ์ของสถานที่จัดงานหรือสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ติดตามข้อมูลล่าสุดได้ที่เว็บไซต์ทางการของนิทรรศการ

<สถานีเรือสำราญนานาชาติโตเกียว>
ชื่อนิทรรศการ: +A+
ที่ตั้ง: สถานีเรือสำราญนานาชาติโตเกียว ชั้น 3 บริเวณจัดแสดง LED
ระยะเวลาจัดแสดง: จะมีการกำหนดภายหลัง

*ขณะนี้สถานีเรือสำราญนานาชาติโตเกียวปิดให้บริการตามนโยบายของรัฐบาลกรุงโตเกียว นิทรรศการนี้มีกำหนดการเปิดงานพร้อมกับที่สถานีเรือกลับมาเปิดให้บริการแก่สาธารณะ โปรดติดตามกำหนดการจัดงานและข้อมูลล่าสุดอื่น ๆ ได้ที่เว็บไซต์ทางการของนิทรรศการ

ลิงก์ YouTube:

1.https://youtu.be/h8oisus5qr8

2.https://youtu.be/28fWPuCvdUs 

3.https://youtu.be/lXtQ_3AqWV0

"ขอต้อนรับสู่สถานีที่จะพาให้คุณได้สัมผัสกับจิตวิญญาณแห่งท้องทะเล"

ขณะมองออกไปยังท้องทะเลจากสถานีเรือสำราญนานาชาติโตเกียว ท่ามกลางเกลียวคลื่นที่ม้วนตัวเข้ามาสลับกับเคลื่อนตัวไกลออกไปอย่างไม่มีวันหยุด ในฐานะผู้สร้างสรรค์ เรารู้สึกถึง 'เวลา' ที่วัดโดยมาตราส่วนอื่นที่ไม่ใช่หน่วยชั่วโมงของสังคมมนุษย์ และได้จินตนาการปฏิสัมพันธ์ใหม่ของจิตวิญญาณภายในตัวเราเองกับคนอื่นๆ

+A+ (พลัสเอพลัส) คือนิทรรศการที่ใช้เสียงและภาพเพื่อการดื่มด่ำกับ 'โลก' แห่ง +A+ รหัสในจินตนาการที่เชื่อมโยงกับท่าเรือแห่งนี้ โดย 'A' หมายถึงกระบวนการของกิจกรรมทางวัฒนธรรมและศิลปะ ซึ่งศิลปิน ('A'rtists) สื่อสารและบันทึก ('A'rchive) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการมีอยู่ของท่าเรือที่เกี่ยวเนื่องกับการพบพานและธรรมเนียมปฏิบัติ กับทะเลที่มีการปรับตัว ('A'dapt) เข้ากับบริบทของวัฒนธรรมญี่ปุ่น

ศิลปินทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของผลงานที่จัดแสดงที่สถานีแห่งนี้ได้ใช้มุมมองคิดใคร่ครวญในเชิงวัฒนธรรมและถ่ายทอดความสัมพันธ์ระหว่างจิตวิญญาณของมนุษย์กับทะเลในรูปแบบของโลกที่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ผลงานชิ้นนี้เชื้อเชิญให้คุณใช้มุมมองที่สัมผัสกับจิตวิญญาณ และแสดงถึงเวลาที่เผชิญหน้ากับคำถามพื้นฐานในรูปแบบของระลอกคลื่นที่อยู่เหนือกาลเวลา ขอเชิญมาที่สถานีเรือสำราญนานาชาติโตเกียว เพื่อค้นพบ 'ทะเล' ภายใน 'จิตวิญญาณ' ของคุณ พร้อมดื่มด่ำกับวิวของ Tokyo Bay เพื่อสัมผัสกับมุมมองใหม่ๆเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางทะเลของญี่ปุ่นผ่านการถ่ายทอดอย่างมีศิลปะ

