omniture

อินเซคท์ พร้อมเพิ่มการผลิตหนอนด้วงดำสำหรับการบริโภคโดยมนุษย์

Ÿnsect
2022-07-05 13:16 178
  • หน่วยงานความปลอดภัยอาหารแห่งสหภาพยุโรปอนุญาตให้มีการบริโภคหนอนด้วงดำโดยมนุษย์ ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมแมลง
  • การผลิตได้เริ่มขึ้นแล้วที่เนเธอแลนด์ และอินเซคท์ก็พร้อมเร่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในตลาดใหม่ ๆ ทั่วยุโรป
  • ผลสำรวจในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ ระบุว่า ผู้ใหญ่ 96% ที่เคยรับประทานแมลงหรือโปรตีนจากแมลง แสดงความชื่นชอบหรืออยากรับประทานอีก
  • อินเซคท์มุ่งมั่นใช้โปรตีนจากแมลงเป็นทางออกในการรับมือกับความท้าทายที่สำคัญในปัจจุบัน ได้แก่ การผลิตอาหารเลี้ยงประชากรโลก การอนุรักษ์ทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน

ปารีส, 5 กรกฎาคม 2565 /PRNewswire/ -- การบริโภคแมลงโดยมนุษย์ ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มสารอาหาร สนับสนุนความยั่งยืน และบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ มีความก้าวหน้าไปอีกขั้น เมื่อหนอนด้วงดำ (Lesser Mealworm หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Alphitobius diaperinus) เป็นแมลงชนิดที่ 4 ที่ได้รับการประเมินเชิงบวกโดยหน่วยงานความปลอดภัยอาหารแห่งสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority หรือ EFSA) สำหรับการบริโภคโดยมนุษย์

การประเมินโดย EFSA จะต้องได้รับการยืนยันจากคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งจะเป็นผู้ให้การอนุมัติขั้นสุดท้ายสำหรับการอนุญาตวางจำหน่ายในสหภาพยุโรป และต้องผ่านการรับรองจากหน่วยงานของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปก่อนที่จะวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้อย่างแพร่หลายทั่วภูมิภาค

การตัดสินใจครั้งนี้เป็นข่าวดีสำหรับอินเซคท์ (Ÿnsect) ผู้นำระดับโลกด้านการทำฟาร์มแมลง โดยธุรกิจของอินเซคท์ในเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเดิมคือบริษัทโปรติฟาร์ม (Protifarm) ได้ยื่นขออนุญาตต่อ EFSA เพื่อขยายการดำเนินงานในยุโรปโดยสอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนของสหภาพยุโรป อินเซคท์มีโครงสร้างพื้นฐานพร้อมสำหรับขยายการผลิตและการจัดจำหน่ายทันทีที่ได้ไฟเขียวจากคณะกรรมาธิการยุโรป

ปัจจุบันมีการแข่งขันกันผลิตโปรตีนทางเลือกที่ยั่งยืน ขณะที่สถาบันทรัพยากรโลก (World Resources Institute) คาดว่าจะมีช่องว่างระหว่างอุปทานและอุปสงค์โปรตีนราว 60% ภายในปี 2593

การอนุญาตให้บริโภคแมลงโดยมนุษย์เป็นแนวคิดที่ค่อนข้างใหม่ แต่แพร่หลายอยู่แล้วในประเทศกำลังพัฒนา ทั้งนี้ โปรตีนตัวชูโรงอีกชนิดหนึ่งของอินเซคท์อย่างหนอนนกโมลิเตอร์ (Molitor Mealworm) เป็นแมลงชนิดแรกที่ได้รับการอนุมัติโดย EFSA เมื่อเดือนมกราคม 2564

เมื่อเดือนเมษายน 2565 อินเซคท์ได้มอบหมายให้วันโพล (OnePoll) ทำการสำรวจในสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส ซึ่งผลปรากฏว่า เกือบสามในห้าของผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมด (57%) สมัครใจบริโภคแมลงหากมีการอธิบายประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ยิ่งไปกว่านั้น 96% ของผู้ตอบแบบสำรวจ 8,326 คนที่เคยรับประทานแมลงหรือโปรตีนจากแมลง ระบุว่าชอบหรืออยากรับประทานอีก

"การประเมินครั้งล่าสุดโดย EFSA ซึ่งระบุว่าหนอนด้วงดำปลอดภัยสำหรับการบริโภคโดยมนุษย์ ถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับการเติบโตของบริษัท" คุณอองตวน อูแบร์ (Antoine Hubert) ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งอินเซคท์ กล่าว "โปรตีนจากหนอนเป็นประโยชน์สูงสุดในสองแง่มุม โดยเป็นโปรตีนจากสัตว์ที่อุดมไปด้วยสารอาหารและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำมาก และชุมชนวิทยาศาสตร์กำลังสนับสนุนแนวคิดนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยรายงานปี 2565 ของมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ระบุว่าอาหารที่ประกอบด้วยโปรตีนจากแมลงในปริมาณสูงเป็นทางออกที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้มากกว่า 80% อีกทั้งยังมีประโยชน์ทางโภชนาการสูงสำหรับผู้บริโภคอีกด้วย"

เมื่อถามว่าผู้ผลิตอาหารสำหรับมนุษย์ควรใช้โปรตีนจากแมลงเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อย่างแพร่หลายหรือไม่ ผู้ตอบแบบสำรวจกว่าสามในสี่ (79%) ตอบว่าควร โดยต้องมีการระบุอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์

อินเซคท์ ฮิวแมน นูทริชัน แอนด์ เฮลท์ (Ÿnsect Human Nutrition & Health) ได้วางจำหน่ายส่วนผสมที่ทำจากหนอนด้วงดำอยู่แล้วภายใต้แบรนด์อดัลบาโปร (AdalbaPro) ซึ่งสามารถพบได้ในหลากหลายผลิตภัณฑ์ทั่วยุโรป รวมถึงผลิตภัณฑ์แบรนด์เซิร์ป (Zirp) ซึ่งวางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตบิลลา (Billa) กว่า 800 สาขาในออสเตรีย ผลิตภัณฑ์ซีเรียลบาร์และโปรตีนเชคแบรนด์ไอแซค (isaac) ตลอดจนเบอร์เกอร์ในร้านอาหารหลายแห่งในเดนมาร์ก และขณะนี้บริษัทก็พร้อมเร่งกระบวนการผลิตเพื่อให้สอดรับกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดต่าง ๆ ทั่วยุโรป

สื่อมวลชนกรุณาติดต่อ:

อินเซคท์ - อาเนส เมารี (Anaïs Maury) อีเมล: anais.maury@ynsect.com โทร. +33 (0)6 78 44 59 80

โซเป็กซา (Sopexa) - รานา บาร์บารี (Rana Barbari) อีเมล: rbarbari@hopscotch.eu โทร. + 353 15569720

Source: Ÿnsect
Keywords: Environmental Products & Services Food/Beverages Survey, Polls & Research
Related News