- การประชุมนี้เปรียบได้กับ "การประชุมดาวอสด้านสุขภาวะดิจิทัล" โดยจะสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความจริงที่ซ่อนอยู่ของความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสื่อดิจิทัล
- การประชุมสุดยอดสองวัน (29-30 มีนาคม) จะนำนักวิชาการ ผู้คร่ำหวอดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี บุคคลสำคัญด้านวัฒนธรรม และผู้กำหนดนโยบาย มารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและวิธีการแก้ปัญหา เพื่อปรัปปรุงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับเทคโนโลยี
- คนดังอย่างไซมอน ซิเนค (Simon Sinek) รวมถึงผู้บริหารจากไอบีเอ็ม ยูเนสโก และไชลด์เน็ต จะมาเป็นวิทยากรในการประชุมย่อยหลายหัวข้อตลอดงาน
- ผลการวิจัยของซิงค์แสดงให้เห็นว่า คนเกือบครึ่งหนึ่ง (48%) ใช้เวลาบนโลกออนไลน์มากเกินกว่าที่ตนเองต้องการทุกวัน
ดาห์ราน, ซาอุดีอาระเบีย, 24 มีนาคม 2565 /PRNewswire/ -- ด้วยความพยายามที่จะสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาวะดิจิทัล ทางโครงการส่งเสริมสุขภาวะดิจิทัล "ซิงค์" (Sync) จึงเตรียมเปิดเวทีให้บรรดาผู้นำจากแวดวงเทคโนโลยี วิชาการ กีฬา วัฒนธรรม และนโยบาย มารวมตัวกันในช่วงสิ้นเดือนนี้ ในการประชุมสุดยอดสุขภาวะดิจิทัล "ซิงค์ ดิจิทัล เวลบีอิ้ง ซัมมิต" (Sync Digital Wellbeing Summit) ครั้งแรก
การประชุมครั้งนี้จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29-30 มีนาคม ณ ศูนย์วัฒนธรรมโลกคิงอับดุลอาซิซ หรือ อิทรา (King Abdulaziz Centre for World Culture หรือ Ithra) ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้บรรดาผู้นำทางความคิดได้พัฒนาวิธีการแก้ปัญหาใหม่ ๆ เพื่อปกป้องสุขภาวะของผู้ใช้สื่อดิจิทัลทั่วโลก
การประชุมจะมุ่งเน้นไปที่ 5 ประเด็นหลัก โดยเหล่าวิทยากรจะมานำเสนอข้อมูลเชิงลึกและมุมมองในหัวข้อการเสพติดสื่อดิจิทัล, ความเป็นส่วนตัว, ข่าวปลอมและข้อมูลเท็จ, ความสัมพันธ์ และอัลกอริทึม โดยหวังว่าการแลกเปลี่ยนความคิดและองค์ความรู้จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมในส่วนของการมีปฏิสัมพันธ์ การกำกับดูแล และการออกแบบแพลตฟอร์มดิจิทัล
อับดุลลาห์ อัล-ราชิด (Abdullah Al-Rashid) ผู้อำนวยการของซิงค์ กล่าวว่า "ความเข้าใจเรื่องผลกระทบอันซับซ้อนของเทคโนโลยีดิจิทัลและโซเชียลมีเดียที่มีต่อความสัมพันธ์ สุขภาวะส่วนบุคคล และสังคม ยังน้อยมากเมื่อเทียบกับความเข้าใจที่มีต่อเทคโนโลยี รวมถึงการดึงดูดยอดคลิก ยอดไลก์ และยอดเอ็นเกจเมนต์ให้ได้มากที่สุด เมื่อไม่กี่ปีมานี้เองที่เราเริ่มมีการพูดคุยถึงอันตรายของความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสื่อดิจิทัลและโซเชียลมีเดีย ปัจจุบัน สถานการณ์โรคระบาดทำให้เทคโนโลยีดิจิทัลบูรณาการเข้ากับชีวิตของเรามากขึ้น ดังนั้นเราจำเป็นต้องพูดคุยกันให้มากขึ้นในประเด็นนี้ ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจว่าเราจะมองเห็นภาพรวมทั้งหมด เพื่อหลีกเลี่ยงการนำเสนอวิธีแก้ปัญหาที่มุ่งเน้นปลายเหตุแทนที่จะเป็นต้นเหตุ รวมถึงวิธีแก้ปัญหาระยะสั้นเพียงบางส่วนและไม่ครอบคลุม แทนที่จะเป็นวิธีแก้ปัญหาระยะยาวอย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุม"
"การประชุมซิงค์ ดิจิทัล เวลบีอิ้ง ซัมมิต จะเปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญแถวหน้าของวงการ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญ บุคคลเด่นด้านวัฒนธรรม และอินฟลูเอนเซอร์ ได้พูดคุยกันในประเด็นสุขภาวะดิจิทัลในระดับที่ครอบคลุมอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยในการประชุมย่อยในหัวข้อต่าง ๆ บรรดาผู้นำทางความคิดจะถามคำถามที่ท้าทายแต่มีความสำคัญเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคนเรากับเทคโนโลยี รวมถึงให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลกระทบและนำเสนอทางออกของปัญหาที่เรากำลังเผชิญ เราต้องร่วมกันถามคำถามที่ตรงจุดจึงจะประสบผลสำเร็จในการกำหนดเส้นทางไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่างคนเรากับเทคโนโลยี"