ภัณฑารักษ์: TAKEKAWA Junichi
ผลงานทรัพยากรทางวัฒนธรรมและศิลปินผู้ร่วมสร้างสรรค์:
- Bird's-eye view of Japan (ภาพญี่ปุ่นจากมุมสูง) โดย OISHI Hiroaki + NAGASHIMA Minori
- Enoshima Engi (Enoshima's origins - เรื่องราวความเป็นมาของ Enoshima) โดย EHARA Saeko
- Edo eel (ปลาไหลเอโดะ) โดย TAKIDO Dorita

<ศิลปิน> เรียงตามตัวอักษร

AC-bu

ทีมนักสร้างสรรค์นี้ผลิตผลงานศิลปะเกี่ยวกับประเด็นสำคัญปัจจุบันในสื่อหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ โฆษณา หรือมิวสิควิดีโอ ด้วยการสื่อสารที่เข้มข้นมีพลังประกอบกับการแสดงภาพที่สมจริงเปี่ยมอารมณ์ ผลงานการแสดงเล่าเรื่องด้วยภาพความเร็วสูงในชื่อ "Safe Driving Guide" (คู่มือการขับขี่อย่างปลอดภัย) (2557) ได้รับรางวัลขวัญใจคณะกรรมการสำหรับสาขาความบันเทิงในเทศกาลมีเดียอาร์ตญี่ปุ่น (Japan Media Arts Festival) ครั้งที่ 18 ขณะที่ผลงาน "Powder/New Tribe" (แป้ง/ชนเผ่าใหม่) (2562) ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลในประเภทโทรทัศน์และภาพยนตร์สั่งผลิตในเทศกาลภาพยนตร์แอนิเมชันนานาชาติอานซี (Annecy International Animation Film Festival) ทั้งนี้ AC-bu เป็นอาจารย์รับเชิญที่ Kyoto University of the Arts ตั้งแต่ปี 2562

Creative Label nor

Creative Label คือกลุ่มศิลปะที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2560 โดยสมาชิกจากหลากหลายภูมิหลัง โดยมีทั้งนักวิทยาศาสตร์, นักดนตรี, สถาปนิก, โปรแกรมเมอร์, วิศวกร และนักออกแบบ ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อถ่ายทอดปรากฏการณ์ธรรมชาติในรูปแบบของงานศิลปะ กลุ่มศิลปะนี้มุ่งสะท้อน 'การบูรณาการวิทยาศาสตร์กับศิลปะ' ผลงานศิลปะ "dyebirth" (กำเนิดเกิดย้อม) (2560) ซึ่งมีการหยดน้ำหมึกตามอัลกอริธึมได้รับรางวัลขวัญใจคณะกรรมการสำหรับสาขาศิลปะในเทศกาลมีเดียอาร์ตญี่ปุ่นครั้งที่ 22

EHARA Saeko

EHARA Saeko เกิดในโตเกียวในปี 2528 เธอเป็นทั้งศิลปินและผู้ดำเนินรายการมิวสิควิดีโอ หลังจากจบการศึกษาจาก Royal Academy of Art, The Hague (KABK) ในเนเธอร์แลนด์ เธอได้มีบทบาทในโลกความบันเทิงมาเป็นเวลานานกว่าสิบปี โดยทำงานในหลากหลายด้านโดยเฉพาะในคอนเสิร์ต ด้วยบทบาทต่าง ๆ อย่างเช่นการผลิตวิดีโอและเป็นผู้ดำเนินรายการมิวสิควิดีโอ เธอได้เริ่มเข้าสู่วงการอย่างจริงจังมากขึ้นในญี่ปุ่นและต่างประเทศในปี 2563 หลังจากสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในสาขาดิจิทัลอาร์ตภายใต้ธีม "the unspoiled landscape in my memories" (ภูมิทัศน์ที่บริสุทธิ์ในความทรงจำของฉัน) กิจกรรมสำคัญล่าสุดของเธอประกอบด้วย "MUTEK.JP" (2564) และ "XRE's Ars Electronica Festival Garden NYC Portal" (2564)

