omniture

"เอซ กรีน รีไซคลิง" เตรียมสร้างนิคมรีไซเคิลแบตเตอรี่อย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมขนาดใหญ่่ที่สุดในภูมิภาคอเมริกาเหนือในเท็กซัส

ACE Green Recycling
2022-05-11 11:59 172

เล็งติดตั้งเทคโนโลยีรีไซเคิลแบตเตอรี่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์เฉพาะของบริษัท สำหรับการรีไซเคิลแบตเตอรี่ทั้งแบบตะกั่ว-กรดและแบบลิเธียม-ไอออน

เบลล์วิว, วอชิงตัน--11 พ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

บริษัทเทคโนโลยีรีไซเคิล เอซ กรีน รีไซคลิง (ACE Green Recycling) หรือเอซ (ACE) ประกาศแผนสร้างและดำเนินการนิคมรีไซเคิลแบตเตอรีี่ที่ยั่งยืนและไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอเมริกาเหนือ โดยจะสร้างขึ้นในเท็กซัส สหรัฐอเมริกา เมื่อเปิดดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบแล้ว นิคมขนาด 400,000 ตารางฟุตนี้จะรีไซเคิลได้ทั้งแบตเตอรี่แบบตะกั่ว-กรดและแบบลิเธียม-ไอออน แบตเตอรี่ทั้งสองชนิดนี้เป็นส่วนประกอบสำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์ การกักเก็บพลังงาน โทรคมนาคม และในอุปกรณ์พกพา อย่างเช่นโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์แล็ปท็อป

นิคมดังกล่าวนี้คาดว่าจะเริ่มเปิดดำเนินการในระยะแรกได้ในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2566 โดยจะเริ่มจากรีไซเคิลแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดโดยใช้เทคโนโลยีการรีไซเคิลแบตเตอรี่ที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์เฉพาะของเอซ ตามด้วยโรงรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เมื่อเปิดดำเนินการอย่างเต็มกำลัง เอซคาดว่านิคมแห่งนี้จะดำเนินการและรีไซเคิลแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดใช้แล้วได้สูงสุด 100,000 เมตริกตัน และแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนใช้แล้วได้สูงสุด 20,000 เมตริกตันต่อปีภายในปี 2568

โดยปกติแล้ว การรีไซเคิลแบตเตอรี่จะทำโดยใช้กระบวนการหลอมซึ่งต้องทำในอุณหภูมิสูงพิเศษ โดยมักจะสูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียส ซึ่งต้องใช้การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีราคาแพงและก่อมลพิษ โดยสร้างก๊าซเรือนกระจกปริมาณมากและทำให้คนงานต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่อันตราย เมื่อเทียบกับการหลอม เทคโนโลยีซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเอซสำหรับการรีไซเคิลแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดและแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนนี้ใช้ไฟฟ้าทั้งหมด โดยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ และยังให้วัสดุแบตเตอรี่มากกว่า พร้อมทั้งมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยกว่า นอกจากนี้ เอซยังกำลังสำรวจโอกาสที่จะดำเนินกิจกรรมหลักในโรงงานโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประเภทที่ 2

เอซได้เลือกเท็กซัสเป็นที่ตั้งโรงรีไซเคิลแบตเตอรี่หลักในสหรัฐอเมริกาของบริษัท เนื่องจากมีประชากรที่กำลังขยายตัวและสามารถเข้าถึงแบตเตอรี่ใช้แล้วจากรถยนต์และแหล่งอุตสาหกรรมอื่น ๆ เป็นจำนวนมากได้อย่างง่ายดาย ด้วยเหตุนี้เท็กซัสจึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับเป็นที่ตั้งโรงงานแห่งใหม่ของเอซ

ปัจจุบันสหรัฐฯ ขาดสมรรถนะที่เพียงพอในการรีไซเคิล จึงได้ส่งออกแบตเตอรี่ใช้แล้วเป็นจำนวนมากไปยังเม็กซิโกและเอเชีย พร้อมทั้งนำวัสดุแบตเตอรี่กลับเข้ามาเพื่อใช้ทำแบตเตอรี่ใหม่ ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียมูลค่าอย่างมาก ด้วยการตั้งสถานปฏิบัติการขนาดใหญ่ในเท็กซัส เอซมุ่งลดการพึ่งพาการนำเข้าวัสดุแบตเตอรี่และแบตเตอรี่จากซัพพลายเออร์ในต่างประเทศซึ่งมักประสบปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานระดับโลก

"เท็กซัสตั้งอยู่ใจกลางของการปฏิวัติด้านพลังงานระดับโลกของโลก พร้อมทั้งสามารถเข้าถึงบุคลากรผู้มีความสามารถด้านวิศวกรรมและเชิงเทคนิคระดับแถวหน้าเป็นจำนวนมาก โรงรีไซเคิลแบตเตอรี่แห่งใหม่ของเอซนี้มุ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติดังกล่าว และมุ่งสร้างอนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและยั่งยืนยิ่งขึ้นสำหรับอเมริกา" นิชเชย์ ชาดา (Nishchay Chadha) ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอบริษัทเอซ กล่าว

โรงรีไซเคิลแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดในเท็กซัสของเอซจะมีการขยายตัวเป็นระยะ โดยเมื่อเปิดดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบ คาดว่าจะรีไซเคิลแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดได้มากกว่า 5 ล้านก้อน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 50,000 เมตริกตัน ลดการทิ้งขยะของแข็งอันตรายในหลุมฝังกลบได้มากกว่า 10 ล้านปอนด์ และรีไซเคิลพลาสติกได้มากกว่า 15 ล้านปอนด์ต่อปี โรงรีไซเคิลแห่งนี้ยังจะสร้างงานรายได้ดีสำหรับคนอเมริกันทั้งโดยตรงและโดยอ้อมสูงสุด 100 ตำแหน่งเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น ทั้งนี้ เอซจะประกาศรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้

ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านโซลูชันเทคโนโลยีสีเขียวแห่งนี้ จะใช้เงินทุนของตัวเองและทำงานร่วมกับนักลงทุนเชิงกลยุทธ์และนักลงทุนทางการเงินหลายราย เพื่อสร้างนิคมรีไซเคิลแบตเตอรี่ในเท็กซัสตามที่ได้วางแผนไว้ "เราตื่นเต้นที่จะได้สร้างโรงรีไซเคิลในอเมริกาเหนือแห่งแรกของเราในรัฐเท็กซัส ซึ่งนอกจากจะสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจในท้องถิ่นในระดับสูงแล้ว ในขณะเดียวกันยังจะมีส่วนช่วยในการส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมในลักษณะที่เป็นมิตรขึ้นด้วย" ดร. วิพิน เทียกี (Dr Vipin Tyagi) ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของเอซ กล่าว "ด้วยการมีส่วนช่วยเพิ่มสมรรถนะการรีไซเคิลแบตเตอรี่ของอเมริกา เรายังมุ่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งของประเทศในแง่ของการเป็นอิสระด้านพลังงาน ตลอดจนสร้างอนาคตที่มั่นคงยืดหยุ่นยิ่งขึ้นสำหรับประเทศเราต่อไป"

ขณะนี้ เอซได้ติดตั้งเทคโนโลยีของบริษัทในระดับพาณิชย์แล้ว และเมื่อไม่นานมานี้บริษัทได้ประกาศความตกลงกับบริษัทรีไซเคิลชั้นนำในอินเดียอย่างพอนดี อ็อกไซด์ แอนด์ เคมิคอลส์ จำกัด (Pondy Oxides & Chemicals Ltd) (BSE: 532626) นอกจากนี้ยังเตรียมจะประกาศเปิดตัวสถานดำเนินการแห่งใหม่ในเอเชีย ยุโรป และตะวันออกกลางภายในต้นปี 2566 ด้วย

เกี่ยวกับบริษัทเอซ กรีน รีไซคลิง

เอซ กรีน รีไซคลิง (ACE Green Recycling) เป็นบริษัทเทคโนโลยีการรีไซเคิลสีเขียวสัญชาติอเมริกัน โดยมีการดำเนินงานระดับโลกทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย บริษัทได้เริ่มวางจำหน่ายกระบวนการรีไซเคิลซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทสำหรับแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดใช้แล้วโดยไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการขยายเทคโนโลยีที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์สำหรับการรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ในขณะเดียวกัน เอซยังพัฒนาโซลูชันเทคโนโลยีสะอาดสำหรับเศษโลหะเหลือทิ้ง ทีมงานเบื้องหลังเอซมีประสบการณ์ด้านการรีไซเคิล เทคโนโลยี และห่วงโซ่อุปทานขยะเป็นระยะเวลาหลายสิบปี จึงทำให้พวกเขาอยู่ในจุดที่พร้อมอย่างยิ่งที่จะก้าวเป็นผู้นำด้านการรีไซเคิลระดับโลก

สื่อมวลชนติดต่อสอบถามได้ที่:
อิคราม ไซนี (Ikram Zainy)
บริษัท ซูเปอร์มินเท็ด จำกัด (Superminted Pte Ltd)
อีเมล: ikram@superminted.com
โทร: +(65) 96553441

ติดต่อสอบถามข้อมูลทั่วไปได้ที่:
เอซ กรีน รีไซคลิง
อีเมล: communications@ace-green.com

 

 

Source: ACE Green Recycling
Keywords: Alternative Energies Computer/Electronics Environmental Products & Services Green Technology Mining/Metals Telecommunications Telecommunications Equipment Utilities Corporate Expansion New products/services
Related News