ปักกิ่ง—8 ก.ค.—พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
ศูนย์การเรียนรู้เหลาหูหลิง (Laohuling Site Park) ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียงทางตะวันออกของจีน ได้เปิดให้เยี่ยมชมแล้ว เพื่อนำเสนอระบบอุทกวิทยาโบราณให้ทั้งโลกได้เห็น
เขื่อนโบราณแห่งนี้ยาว 140 เมตร และกว้างประมาณ 100 เมตร โดยเป็นส่วนสำคัญในระบบอนุรักษ์น้ำรอบนอกของซากโบราณสถานเมืองเหลียงจู (ประมาณ 3,300-2,300 ปีก่อนคริสตกาล) และได้จารึกไว้เป็นมรดกโลกในรายชื่อของยูเนสโกเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2562
ศูนย์การเรียนรู้เหลาหูหลิงเป็นสถานที่หนึ่งเดียวในเหลียงจูที่แสดงให้เห็นโครงสร้างลำดับชั้นหินของระบบอนุรักษ์น้ำที่ว่านี้ และได้สร้างหลังคาทรงหยดน้ำครอบเขื่อนนี้ไว้เพื่อใช้ในการป้องกันและจัดแสดง
ระบบดังกล่าวประกอบด้วยเขื่อนระยะแรก 11 จุด ซึ่งรวมถึงเขื่อนสูงบริเวณสุดหุบเขา และเขื่อนต่ำบริเวณที่ราบ โดยเป็นระบบอนุรักษ์น้ำขนาดใหญ่ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบมาในจีน ทั้งยังเป็นโครงการอุทกวิทยาเพื่อการควบคุมอุทกภัยที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบมาของโลกด้วย
ระบบอนุรักษ์น้ำทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นระดับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการจัดการทรัพยากรน้ำในแง่ของขนาด การออกแบบ และเทคนิคการก่อสร้างซึ่งนับว่าหายากในยุคนั้น นอกจากนี้ ระบบดังกล่าวยังเผยให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการทรัพยากรน้ำ อารยธรรมเมือง และยุคสมัยแรก ๆ ทั้งยังแสดงให้เห็นบทบาทอันโดดเด่นในต้นกำเนิดอารยธรรมจีนด้วย
ลิงก์ข่าวต้นฉบับ: https://en.imsilkroad.com/p/328939.html