MIYAZAKI Natsujikei

MIYAZAKI Natsujikei เกิดในจังหวัดมิยากิในปี 2530 เป็นศิลปินนักวาดการ์ตูนมังงะ เธอเริ่มเส้นทางอาชีพในปี 2553 ด้วยผลงานตีพิมพ์หลายตอนชุดแรก "Yugata madeni Kaeru yo" (ฉันจะกลับถึงบ้านภายในตอนค่ำ: Kodansha, Ltd.) ใน "Gekkan Morning Two" ฉบับที่ 40 หลังจากนั้น ผลงาน "The News of Transformation" (ข่าวการเปลี่ยนแปลง) (Kodansha, Ltd., 2556) ก็ได้รับรางวัลขวัญใจคณะกรรมการสำหรับสาขาการ์ตูนมังงะในเทศกาลมีเดียอาร์ตญี่ปุ่นครั้งที่ 17 เธอเป็นศิลปินที่ถ่ายทอดห้วงอารมณ์รุนแรงในชีวิตประจำวันผ่านดีไซน์ที่ดูสบาย ๆ ไร้กังวล

หนังสือการ์ตูนมังงะของศิลปินผู้นี้ประกอบด้วย "There's Nothing Wrong with Me" (ไม่มีอะไรผิดปกติเกี่ยวกับฉัน) (Kodansha, Ltd.), "To, Aru Hi no Sugoku Fushigi" (Something Really Weird Happened One Day - มีเรื่องประหลาดมากเกิดขึ้นในวันหนึ่ง; Hayakawa Publishing Corp.), and "Anata wa Bun-chan no Koi" (You're Bunchan's Love - เธอคือความรักของ Bunchan; Kodansha, Ltd.)

Nyamyam

Nyamyam (สหราชอาณาจักร) เป็นสตูดิโอผู้พัฒนาอิสระที่ประกอบด้วยนักสร้างเกมผู้เชี่ยวชาญสามคนจากญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และเยอรมนีซึ่งล้วนมีความหลงใหลในวัฒนธรรมญี่ปุ่น "Tengami" (2557) คือเกมปริศนาการผจญภัยที่นำเอาเนื้อสัมผัสของกระดาษ 'washi' ของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในความงดงามโบราณของญี่ปุ่น และโครงสร้างของหนังสือป๊อปอัพมาใช้ในการทำภาพของเกม เกมดังกล่าวนี้ได้รับรางวัลในงาน SXSW 2014, IndieCade, SOWN, Develop Showcase และ Game Connection BIG Festival และยังได้รับรางวัลขวัญใจคณะกรรมการสำหรับสาขาความบันเทิงใน Japan Media Arts Festival ครั้งที่ 18

OISHI Hiroaki + NAGASHIMA Minori

- OISHI Hiroaki

OISHI Hiroaki เกิดในจังหวัดฟุกุโอะกะในปี 2527 เขาจบการศึกษาจาก Kyushu University Graduate School of Design เขาผลิตศิลปะมีเดียอาร์ตแบบวิดีโอที่มุ่งนำเสนอการแสดงออกทางอารมณ์แบบมีปฏิสัมพันธ์ที่เป็นธรรมชาติกับร่างกายและสภาพแวดล้อมด้วยภาพคอมพิวเตอร์กราฟิคและอัลกอริธึม นอกจากนี้เขายังทำกิจกรรมด้านการศึกษาและวิจัย เขามีโปรเจ็คสำคัญล่าสุดได้แก่ผลงานสร้างสรรค์วิดีโอ teamLab ในชื่อผลงาน "Universe of Water Particles" (จักรวาลแห่งอนุภาคน้ำ) (2556) และผลงานสร้างสรรค์มิวสิควิดีโอ "Queen of xxx" (2562) ของ Minori Nagashima เขาเป็นอาจารย์อาวุโสที่ภาควิชาสนเทศศาสตร์ข้อมูล Musashino Art University