ผู้นำทางความคิด
บรรดาผู้นำทางความคิดที่จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดครั้งนี้ประกอบด้วยบุคคลที่มีชื่อเสียงจากแวดวงเทคโนโลยี องค์กรเอ็นจีโอ มูลนิธิ ภาครัฐ และชุมชนอินฟลูเอนเซอร์ด้านวัฒนธรรม โดยวิทยากรหลักประกอบด้วย
วิลล์ การ์ดเนอร์ ซีอีโอของไชลด์เน็ต องค์กรการกุศลจากสหราชอาณาจักรซึ่งส่งเสริมอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยมากขึ้นสำหรับเด็ก ๆ กล่าวว่า "โลกออนไลน์มอบโอกาสมากมายให้แก่เด็ก ๆ แต่ก็มาพร้อมความเสี่ยงที่เด็กทั่วโลกต้องเผชิญ จึงจำเป็นต้องมีนโยบาย การกำกับดูแล การปกป้อง และการให้ความรู้ เพื่อให้เท่าทันสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อรับประกันว่าเด็ก ๆ จะสามารถดูแลตัวเองและผู้อื่นได้บนโลกออนไลน์ รวมถึงเพื่อรับฟังเสียงของเด็ก ๆ และให้พวกเขาได้แบ่งปันประสบการณ์ ความกังวล และความคิดเห็น ผมตั้งตารอที่จะมีส่วนร่วมในการสร้างความก้าวหน้าในภาคส่วนนี้ ในการประชุมซิงค์ ดิจิทัล เวลบีอิ้ง ซัมมิต"
วิทยากรที่เข้าร่วมการประชุมจะได้รับเชิญให้พูดคุยในหัวข้อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะดิจิทัล ขณะที่ผู้ฟังก็จะได้รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับสุขภาวะดิจิทัลจากบรรดาผู้เชี่ยวชาญ โดยการอภิปรายแบบคณะและการกล่าวสุนทรพจน์สำคัญประกอบด้วย
สำหรับวาระการประชุมทั้งหมดจะมีการประกาศเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม
ภายในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ยังมีการเปิดเวทีเสวนาสาธารณะเพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์แนวคิดเชิงกลยุทธ์ใหม่ ๆ โดยแบ่งเป็นการประชุมกลุ่มย่อยซึ่งผู้เข้าร่วมสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาวะดิจิทัลทั่วโลก โดยหัวข้อของการประชุมกลุ่มย่อยคือ "อนาคตของสุขภาวะดิจิทัลแบบที่เราต้องการ" (The Digital Wellbeing Future We Want) และ "การขับเคลื่อนสุขภาวะดิจิทัลทั่วโลก" (Building A Global Digital Wellbeing Movement)
ในระหว่างการประชุมสุดยอดครั้งนี้ ซิงค์จะจัดการประชุมย่อยเพื่อเจาะลึกร่วมกับเอสเอ็มอีและนักวิจัยจากหลายประเทศที่มีประสบการณ์และภูมิหลังแตกต่างหลากหลาย โดยมีเป้าหมายเพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับสุขภาวะดิจิทัล รวมถึงหนทางข้างหน้าและอนาคตของสุขภาวะดิจิทัล
ข้อมูลจากซิงค์สะท้อนความน่ากังวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคนกับเทคโนโลยี
การประชุมสุดยอดครั้งนี้จัดขึ้นหลังจากที่มีการเผยแพร่สมุดปกขาวฉบับแรกของซิงค์ [1] นั่นคือ รายงานสุขภาวะดิจิทัลทั่วโลกประจำปี 2564 (Global Digital Wellbeing Report 2021) โดยผลวิจัยแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีและสื่อใหม่ฝังลึกลงในชีวิตประจำวันของเราอย่างไรในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา โดยเน้นไปที่แนวโน้มที่รวดเร็วขึ้นอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โรคระบาด นอกจากนี้ ผลวิจัยจากรายงานสุขภาวะดิจิทัลทั่วโลกยังถูกกล่าวถึงในเอกสารที่เผยแพร่โดยศาสตราจารย์จัสติน คณบดีคณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัยซายิด และนักวิจัยของซิงค์ ในวารสารฟรอนเทียร์ อิน ไซคายอะทรี (Frontier in Psychiatry) ซึ่งเป็นวารสารจิตวิทยาแบบพหุวิทยาการที่ได้รับการกล่าวอ้างถึงมากที่สุดในโลก โดยสามารถอ่านบทความดังกล่าวได้ที่นี่
