omniture

"เพเนทรอน" เผยเทคโนโลยีเพิ่มความทนทานของคอนกรีตช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้มหาศาล

Penetron International
2022-06-23 11:01 88
  • อุตสาหกรรมซีเมนต์ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์คิดเป็นสัดส่วน 8% ของทั่วโลก
  • รายงานของเพเนทรอนพบว่าการปล่อยคาร์บอนจากโครงสร้างคอนกรีตอาจลดลงได้ถึง 65% ด้วยการใช้สารผสมคริสตัลไลน์ขั้นสูง (advanced crystalline admixture) ซึ่งช่วยลดการซึมผ่านของน้ำสู่คอนกรีต
  • สารผสมคริสตัลไลน์ขั้นสูงช่วยให้คอนกรีตมีความทนทานมากขึ้นและใช้ซีเมนต์น้อยลง
  • คอนกรีตที่มีความทนทานสูงจะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนจากการซ่อมบำรุงโครงสร้างคอนกรีตได้ถึง 90% 
  • ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์เมมเบรนกันซึมที่ปล่อยคาร์บอนสูงยังคงครองตลาดผลิตภัณฑ์ป้องกันน้ำซึมผ่านคอนกรีต

นิวยอร์ก--23 มิถุนายน 2565--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

เพเนทรอน (PENETRON) ผู้นำด้านสารผสมคริสตัลไลน์สำหรับคอนกรีตกันซึม เผยแพร่รายงานที่มีชื่อว่า การบรรลุเป้าหมายลดปริมาณคาร์บอนให้เป็นศูนย์ในอุตสาหกรรมคอนกรีต ประจำปี 2565 (2022 Towards Zero Carbon Concrete) โดยระบุว่า อุตสาหกรรมการก่อสร้างสามารถลดการปล่อยคาร์บอนจากโครงสร้างคอนกรีตได้ถึง 65% ด้วยการใช้วัสดุที่มีความทนทานมากขึ้นและมีอายุการใช้งานยาวนาน นอกจากนี้ ซีเมนต์ยังเป็นหนึ่งในวัสดุก่อสร้างที่ปล่อยคาร์บอนสูงสุด โดยปล่อยคาร์บอนคิดเป็นสัดส่วน 8% ของทั่วโลก ดังนั้น การใช้ซีเมนต์น้อยลงจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนทั่วโลก

รายงานระบุว่า ความทนทานของคอนกรีตเป็นความท้าทายด้านความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการก่อสร้าง ขณะที่น้ำเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คอนกรีตเสื่อมสภาพ และการกัดกร่อนคิดเป็นสัดส่วน 80% ของความเสียหายทั้งหมด ส่งผลให้ต้องมีการซ่อมบำรุงหรือทดแทนของเก่าบ่อยครั้งซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง นอกจากนั้นยังต้องใช้ซีเมนต์ วัสดุอื่น ๆ และพลังงานเพิ่มขึ้นด้วย

ต้นทุนในการซ่อมบำรุงโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete) ที่อยู่ใกล้พื้นที่ชายฝั่ง คาดว่าจะอยู่ที่ 3 แสนล้านดอลลาร์ต่อปีในสหรัฐอเมริกา และ 755 ล้านปอนด์ต่อปีในสหราชอาณาจักร

รายงานระบุว่า การกันน้ำซึมคอนกรีตเพียงอย่างเดียวก็สามารถลดการปล่อยคาร์บอนจากการซ่อมบำรุงโครงสร้างคอนกรีตได้ถึง 90% นอกจากนี้ เพเนทรอนยังประมาณการว่า การใช้คอนกรีตที่ทนทานและกันน้ำ นอกจากจะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนจากโครงสร้างได้มากกว่า 50% แล้ว ยังช่วยยืดอายุการใช้งานของคอนกรีตอีกด้วย

ผลการค้นพบดังกล่าวสอดคล้องกับความคิดเห็นของคณะกรรมการ 160 ของสถาบันซ่อมแซมคอนกรีตนานาชาติ (ICRI Committee 160) ซึ่งระบุว่า กลยุทธ์ความยั่งยืนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับโครงสร้างคอนกรีตก็คือการหลีกเลี่ยงการซ่อมแซม นอกจากนี้ การเลิกใช้ผลิตภัณฑ์ไลเนอร์และเมมเบรนกันซึมที่ปล่อยคาร์บอนสูง การยืดอายุของโครงสร้างคอนกรีต การหลีกเลี่ยงการซ่อมบำรุงที่มีค่าใช้จ่ายสูง และการใช้ผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษ ล้วนเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาโครงการก่อสร้างให้มีความยั่งยืนมากขึ้น

คุณโจเซฟ แวน บีค (Jozef Van Beeck) กรรมการบริษัท เพเนทรอน อินเตอร์เนชันแนล กล่าวว่า "รายงานของเราเป็นเครื่องยืนยันว่าการเพิ่มความทนทานของคอนกรีตคือวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการลดการปล่อยคาร์บอนของโครงการต่าง ๆ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งในขั้นตอนของการก่อสร้างและตลอดอายุการใช้งาน การใช้วิธีกันน้ำที่มีความคงทนจะช่วยลดความจำเป็นในการซ่อมบำรุง อีกทั้งยังช่วยให้การก่อสร้างดำเนินไปอย่างรวดเร็วขึ้น และลดการปล่อยคาร์บอนได้อย่างมหาศาล"