- NAGASHIMA Minori

NAGASHIMA Minori เป็นศิลปินที่ทำงานสลับสับเปลี่ยนระหว่างสาขาดนตรีและสาขาศิลปะ เธอจบการศึกษาจาก Tokyo University of the Arts และบัณฑิตวิทยาลัย Keio University นอกจากมีส่วนร่วมในการแสดงบนเวที แฟชั่นโชว์ และการผลิตวิดีโอในฐานะผู้ประพันธ์และผู้เรียบเรียงแล้ว เธอยังมีส่วนร่วมในวง QUEEN BEE นอกจากนี้ยังมีบทบาทเป็นผู้อำนวยการฝ่ายนิทรรศการและงานศิลป์ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ เธอมีบทบาทสำคัญในโปรเจ็คศิลปะใหญ่ ๆ อย่างเช่น "yorunoyo - YOKOHAMA CROSS NIGHT ILLUMINATION" (นครโยโกฮามะ, 2563) และ "JINTAI NETWORK SYMPHONY at THE BODY—Challenging the Mystery" (พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์แห่งชาติ, 2561) ผลงานของเธอประกอบด้วยผลงานประพันธ์เพลงและการออกแบบเสียงอะคูสติกสำหรับงานศิลปะเหล่านี้

SHIMADA Sayaka 

SHIMADA Sayaka จบการศึกษาจาก Nihon University College of Art Cinema Course ขณะนี้ศึกษาอยู่ในหลักสูตรปริญญาเอกที่ Tokyo University of the Arts

ศิลปินผู้นี้นำเสนองานศิลป์โดยมุ่งเน้นงานภาพยนตร์และศิลปะการจัดวาง ขณะที่ยังเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัย เธอได้ชมดอกไม้ไฟและรู้สึกหลงใหลในพลังของมัน ปัจจุบันจึงทำงานเป็นนักออกแบบการแสดงดอกไม้ไฟด้วย เธอพยายามที่จะชูการตระหนักรู้และประเด็นใหม่ ๆ ด้วยการวิจัยและสำรวจองค์ประกอบของดอกไม้ไฟ ตลอดจนลักษณะทางกายภาพ หลักการทางวิศวกรรมของการระเบิด และภูมิหลังทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ในด้านต่าง ๆ จากหลากหลายมุม

นอกจากดอกไม้ไฟ เธอยังสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยลวดลายของธาตุต่าง ๆ ในธรรมชาติอย่างเช่น ไฟ สายฟ้า การแผ่รังสี และน้ำ อีกทั้งยังมีส่วนร่วมในการแสดงดอกไม้ไฟในญี่ปุ่นและประเทศอื่น ๆ ในฐานะผู้กำกับการจัดแสดงดอกไม้ไฟ

TAKIDO Dorita

TAKIDO Dorita เป็นศิลปินและนักออกแบบชาวโตเกียว เธอเป็นผู้สร้างประสบการณ์ตรงที่ขัดกับผัสสะด้วยการผสมผสานระหว่างระบบการทำงานและผัสสะที่แตกต่างกัน ศิลปินผู้นี้สร้างประตูสู่ความคิดพร้อมทั้งให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและการออกแบบขั้นสูงเคียงข้างกัน เธอได้รับรางวัลชมเชยในงาน Digital Musics & Sound Art of Prix Ars Electronica และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Ars Electronica STARTS Prize ประจำปี 2560 สำหรับผลงาน "Bug's Beat" (2560) นอกจากนี้ ผลงานชื่อ "Slime Synthesizer" (2557) ของเธอยังได้รับรางวัลศิลปินหน้าใหม่สาขาความบันเทิงในงานเทศกาลมีเดียอาร์ตญี่ปุ่นครั้งที่ 18 นอกจากนี้เธอยังมีบทบาทในญี่ปุ่นและนานาชาติ โดยผลงานของเธอเคยได้รับการจัดแสดงในสิงคโปร์และเนเธอร์แลนด์