ผลการสำรวจประชากร 15,000 คนที่มีการระบุถึงทั้งในรายงานและเอกสารข้างต้น เผยให้เห็นว่า
พันธมิตรด้านความรู้
เมื่อไม่นานมานี้ ซิงค์ได้ประกาศความร่วมมือกับศูนย์วิจัยสุขภาวะดิจิทัลแห่งมหาวิทยาลัยมิลาโน-บิคอคคา (Digital Wellbeing Research Center at University of Milano-Bicocca) โดยจะมีการใช้แนวทางใหม่แบบองค์รวมในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษากับสมาร์ทโฟน รวมถึงผลกระทบที่มีต่อสมาธิและความวิตกกังวลในบริบททางสังคมต่าง ๆ
มาร์โก กุย (Marco Gui) ผู้อำนวยการศูนย์ฯ กล่าวว่า "นักศึกษามหาวิทยาลัยทุกคนในปัจจุบันมีสมาร์ทโฟน ซึ่งมอบการเชื่อมต่อที่คนรุ่นก่อนทำได้แค่ฝันถึง แต่ก็มีสิ่งที่ต้องสูญเสียไปเช่นกัน เราขอขอบคุณซิงค์ที่สนับสนุนวิธีการใหม่ของเราในการสำรวจประโยชน์และผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการเชื่อมต่อกันแบบถาวรผ่านเทคโนโลยี"
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://sync.ithra.com/
เกี่ยวกับซิงค์
ซิงค์เป็นโครงการส่งเสริมสุขภาวะดิจิทัลที่ริเริ่มโดยศูนย์วัฒนธรรมโลกคิงอับดุลอาซิซ หรือ อิทรา ด้วยวิสัยทัศน์ในการสร้างโลกที่เราทุกคนสามารถควบคุมชีวิตดิจิทัลของตนเองได้ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากการวิจัยอันครอบคลุมซึ่งเกิดจากการร่วมมือกับหน่วยงานระดับโลกหลายแห่ง เพื่อทำความเข้าใจความแพร่หลายของเทคโนโลยีและผลกระทบที่มีต่อชีวิตคนเรา จากนั้นนำความรู้ที่ได้รับมาใช้สร้างสรรค์แคมเปญ เครื่องมือ ประสบการณ์ สื่อการเรียนการสอน และโครงการต่าง ๆ ที่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ของสาธารณชนทั่วโลก
ติดตามซิงค์ได้ทางทวิตเตอร์ https://twitter.com/SyncIthra หรือเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/SyncIthra
เกี่ยวกับอิทรา
ศูนย์วัฒนธรรมโลกคิงอับดุลอาซิซ หรือ อิทรา เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางด้านวัฒนธรรมที่ทรงอิทธิพลที่สุดของซาอุดีอาระเบีย โดยเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับผู้ที่มีความสนใจใคร่รู้ มีความคิดสร้างสรรค์ และต้องการแสวงหาความรู้ อิทราสร้างประสบการณ์ระดับโลกในพื้นที่สาธารณะแบบอินเทอร์แอคทีฟ ผ่านทางโปรแกรม การแสดง นิทรรศการ กิจกรรม และโครงการที่น่าสนใจมากมาย ซึ่งนำวัฒนธรรม นวัตกรรม และองค์ความรู้มาผสมผสานกันในรูปแบบที่ดึงดูดใจทุกคน อิทราเชื่อมโยงความคิดสร้างสรรค์ มุมมองที่ท้าทาย และแนวคิดที่แปลกใหม่เข้าด้วยกัน และภาคภูมิใจที่ได้เป็นผู้นำด้านวัฒนธรรมแห่งอนาคตที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคน ทั้งนี้ อิทราเป็นโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) ระดับเรือธงของบริษัท ซาอุดี อารามโค (Saudi Aramco) และเป็นศูนย์วัฒนธรรมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยประกอบด้วยโซนต่าง ๆ ได้แก่ ไอเดีย แล็บ (Idea Lab), ห้องสมุด, โรงภาพยนตร์, โรงละคร, พิพิธภัณฑ์, ส่วนจัดแสดงพลังงาน (Energy Exhibit), หอประชุมใหญ่, พิพิธภัณฑ์เด็ก และอิทรา ทาวเวอร์ (Ithra Tower)
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.ithra.com
ติดตามอิทราทางโซเชียลมีเดียได้ที่เฟซบุ๊ก (King Abdulaziz Center for World Culture), ทวิตเตอร์ (@Ithra) และอินสตาแกรม (@Ithra) #Ithra
[1] อ้างอิงมาจากการสำรวจประชากร 15,000 คน ใน 30 ประเทศ ซึ่งมอบหมายโดยซิงค์ และดำเนินการโดยพีเอสบี มิดเดิลอีสต์ (PSB Middle-East) ในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม 2564