"เราขอสนับสนุนให้อุตสาหกรรมของเราเดินหน้าสร้างสรรค์นวัตกรรมและยกระดับความยั่งยืนต่อไป อย่างไรก็ดี การปกป้องคอนกรีตราว 80% ทั่วโลกยังคงใช้วิธีที่ไม่คงทนและไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์เมมเบรนหรือการซ่อมแซมเฉพาะจุด ซึ่งไร้ประสิทธิภาพและยังปล่อยคาร์บอนมากขึ้นด้วย"

"ภาคการก่อสร้างควรเร่งอ้าแขนรับเทคโนโลยีสารผสมคริสตัลไลน์ขั้นสูงให้มากขึ้น ซึ่งสามารถป้องกันน้ำซึมผ่านคอนกรีตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้อย่างมหาศาล"

เนื่องจากบรรดาประเทศเศรษฐกิจใหญ่ให้คำมั่นว่าจะบรรลุเป้าหมายคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์จากการใช้คอนกรีตและเหล็กกล้าในภาคการก่อสร้างสาธารณะภายในปี 2593 รายงานฉบับนี้จึงตอกย้ำว่าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องเริ่มใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปล่อยคาร์บอนต่ำและวิธีการที่ยั่งยืนในการดำเนินโครงการก่อสร้าง อาทิ

  • การออกแบบอัจฉริยะที่สร้างได้มากขึ้นและใช้วัสดุน้อยลง
  • การสร้างโครงสร้างที่ทนทานมากขึ้นเพื่อยืดอายุการใช้งาน
  • การขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนและการรีไซเคิลวัสดุก่อสร้าง
  • การใช้วิธีการลดคาร์บอนอย่างเฉพาะเจาะจง
  • การใช้คอนกรีตซึ่งแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยวัสดุเชื่อมประสานเสริม (Supplementary Cementitious Materials หรือ SCMs)

รายงานยังกระตุ้นให้อุตสาหกรรมหันมาทบทวนเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างชั้นใต้ดิน ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในเมืองที่มีพื้นที่จำกัด ผลิตภัณฑ์เมมเบรนกันซึมทั่วไปสำหรับโครงสร้างใต้ดินปล่อยคาร์บอนสูงมาก โดยอาจปล่อยคาร์บอนสูงถึง 23 กิโลกรัมต่อตารางเมตร หรือเกือบสามเท่าของการปล่อยคาร์บอนจากน้ำมันเบนซินหนึ่งแกลลอน [1] เพเนทรอนประมาณการว่าการเลิกใช้เมมเบรนที่ไม่มีความยั่งยืนอาจช่วยลดการปล่อยคาร์บอนจากโครงสร้างใต้ดินได้ถึง 20%

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงานได้ที่  https://www.penetron.com/sustainable-concrete 

เกี่ยวกับเพเนทรอน

เพเนทรอน คือผู้นำด้านเทคโนโลยีคริสตัลไลน์ขั้นสูงที่เป็นมาตรฐานทองคำของอุตสาหกรรม เพื่อการปกป้องคอนกรีตอย่างคงทนถาวร บริษัทดำเนินธุรกิจใน 105 ประเทศ และมีโรงงานผลิตตั้งอยู่ทั่วโลก โดยพร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์และให้การสนับสนุนทางเทคนิคผ่านเครือข่ายผู้จัดจำหน่ายและบริษัทในเครือ

เพเนทรอนผ่านการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001 ในสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ของบริษัทมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้โครงการก่อสร้างทั่วโลกบรรลุมาตรฐานระดับนานาชาติ เช่น มาตรฐานความเป็นผู้นำด้านการออกแบบที่อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (LEED)

ผลิตภัณฑ์ของเพเนทรอนได้มาตรฐานการก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมระดับนานาชาติ เช่น มาตรฐานกรีนการ์ด โกลด์ (GREENGUARD Gold), มาตรฐานฉลากสิ่งแวดล้อม (EPD), มาตรฐานของสำนักงานสาธารณสุขแคลิฟอร์เนีย (CDPH) และมาตรฐานโครงการฉลากเขียวของสิงคโปร์ (SGLS) โดยผลิตภัณฑ์ทั้งหมดปราศจากสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOC) และปราศจากสารพิษ จึงเหมาะกับการใช้งานที่ต้องมีการสัมผัสกับน้ำกินน้ำใช้

เพเนทรอนมีประสบการณ์ในโครงการสำคัญมากมาย อาทิ สวนการ์เดนบายเดอะเบย์ (Gardens by the Bay) และศูนย์การค้าจีเวลในสนามบินชางงี (Jewel at Changi Airport) ในสิงคโปร์, คอนโดหรูซันมารินาทาวน์ (Sun Marina Town) ในเวียดนาม, ยูนิเวอร์แซล ปักกิ่ง รีสอร์ต (Universal Beijing Resort) ในจีน, โรงงานแยกเกลือออกจากน้ำโกลด์โคสต์ (Gold Coast Desalination Plant) ในออสเตรเลีย, อาคารเมนารา จาการ์ตา (Menara Jakarta) ในอินโดนีเซีย, โรงงานควบคุมมลพิษทางน้ำเดวิสโบโร (Davisboro Water Pollution Control Plant) ในสหรัฐอเมริกา, รีเวียรา มายา นิคคาโลเดียน รีสอร์ต (Riviera Maya Nickelodeon Resort) ในเม็กซิโก และสนามแข่งขันฟุตบอลโลก (FIFA World Cup Stadiums) ในบราซิล

Source: Penetron International
Keywords: Construction/Building Environmental Products & Services Real Estate Survey, Polls & Research