YOSHIGAI Nao

YOSHIGAI Nao เกิดที่จังหวัดยามากุจิในปี 2530 เป็นผู้สร้างภาพยนตร์ นักเต้น และนักออกแบบท่าเต้น โดยทำหน้าที่กำกับ แสดง และออกแบบท่าเต้นสำหรับวิดีโอ ภาพยนตร์ โฆษณา และมิวสิควิดีโอ พร้อมทั้งถ่ายทอดความรู้สึกทางกายภาพและอารมณ์ของตัวเอง ภาพยนตร์ของเธอ "hottamaru days" (2558) ได้รับรางวัลศิลปินหน้าใหม่สาขาความบันเทิงในเทศกาลมีเดียอาร์ตญี่ปุ่นครั้งที่ 19 เธอยังแสดงและออกแบบท่าเต้นในมิวสิควิดีโอเพลง "Lemon" (2561) ให้กับ YONEZU Kenshi และผลงานภาพยนตร์ของเธอ "Grand Bouquet" (2562) ได้รับการฉายในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ในส่วน Directors' Fortnight

<ภัณฑารักษ์>

TAKEKAWA Junichi

TAKEKAWA Junichi เกิดในชินจูกุในปี 2515 และเป็นตัวแทนของบริษัท David Watts Inc. เขาทำงานในโตเกียวและคานางาวะเป็นหลัก ศิลปินผู้นี้เป็นผู้สร้างช่วงเวลาสำคัญที่นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ในฐานะประสบการณ์ซึ่งค้นพบความเชื่อมโยงระหว่างศิลปะและเทคโนโลยีที่ก้าวข้ามปริภูมิเวลา เขามุ่งค้นหาประสบการณ์ตรงใหม่ ๆ อยู่เสมอผ่านการวางแผนอย่างครอบคลุมและการจัดทำโปรเจ็คในอุตสาหกรรมและธุรกิจต่าง ๆ ที่มีวิธีคิดแตกต่างกัน เขายังเป็นผู้อำนวยการของ General Incorporated Association PEACE NIPPON PROJECT ซึ่งทำกิจกรรมที่มุ่งสื่อสารความงามของญี่ปุ่นเพื่อเป็นสาส์นแห่งอนาคต อีกทั้งยังเป็นผู้อำนวยการของ General Incorporated Association MUTEK Japan และผู้อำนวยการฝ่ายการสร้างสรรค์ของ MUTEK.JP เทศกาลดนตรีอิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัลอาร์ตหนึ่งเดียวในเอเชีย

เกี่ยวกับ CULTURE GATE to JAPAN

สำนักงานวัฒนธรรม รัฐบาลญี่ปุ่น ได้เปิดตัวโครงการส่งเสริมวัฒนธรรมเชิงนวัตกรรมในชื่อว่า "CULTURE GATE to JAPAN" (ประตูสู่ญี่ปุ่น) โครงการดังกล่าวนี้ประกอบด้วยซีรีส์งานศิลปะการจัดวางซึ่งจัดขึ้นที่ท่าอากาศยานฮาเนดะและท่าเรือสำราญนานาชาติโตเกียว ศิลปินและผู้สร้างสรรค์ผลงานที่เข้าร่วมมาจากสาขามีเดียอาร์ต โดยจะจัดแสดงผลงานศิลปะที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นในแต่ละด้าน ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายเพื่อสื่อสารเสน่ห์ของวัฒนธรรมญี่ปุ่นในวงกว้าง

ผู้จัดนิทรรศการ: สำนักงานวัฒนธรรม รัฐบาลญี่ปุ่น
เว็บไซต์ทางการ: https://culture-gate.jp/

Source: CULTURE GATE to JAPAN Initiative
Keywords: Airlines/Aviation Art Entertainment Travel New products/services
Related News