เผยรายชื่อมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งใน 51 สาขาวิชา
ลอนดอน, 7 เมษายน 2565 /PRNewswire/ -- คิวเอส ควัคควาเรลลี ซีมอนด์ส (QS Quacquarelli Symonds) สถาบันคลังสมองชั้นนำในแวดวงอุดมศึกษาระดับโลก เปิดเผยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามสาขาวิชา หรือ QS World University Rankings by Subject ครั้งที่ 12 โดยเป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลงานของหลักสูตรระดับมหาวิทยาลัยจำนวน 15,200 หลักสูตร จากมหาวิทยาลัย 1,543 แห่ง ใน 88 ประเทศและดินแดนทั่วโลก ซึ่งครอบคลุม 51 สาขาวิชา
การจัดอันดับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกของคิวเอส หรือ QS World University Rankings ซึ่งถูกค้นหาข้อมูลกว่า 147 ล้านครั้งในปี 2564 บนเว็บไซต์ TopUniversities.com และถูกกล่าวถึงโดยสื่อและสถาบันต่าง ๆ มากถึง 96,000 ครั้ง
ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามสาขาวิชาของคิวเอส ประจำปี 2565 |
|
จำนวนหลักสูตรที่ติด 10 อันดับแรก |
|
สหรัฐอเมริกา |
239 |
สหราชอาณาจักร |
131 |
สวิตเซอร์แลนด์ |
31 |
สิงคโปร์ |
23 |
แคนาดา |
19 |
เนเธอร์แลนด์ |
15 |
ออสเตรเลีย |
13 |
เขตบริหารพิเศษฮ่องกง |
7 |
ฝรั่งเศส |
6 |
อิตาลี |
6 |
จีน (แผ่นดินใหญ่) |
4 |
ไฮไลท์ทั่วโลก
- มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาติดอันดับหนึ่งมากที่สุดถึง 28 สาขาวิชา จากทั้งหมด 51 สาขาวิชาที่ได้รับการจัดอันดับ โดยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) และเอ็มไอที (MIT) ยังคงเป็นสถาบันที่ทำผลงานได้แข็งแกร่งที่สุด โดยครองอันดับหนึ่งใน 12 สาขาวิชา
- มหาวิทยาลัยของสหราชอาณาจักรติดอันดับหนึ่ง 15 สาขาวิชา โดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (University of Oxford) นำมาด้วยจำนวน 6 สาขาวิชา
- อีทีเอช ซูริก (ETH Zurich) เป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของทวีปยุโรป โดยครองอันดับหนึ่งใน 3 สาขาวิชา นอกจากนี้ สวิตเซอร์แลนด์ยังเป็นประเทศที่มีภาคการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ดีที่สุดเป็นอันดับสามของโลก เมื่อพิจารณาจากสัดส่วนใน 10 อันดับแรก
- ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีจำนวนหลักสูตรติดอันดับมากที่สุดเป็นอันดับสี่ของโลก
- จีน (แผ่นดินใหญ่) อยู่ในอันดับห้าของโลกในแง่ของจำนวนหลักสูตร (100) ที่ติด 50 อันดับแรก
- มหาวิทยาลัยโทรอนโต (University of Toronto) ของแคนาดา (46) มีหลักสูตรที่ติด 50 อันดับแรกมากที่สุด
- มหาวิทยาลัยแห่งชาติของสิงคโปร์ (National University of Singapore) เป็นมหาวิทยาลัยที่ทำผลงานดีที่สุดในเอเชีย และเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกสำหรับสาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเลียม นอกจากนั้นยังติดหนึ่งใน 10 อันดับแรกถึง 16 สาขาวิชา
- สถาบันอุดมศึกษาของญี่ปุ่นยังคงมีอันดับลดลง หลังนักศึกษาวิจัยและนักศึกษาระดับปริญญาเอกไม่ได้รับทุนสนับสนุนมากเท่าที่ควรเป็นเวลาหลายทศวรรษ
- มหาวิทยาลัยชีลี (Universidad de Chile) ติดอันดับสูงสุดในภูมิภาคลาตินอเมริกา โดยอยู่ที่ 8 ของโลกในสาขาวิชาวิศวกรรม - แร่และเหมืองแร่ รองลงมาคือมหาวิทยาลัยอูนาม (UNAM) จากเม็กซิโก ที่อันดับ 13 ในสาขาวิชาภาษาสมัยใหม่ และมหาวิทยาลัยเซาเปาโล (Universidade de Sao Paulo) ที่ติดอันดับ 15 ในสาขาวิชาทันตกรรม
- มหาวิทยาลัยเคปทาวน์ (University of Cape Town) ยังคงเป็นสถาบันที่ทำผลงานดีที่สุดในแอฟริกา โดยติดอันดับ 9 ของโลกในสาขาวิชาพัฒนศึกษา
- มหาวิทยาลัยปิโตรเลียมและแร่คิงฟาฮัด (King Fahd University of Petroleum & Minerals) ติดอันดับที่ 6 ของโลก ในสาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม ซึ่งเป็นการครองอันดับสูงสุดในภูมิภาคอาหรับ
เบน โซวเทอร์ (Ben Sowter) ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของคิวเอส กล่าวว่า "การสังเกตแนวโน้มผลการดำเนินงานของภาควิชาในมหาวิทยาลัยกว่า 15,000 ภาควิชา ทำให้เราได้เห็นว่าปัจจัยใดบ้างที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จ ประการแรกคือ มุมมองระดับสากล ทั้งในแง่ของคณาจารย์และความสัมพันธ์ด้านการวิจัย ซึ่งมีส่วนอย่างมากต่อผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น ประการที่สองคือ มหาวิทยาลัยที่มีอันดับสูงขึ้นล้วนได้รับเงินลงทุนเจาะจงจากรัฐบาลมาเป็นเวลากว่าทศวรรษ ประการที่สามคือ การกระชับความร่วมมือกับอุตสาหกรรมมีความสัมพันธ์กับการจ้างงาน การวิจัย และผลลัพธ์ด้านนวัตกรรมที่ดีขึ้น"
โลโก้ - https://mma.prnasia.com/media2/1503777/QS_World_University_Rankings_Logo.jpg?p=medium600